X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลินิกมีบุตรยาก ช่วยทำให้มีลูกได้อย่างไร รักษามีบุตรยากที่ไหนดี ?

บทความ 8 นาที
คลินิกมีบุตรยาก ช่วยทำให้มีลูกได้อย่างไร รักษามีบุตรยากที่ไหนดี ?

20พยายามเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ ลูกไม่ติดสักที จนต้องปรึกษา คลินิกมีบุตรยาก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา และหาสาเหตุของการมีลูก คุณพ่อคุณแม่ที่อยากมีเจ้าตัวน้อยแย่แล้ว คลินิกมีบุตรยากช่วยให้มีลูกได้อย่างไร และ คลินิกมีบุตรยาก มีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลย

 

ทำไมต้องไปที่ คลินิกมีบุตรยาก

คุณสามารถประเมินตัวเองเบื้องต้น เกี่ยวกับการมีลูก หรือความพยายามในการมีลูก เช่น คุณมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ ภายในระยะเวลา 5 เดือน และโอกาสที่จะมีบุตรก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในระยะเวลา 1 ปี คุณไม่สามารถมีบุตรได้ หรือด้วยอายุของคุณที่มากขึ้น และไม่อยากเสี่ยงมีลูกตอนอายุมาก หรือไม่แน่ใจว่าตัวเองมีภาวะมีลูกยาวหรือไม่ ก็สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อทำการปรึกษาเรื่องของการมีบุตรได้ทันที ทางคลินิกมีบุตรยากก็จะมีเครื่องมือ และห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีต่าง ๆ สำหรับให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะมีลูกยาก

 

คลินิกมีบุตรยาก

แพทย์จะรักษาอย่างไร

ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะทำการซักประวัติของคู่สามี – ภรรยา ที่มีภาวะมีบุตรยาก จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยากก่อน เช่น ฝ่ายชายมีการตรวจหาเชื้ออสุจิ หรือในฝ่ายหญิงก็จะทำการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อหาความผิดปกติของอุ้งเชิงกราน ตั้งแต่ มดลูก ท่อนำไข่ ผนังมดลูก ภายในร่างกาย และทำการตรวจเลือดดูระดับของฮอร์โมนเพศ หาความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หากพบความผิดปกติส่วนไหน แพทย์ก็จะให้คำปรึกษา หรือแนวทางการแก้ไขและรักษาต่อไป

 

แนวทางการรักษาของคลินิกมีบุตรยาก เป็นอย่างไร

หลังจากที่แพทย์ได้ตรวจเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะให้ใช้วิธีธรรมชาติก่อน เช่น การทานยากระตุ้นการตกไข่ ร่วมกับการนับวันตกไข่ สำหรับเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ แต่หากทำการรักษาต่อเนื่องไป 3-6 ครั้งแล้ว มีแนวโน้มว่าไม่สำเร็จ แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ดูแลมดลูกให้แข็งแรงสำหรับคนมีลูกยาก

 

คลินิกมีบุตรยาก

 

เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้มีบุตรได้ มีเทคโนโลยีอะไรบ้าง

  • การฉีดเชื้อเข้าโพรงมดลูก หรือผสมเทียม

คือการฉีดเชื้ออสุจิ ที่มีการเก็บและคัดเชื้อแล้ว เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ในช่วงที่มีการตกไข่ ใกล้เคียงกับวิธีทางธรรมชาติ หลังจากนอนพักอย่างน้อย 30 – 60 นาที ก็จะสามารถกลับบ้านได้ทันที ซึ่งวิธีการผสมเทียมนี้ จะเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ 10 – 20 % และอาจจะใช้เวลาในการรักษา 3 – 6 ครั้ง

 

  • การทำกิ๊ฟท์

การทำกิ๊ฟท์ คือ การนำไข่และเชื้ออสุจิที่มีการเตรียมไว้แล้ว กลับเข้าไปใส่ในท่อนำรังไข่ของผู้หญิง เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิบริเวณท่อนำไข่ ไข่ที่ผสมแล้วเจริญเป็นตัวอ่อน และกลับไปฝังที่โพรงมดลูกก็มีโอกาสในการตั้งครรภ์ต่อไป ซึ่งมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 20 – 30 % ซึ่งน้อยกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว ปัจจุบันจึงไม่ค่อยนิยมรักษาด้วยวิธีนี้กันเท่าไหร่นัก

 

  • การทำเด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว InVitro Fertilization (IVF) และ IntraCytoplasmic Sperm Injection (ICSI) ทั้ง 2 วิธีนี้ เป็นการฉีดยากระตุ้นรังไข่ แล้วทำการเก็บไข่กับเชื้ออสุจิออกมาปฏิสนธิภายนอกร่างกาย เลี้ยงจนเป็นตัวอ่อน 3 – 5 วัน แล้วทำการย้ายตัวอ่อนไปโพรงมดลูกของผู้หญิง แต่ความแตกต่างก็คือ ขั้นตอนการปฏิสนธิของ IVF จะใส่เชื้ออสุจิจำนวนหนึ่งกับไข่เพื่อให้ปฏิสนธิกันเอง แต่ในส่วนของ ICSI จะใช้ในกรณีที่เชื้ออสุจิมีจำนวนน้อย ก็จะใช้การฉีดเชื้ออสุจิหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิเกิดขึ้น ซึ่งทั้ง 2 วิธีจะช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์ถึง 30 – 50 %

บทความที่เกี่ยวข้อง : ไขข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนอยากรู้กับการทำ เด็กหลอดแก้ว รู้ก่อนได้เปรียบ!

