X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แพทย์แผนจีน และสมุนไพรจีน ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้อย่างไร?

บทความ 5 นาที
แพทย์แผนจีน และสมุนไพรจีน ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้อย่างไร?

แพทย์แผนจีน หนึ่งทางเลือกของสตรีที่มีบุตรยาก เนื่องจากยุคสมัยในปัจจุบัน ทั้งสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ทำให้อัตราการแต่งงานช้าลง การตั้งครรภ์ก็น้อยลง บางคู่อยากจะมีลูกก็ผ่านมาจนอายุมากขึ้น หรือด้านสุขภาพที่คนส่วนใหญ่เคร่งเครียดกับการทำงาน จนเกิดภาวะเครียดสะสม ก็เป็นหนึ่งสาเหตุของการมีบุตรยากเช่นกัน ทั้งนี้การแพทย์แผนจีนไม่ได้ช่วยแค่เรื่องมีบุตรยากเท่านั้น แต่ยังเป็นศาสตร์แห่งการดูแลสุขภาพทางหนึ่งได้อย่างดี

 

แพทย์แผนจีน

แพทย์แผนจีน ได้กล่าวถึงภาวะมีบุตรยากไว้อย่างไร

ตามหลักการตามศาสตร์แพทย์จีนแล้ว หากผู้หญิงที่ไม่ได้คุมกำเนิดนานกว่า 1 ปี แต่ยังไม่มีสัญญาณการตั้งครรภ์ใด ๆ ทั้งยังไม่มีปัญหาสุขภาพที่บ่งบอกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเริ่มมีบุตรคนแรกหรือผู้ที่ผ่านการมีลูกมาแล้วอยากมีเพิ่ม หากไม่มีสามารถตั้งครรภ์ได้ในช่วง 1 ปี ทางการแพทย์แผนจีนถือว่าเป็นผู้มีบุตรยาก ซึ่งเกิดจากภาวะทางร่างกายดังนี้

 

1. ภาวะไตบกพร่อง

เรียกว่า ไตหยิน ไตหยาง ไม่สมดุลในร่างกาย อีกทั้งตับมีการทำงานที่บกพร่อง รวมไปถึงระบบหมุนเวียนเลือดไม่ดีนัก ส่งผลให้ผู้หญิงมีความผิดปกติของประจำเดือน เช่น มาน้อย หรือประจำเดือนขาด

  • หากประจำเดือนมาน้อย มีสีซีด เรียกว่าภาวะไตหยาง อ่อนแอ (มดลูกเย็น) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ปวดขา ปวดเอว ตกขาวมาก ปัสสาวะใส สีหน้าหมองคล้ำ
  • หากประจำเดือนสีแดงสด มาก่อนเวลา แถมมาน้อย บางเดือนประจำเดือนขาด แล้วรู้สึกว่าร่างกายซูบซีด ปวดเอว ปวดขา ปวดศีรษะ ใจสั่น มีไข้ต่ำเรียกว่า ภาวะไตหยิน อ่อนแอ

 

2. ภาวะชี่คั่งในตับ

ภาวะชี่ คือ ลมปราณ ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มาก่อนบ้าง มาหลังบ้าง แถมมาปริมาณน้อยสีดำคล้ำ มีภาวะทางอารมณ์เกิดขึ้น เช่น หงุดหงิดมากขึ้น ขี้โมโห โกรธง่าย ร่วมกับอาการทางกายอย่าง คัดหน้าอกและปวดประจำเดือนกว่าเคย

 

3. เสมหะ เสลดอุดตัน

อาการนี้มักพบในคนที่มีน้ำหนักมาก ประจำเดือนขาดหรือไม่มาเลย ผสมกับมีภาวะตกขาวมากกว่าปกติ ตาลาย แน่นหน้าอก และใจสั่น

 

4. เลือดคั่งในร่างกาย

ภาวะเลือดคั่งในร่างกายจะทำให้ท่อนำไข่อุดตัน เกิดเนื้องอกในมดลูก มีพังผืดขึ้นทั้งบริเวณปากช่องคลอดและมดลูก ส่งผลให้ประจำเดือนมาช้า มีสีม่วงเข้มบ้าง สีดำคล้ำบ้าง ลักษณะเลือดจะออกมาเป็นลิ่มหรือก้อน รวมถึงมีอาการปวดประจำเดือนแบบท้องบิด ปวดท้องหน่วง ๆ ซึ่งทางแพทย์แผนจีนถือว่า ภาวะเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้มีบุตรยาก โดยเฉพาะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมดลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง : คลินิกมีบุตรยาก ช่วยทำให้มีลูกได้อย่างไร มีที่ไหนบ้าง ?

