X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร ควรปรึกษาใครดี

บทความ 5 นาที
ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร  ควรปรึกษาใครดีลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร  ควรปรึกษาใครดี

หากพบว่าลูกวัย 3 เดือนขึ้นไปมีอาการตาเหล่ ตาเข ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ โรคนี้รักษาหายได้ ยิ่งรักษาเร็วยิ่งได้ผลดี

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข ในทารกที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน อาจสังเกตเห็นตาของทารกเหล่เข้าหรือเหล่ออกบ้าง ตาสองข้างทำงานไม่สอดคล้องกันบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่การทำงานประสานกันของสองตายังไม่ดีนัก แต่เมื่อทารกอายุเกิน 3 เดือนไปแล้ว ตาสองข้างเริ่มทำงานประสานกันได้ดี บังคับตาทั้งสองข้างให้มองไปในทิศทางของวัตถุที่สนใจได้แม่นยำขึ้น ถ้ายังพบอาการ ตาเหล่ ตาเข อยู่ ควรนำทารกไปพบจักษุแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจรักษา ตาเขวิธีรักษา

 

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข รักษา อย่างไร

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข รักษา อย่างไร ( ภาพจาก pexels.com )

 

โรค ตาเหล่ คืออะไร

รศ.พญ.ละอองศรี อัชชนียะสกุล ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า โรคตาเหล่เป็นภาวะที่ตาสองข้างไม่อยู่ในแนวแกนเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถมองวัตถุเดียวกันพร้อมกันด้วยตาทั้งสองข้าง โดยทั่วไปคนที่มีภาวะตาเหล่จะใช้ตาข้างที่ปกติจ้องวัตถุ ส่วนตาข้างที่เหล่อาจเบนเข้าด้านใน หรือเบนออกด้านนอก หรือขึ้นบนลงล่าง ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเป็นตาเหล่ประเภทใด บางรายอาจมีตาเหล่สลับ และในบางรายอาจตาเหล่ตลอดเวลาหรือเป็นครั้งคราวก็มี

ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเด็ก และ ตาเข กล่าวว่า อาการตาเหล่นั้น เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก สำหรับในเด็กทั่วโลกถือว่าพบได้ไม่น้อยทีเดียว ซึ่งตาเขจะมีชนิดและสาเหตุหลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแบ่งชนิดของตาเขได้ดังนี้

  • ตาเข ชนิดหลอก ( Pseudo strabismus ) : คือตาที่มองดูเผิน ๆ คล้ายตาเข แต่เมื่อตรวจจริง ๆ พบว่าไม่ใช่ตาเข ซึ่งอาจเกิดจาก ลักษณะเปลือกตาค่อนข้างเล็กหรือเฉียงขึ้นบนเล็กน้อย หรือขอบเปลือกตาบนด้านหัวตาโค้งต่ำกว่าปกติ ทำให้ดูเหมือนลูกตาอยู่ชิดหัวตา คล้ายลักษณะตาเขเข้าใน ยิ่งร่วมกับลักษณะดั้งจมูกแบนราบยิ่งเห็นชัดขึ้น หรือพบในคนที่มีรูปหน้าแคบ ลูกตาทั้งสองอยู่ใกล้กันมาก แม้จมูกจะโด่งก็ทำให้ดูเหมือนคนตาเขเข้าในได้ หรืออีกประเภทคือ หน้ากว้าง ลูกตาอยู่ห่างกันมากกว่าปกติ ทำให้ดูคล้ายกับคนตาเขออกด้านนอก แต่เมื่อส่องตรวจพบแสดงสะท้อนจากรูม่านตาตรงกลางที่จุดเดียวกันทั้งสองตาแสดงว่าไม่ใช่ตาเขจริง
  • ตาเขชนิดซ่อนเร้น ( Latent strabismus ) คือมีตาเขที่ซ่อนไว้ให้ไม่ดูเข แต่จะมีอาการตาเขแสดงออกในบางครั้งเนื่องจากกล้ามเนื้อตาซึ่งบังคับตาให้ตรงเกิดอาการอ่อนเพลีย
  • ตาเขชนิดเห็นได้ชัด ( Manifest strabismus ) เป็นตาเขที่มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งแบ่งได้ 4 ลักษณะ 1. ตาเขเข้าด้านใน 2. ตาเขออกนอก 3. ตาเขขึ้นบน 4. ตาเขลงล่าง

 

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข รักษา อย่างไร

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข รักษา อย่างไร ( ภาพจาก freepik.com )

 

โรคตาเหล่มีอาการอย่างไร

รศ.พญ.ละอองศรี อัชชนียะสกุล กล่าวว่า เมื่อเริ่มเป็นโรคนี้ เด็กอาจแสดงอาการหยีตาบ่อย โดยเฉพาะเวลาอยู่ในที่มีแสงจ้า การหยีตาข้างหนึ่งช่วยให้การมองเห็นภาพซ้อนหายไป บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะเวลาใช้สายตามองใกล้เป็นเวลานาน เนื่องจากมีการเกร็งกล้ามเนื้อลูกตาเพื่อแก้ไขภาวะตาเหล่ ในระยะแรกเด็กอาจมองเห็นภาพซ้อน เนื่องจากตาสองข้างมองไปยังจุดที่ต่างกัน แต่ในระยะต่อมาสมองจะปรับตัวโดยไม่สนใจภาพที่เห็นจากตาข้างหนึ่ง ช่วยให้ภาวะเห็นภาพซ้อนหายไปได้