 

“ภาวะมดลูกเย็น” หรือ “ไตหยาง” อ่อนแอตามการแพทย์แผนจีน

เรามาขยายความเรื่องของ ไตหยาง อ่อนแอ หรือ ภาวะมดลูกเย็น กันค่ะ …อย่างที่ทราบกันว่า มดลูกคืออวัยวะสำคัญในการตั้งครรภ์ของผู้หญิง ซึ่งเป็นเกราะสำคัญให้ทารกเจริญเติบโตและอาศัยในท้องมากกว่า 40 สัปดาห์หรือ 10 เดือนขึ้นไปในคุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ ท่าน

 

1. อาการและความไม่สมดุลของมดลูกและร่างกาย

  • มักมีอาการปวดศีรษะ วูบบ่อย ๆ บางคนมีอาการหนาวสั่น แพ้อากาศ
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ มาเร็ว มาช้า ปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน
  • ลักษณะของประจำเดือนผิดปกติ เช่น หลุดมาเป็นก้อน สีคล้ำ ปวดท้องจี๊ดขึ้นศีรษะ บางคนอาการหนักถึงขั้นเป็นไข้
  • เหนื่อยง่ายกว่าคนที่มีภาวะร่างกายปกติ
  • นอนไม่อิ่ม ท้องผูก
  • ร้อนที่อุ้งมือและอุ้งเท้า ทั้งที่ตัวเย็น

 

2. สาเหตุของการเกิดภาวะมดลูกเย็น

  • รับประทานอาหารที่ให้ภาวะเย็น เช่น มะพร้าว หัวไชเท้า ส้ม แตงโม ไอศกรีม
  • สวมเสื้อผ้าบางเกินไป ทำให้ลมเข้าทางสะดือได้ง่าย คนจีนจึงมักสั่งสอนลูกหลานว่า เวลานอนให้เอาผ้าห่มปิดสะดือ
  • ผู้ที่มีภาวะตัวเย็น หรือ หยาง การดื่มน้ำปั่น ทั้งผักและผลไม้มากเกินไปจะไม่ดีนัก ทำให้ร่างกายเย็นเกินไป

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : มีลูกยาก อยากมีลูกมากทำอย่างไร? วิธีตั้งครรภ์สำหรับคนมีลูกยาก

 

แพทย์แผนจีน

 

ตามการแพทย์แผนจีนมีวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างไร?

ในสมัยก่อน เราเคยได้ยินคำว่า “หมอแมะ” จะเป็นการตรวจโรคโดยการจับชีพจร ดูลิ้นผู้ป่วย และวินิจฉัยตามสภาวะร้อนเย็นของร่างกาย เน้นไปทางการรับประทานยาสมุนไพร เพื่อบำรุงร่างกาย โดยไม่มีสารตกค้างตามแบบยาวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ยาสมุนไพรจะมีแบบแคปซูลและยาต้ม ตามความสะดวกของผู้ป่วยว่าจะเลือกรับประทานแบบใด ซึ่งสมุนไพรจีนที่ช่วยรักษาภาวะมดลูกเย็นได้แก่

  • หูจื่อ
  • จ้อเกว่ย
  • อี่หมูเฉ่า

โดยนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ห่อรวมกันและนำไปต้มดื่มก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หากดื่มแล้วมีอาการท้องเสีย ให้ลองเปลี่ยนมาดื่มหลังอาหารแทน

วิธีต้มสมุนไพรจีน

  • ยาจีน 1 ห่อ เติมน้ำสะอาดให้ท่วมยา แช่ไว้ 10-20 นาที
  • นำไปต้มไฟอ่อน เคี่ยวไปเรื่อย ๆ ประมาณ 40-60 นาที
  • ต้มได้ที่แล้ว กรองเอาแต่น้ำดื่ม ตอนยาอุ่น ๆ
  • ยาที่เหลือสามารถต้มได้อีก 2-3 ครั้ง

นอกจากการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการดื่มยาสมุนไพรจีนแล้ว ยังมีวิธีการครอบแก้ว ซึ่งเป็นการขับสารพิษออกจากร่างกาย ตามความเชื่อของแพทย์แผนจีนนั้น การมีสารพิษภายในร่างกายจะส่งผลให้มีบุตรยาก ดังนั้น การขับพิษออกรวมกับการรับประทานยาสมุนไพรบำรุงร่างกาย ก็จะช่วยให้มดลูกนั้นอุ่นขึ้น สามารถมีลูกได้ง่ายขึ้นด้วย

 

สมุนไพรจีนดีต่อร่างกายผู้ชายและผู้หญิงอย่างไร?

  • สามารถทำให้เกิดการตกไข่ ปรับฮอร์โมนให้สมดุล เมื่อเกิดภาวะรังไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควร หรือช่วยยืดอายุมดลูก รังไข่ในผู้หญิงอายุมาก
  • สมุนไพรจีนช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น บำรุงตัวอ่อนที่ฝังอยู่ในมดลูก ให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงจนครบอายุครรภ์
  • แก้ไขความผิดปกติระบบโครงสร้างของร่างกายที่เป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก เช่น มีแผลเป็นนูนที่เนื้อเยื่อในท่อนำไข่ หรือช่วยเรื่องการเกิดเนื้องอกในมดลูก
  • สำหรับผู้ชาย การดื่มสมุนไพรจีนจะช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิ และเพิ่มความแข็งแรงของอสุจิให้เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ สามารถเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิกับไข่ได้มากขึ้นอีกด้วย

 

 

ทำไมคุณแม่หลายท่านอาศัยแพทย์แผนจีนเรื่องมีบุตรยาก?

  • การแพทย์แผนจีนใช้ยาสมุนไพรในการแก้ปัญหากลไกของร่างกาย โดยกระตุ้นการทำงานระบบไหลเวียนเลือดตามธรรมชาติ ลงลึกไปถึงปัญหาสุขภาพ ไม่ใช่อาการที่ปรากฏในปัจจุบัน
  • เป็นการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติล้วน ๆ ในการบำบัดรักษา จึงมั่นใจได้ว่า มีผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยมาก อีกทั้งยังช่วยขจัดสารพิษตกค้างภายในร่างกายจากยาปฏิชีวนะทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

 

แพทย์แผนจีน

การแพทย์แผนจีนผสานกับแพทย์แผนปัจจุบัน

สำหรับผู้ที่มีบุตรยากแล้วต้องอาศัยวิธีทางวิทยาศาสตร์หรือแพทย์แผนปัจจุบัน สามารถนำเอาแพทย์แผนจีนไปใช้บำรุงร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมในการรักษาภาวะมีบุตรยากได้ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น

  • ดื่มยาสมุนไพรจีนเพื่อบำรุงเลือด ไต รังไข่ มดลูก ก่อนทำ IVF
  • ในระหว่างที่ผู้หญิงทำ IVF นั้น การดื่มยาสมุนไพรจะช่วยปรับสมดุลของตับและมดลูกให้ร่างกายทำงานสอดคล้องกัน
  • หลังทำ IVF หากดื่มยาสมุนไพรจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น บำรุงเลือด ม้าม ตับ ไต และหัวใจให้แข็งแรง ป้องกันการแท้งลูกอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : การทำ IVF หรือ เด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

 

วิถีชาวจีนปฏิบัติหลังคลอดอย่างไร?

คุณแม่หลังคลอดจะพบกับภาวะตัวเย็น จึงมีการรับประทานยาเพื่อให้มดลูกเข้าอู่บ้าง เข้ากระโจมอยู่ไฟแบบไทย ลดอาการตัวเย็นบ้าง ซึ่งทางการแพทย์แผนจีนได้มีการแนะนำการรับประทานอาหารร่วมกับการปฏิบัติในชีวิตประจำวันดังนี้

  • ใส่ขิงลงไปในอาหาร เพิ่มพริกไทยบ้าง อาจจะทำวันละมื้ออาหารก็ได้
  • งดดื่มน้ำอัดลม งดน้ำแข็ง หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น เช่น แตงโม มะละกอ ไปสักระยะ
  • อาบน้ำต้มตะไคร้อุ่น โดยต้มน้ำสัก 1 หม้อใหญ่ใส่ตะไคร้ลงไป 10 ต้น แล้วนำไปผสมน้ำในอ่างอาบน้ำ
  • สามารถผสมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบลงไปในน้ำอุ่นผสมตะไคร้ได้
  • หลีกเลี่ยงการสระผม หากจำเป็น ควรใช้น้ำอุ่นเท่านั้น แล้วดื่มน้ำหวานหลังสระผสม อาจจะเป็นน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งสักแก้ว
  • ชาวจีนนิยมให้คุณแม่หลังคลอดพักผ่อน 1 เดือนโดยห้ามทำงานหนัก เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็ว
  • ควรรับประทานอาหารที่ปรุงเอง เพื่อสุขภาพของคุณแม่หลังคลอด เพราะสามารถเลือกได้ว่าอะไรที่มีประโยชน์เท่านั้น

 

อย่างไรก็ตาม การรักษาตามแพทย์แผนจีนสำหรับสามีภรรยาที่มีภาวะมีบุตรยากนั้น เป็นเพียงทางเลือกในการวางแผนครอบครัวที่ค่อนข้างปลอดภัย เพราะใช้การรักษาโดยธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ฝังเข็ม ครอบแก้ว และสมุนไพรที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะอย่างหลังเป็นเพียงการเตรียมความพร้อมของร่างกายและรักษาความสมดุลของผู้ชายและผู้หญิงเพื่อจะมีบุตรในเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ยังต้องอาศัยการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้แข็งแรงเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะมีบุตรต่อไป

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การทำกิฟท์ (GIFT) การทำซิฟท์ (ZIFT) คืออะไร ? ช่วยในการมีลูกได้อย่างไร

การทำอิ๊กซี่ การรักษาภาวะมีบุตรยากควบคู่กับการทำเด็กหลอดแก้ว

เส้นเลือดขอดในถุงอัณฑะ ของคุณผู้ชาย อีกปัจจัยทำให้ มีลูกยาก

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • อยากท้อง
  • /
  • แพทย์แผนจีน และสมุนไพรจีน ช่วยแก้ปัญหามีบุตรยากได้อย่างไร?
แชร์ :
  • คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

    คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

  • คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

    คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

    คู่มือคุณพ่อ – คุณแม่ ! วิธีเลือกโลชั่นเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

  • คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

    คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