 

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข รักษา อย่าง ไร

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข รักษา อย่าง ไร

 

ลูกตาเหล่มีสาเหตุจากอะไร

รศ.พญ.ละอองศรี อัชชนียะสกุล อธิบายว่า สาเหตุสำคัญ ของ โรคตาเหล่ ในเด็ก มักไม่ทราบสาเหตุ และ มากกว่าครึ่งหนึ่ง จะตรวจพบ ความผิดปกติ ตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 6 เดือน บางราย เมื่อซักถาม

ถึงประวัติครอบครัว พบว่ามีผู้เป็นโรคตาเหล่อยู่ แสดงถึงโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ในกรณีที่สมองไม่สนใจภาพที่เห็นจากตาข้างที่เหล่เป็นระยะเวลานานๆ อีกทั้งไม่ได้รับการรักษาภายในช่วงอายุที่เหมาะสม เด็กอาจเกิดภาวะสายตาขี้เกียจ (amblyopia) ซึ่งเป็นผลให้ตาข้างที่ไม่ได้ใช้งานมองภาพไม่ชัดอย่างถาวร

สำหรับภาวะสายตาขี้เกียจจะไม่พบในผู้ซึ่งภาวะตาเหล่เริ่มภายหลังอายุ 9 ปี เนื่องจากสมองได้พัฒนาการมองเห็นจนสมบูรณ์แล้ว

 

วิธีแก้ตาเหล่ ตาเขวิธีรักษา ลูกตาเหล่รักษาอย่างไร 

เด็กควรได้รับการตรวจตาโดยละเอียด รวมถึง การตรวจจอตา เพื่อหาความผิดปกติภายในลูกตาซึ่งอาจเป็นสาเหตุของตาเหล่ และให้การรักษาตามความเหมาะสม

เนื่องจากภาวะตาเหล่ส่วนใหญ่ยิ่งรักษาเร็วเท่าไรจะยิ่งได้ผลดี แต่ถ้าเด็กเป็นตาขี้เกียจร่วมด้วย แพทย์อาจรักษาตาขี้เกียจก่อนที่จะรักษาตาเหล่ ซึ่งการรักษาตาขี้เกียจอาจทำโดยการให้แว่นตาหรือการปิดตาด้านดี แล้วแต่สาเหตุของตาขี้เกียจว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

ถ้าปล่อยให้เด็กตาเหล่จนกระทั่งอายุมากแล้ว การรักษาจะทำได้แค่เพียงผ่าตัดเพื่อทำให้ตากลับมาตรงเท่านั้น แต่จะไม่สามารถรักษาให้กลับมามองชัดเหมือนคนปกติได้ และการทำงานประสานกันของสองตาโดยเฉพาะการมองเห็นสามมิติ (Stereopsis)จะเสียไปด้วย

ถ้าไม่รักษาตาจะพิการถึงขั้นบอดไหม

ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์ อธิบายว่า ตาคนเราปกติจะมองเห็นสองข้างหรือใช้ตาทั้งสองข้างมาตามธรรมชาติ ยกเว้นความผิดปกติบางอย่างจะทำให้แนวทางลูกตาเบี่ยงเบนไปจากแนวปกติเกิดภาวะเขได้ทันที เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องพยายามขจัดสาเหตุที่ทำให้ตาเขออกไปให้เร็วที่สุด เพื่อตาจะได้เห็นชัดทั้งสองข้าง สภาพตาจะทรงตัวอยู่แนวตรง ถ้าทำไม่ได้หรือไม่ทำ ตาข้างที่เขจะค่อยๆ มัวลงทีละน้อยจนกระทั่งแทบมองไม่เห็น ต่อไปแก้ไขไม่ได้ถึงขั้นพิการและบอดแต่ไม่ใช่บอดสนิทได้

ดังนั้น ถ้าผู้ปกครองสังเกต เห็นบุตรหลาน มีอาการ ตาเหล่ หลังจากเด็กอายุมากกว่า 3 เดือนแล้ว ให้พาเด็ก ไปพบจักษุแพทย์อย่างเร็วที่สุด เพื่อทำการรักษาค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

อ้างอิงข้อมูลจาก

www.si.mahidol.ac.th

www.doctorvision.net

www.doctor.or.th

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ลูกไม่สบาย ปรึกษาหมอเด็กเฉพาะทางฟรี 24 ชม.

ของเล่นสีสดใส ช่วยพัฒนาการทารกได้อย่างไร

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร ควรปรึกษาใครดี
แชร์ :
  • เมื่อจู่ ๆ ลูกเกิดอาการส่าไข้ขึ้นมา อาการส่าไข้ มีวิธีการรักษาอย่างไรดี

    เมื่อจู่ ๆ ลูกเกิดอาการส่าไข้ขึ้นมา อาการส่าไข้ มีวิธีการรักษาอย่างไรดี

  • สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

    สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

app info
get app banner
  • เมื่อจู่ ๆ ลูกเกิดอาการส่าไข้ขึ้นมา อาการส่าไข้ มีวิธีการรักษาอย่างไรดี

    เมื่อจู่ ๆ ลูกเกิดอาการส่าไข้ขึ้นมา อาการส่าไข้ มีวิธีการรักษาอย่างไรดี

  • สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

    สมองพิการ เรื่องที่ไม่มีแม่คนไหนอยากให้เกิดกับลูก

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