 

คลินิกมีบุตรยาก

 

รวมคลินิกมีบุตรยาก ในกรุงเทพมหานคร

คลินิกมีบุตรยากในกรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 6 โซน ต่อไปนี้

 

โรงพยาบาลและคลินิกสำหรับผู้มีบุตรยาก ฝั่งกรุงเทพกลาง

  • สยาม เฟอร์ทิลิตี้ คลินิก เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
  • สไมล์ ไอวีเอฟ คลินิก เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลพระรามเก้า เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
  • ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก EKI-IVF พระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกเวชกรรม แฟมิลี่เฮลท์ สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูติศาสตร์บางกอกไอวีเอฟลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
  • ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
  • ผาติเวชคลินิก เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
  • พารากอน เฟอร์ทิลิตี้ โดย กุลพัฒน์ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
  • ไพร์ม เฟอร์ทิลิตี้ (Prime Fertility Center) เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
  • รัชดาเมดิคอลเจนเนอรัลสหคลินิก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลปิยะเวท เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

 

โรงพยาบาลและคลินิกสำหรับผู้มีบุตรยาก ฝั่งกรุงเทพใต้

  • คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูตินรีเวชอินสไปร์ ไอวีเอฟ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูตินรีเวชเอ็นไอซี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวชทะคาระ ไอวีเอฟ บางกอก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวชไอดับบลิวซี เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกสตอร์ค เอ. อาร์. ที. เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • อาร์เอฟจีคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
  • เอ ไอวี เอฟ คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูติ-นรี เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
  • เอฟเอฟซี คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • เอสเอฟซีเฟอร์ทิลินี้คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูตินรีเวช เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • ไอเบบี้ คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวช เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • คอนราดี เอ.อาร์.ที. คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูตินรีเวช เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • จีเนียคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • เจเนซีสคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
  • นวบุตรสยาม เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • บีดีเอ็มเอส เวลเนส สหคลินิก เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • ศูนย์การแพทย์นวบุตร เขตสาธร กรุงเทพมหานคร
  • ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากเจตนิน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • สตีเวนส์เฟอร์ทิลิตี้คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูตินรีเวช เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • สมาร์ทคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูติ-นรีเวช เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
  • สมิติเวช ศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
  • แบงค็อกเซนทรัลคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • มิลเลนเนียมคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
  • มิสกวานคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลบีเอ็นเอช เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
  • ลาวิดาคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูตินรีเวช เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
  • เลเจ้นท์เฟอร์ทิลิตี้เซ็นเตอร์ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร
  • เวิลด์ไวด์คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวช เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร

 

โรงพยาบาลและคลินิกสำหรับผู้มีบุตรยากฝั่งกรุงเทพเหนือ

  • บอร์น ไอวีเอฟ คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูติ-นรีเวช เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลวิภาวดี เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

 

โรงพยาบาลและสถานพยาบาลฝั่งกรุงเทพตะวันออก

  • ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร VFC (V Fertility Center) เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
  • ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เซฟเฟอร์ทิลิตี้เซ็นเตอร์ สาขารามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร
  • ไทยหวังใหม่ศูนย์เด็กหลอดแก้ว (New Hope Fertility Center of Thailand) เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลสินแพทย์รามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลสินแพทย์เสรีรักษ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

 

โรงพยาบาลและสถานพยาบาลฝั่งกรุงธนเหนือ

  • โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลวิชัยเวช แยกไฟฉาย เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • บียอนด์ ไอวีเอฟ (Beyond IVF) เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกจินตบุตรการแพทย์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • คลินิกศูนย์แพทย์อรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
  • จีน่าเฟอร์ทิลิตี้ สตูดิโอ คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

 

โรงพยาบาลและสถานพยาบาลฝั่งกรุงธนใต้

  • โรงพยาบาลนครธน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
  • โรงพยาบาลพญาไท 3 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

 

ต้นเหตุภาวะมีบุตรยาก

  • ปัญหาการตกไข่

เมื่อผู้หญิงมีอายุที่มากขึ้นจำนวนและคุณภาพของรังไข่จะลดลง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของผู้หญิงที่มีอายุมากมีลูกยากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ซึ่งสามารถประเมินจำนวนไข่ ได้หลากหลายวิธี เช่น เจาะเลือดดูฮอร์โมน ผู้ที่ปริมาณไข่สำรองลดลง ฮอร์โมน AMH จะต่ำกว่า ซึ่งการประเมินไข่สำรองมีประโยชน์ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก เพราะสามารถช่วยคาดปริมาณฟองไข่ที่จะเติบโตได้หลังจากการกินยา หรือฉีดยากระตุ้นรังไข่ ช่วยประเมินโอกาสสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วได้อีกด้วย

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

 

  • ปัญหาท่อนำไข่

ในกระบวนการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ ท่อน้ำไข่เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ซึ่งการตรวจสอบว่าท่อนำไข่ตีบตันหรือไม่ สามารถตรวจสอบด้วยการเอกซเรย์ฉีดสีดูท่อนำไข่ และเมื่อการผ่าตัดผ่านกล้องยืนยันว่า ไข่ตีบตันทั้งสองข้างจะไม่สามารถมีลูกได้โดยวิธีธรรมชาติหรือวิธีการฉีดน้ำเชื้อ หากเป็นแบบนี้แล้ว จะต้องทำเด็กหลอดแก้วเท่านั้น

 

  • ปัญหาอสุจิ

การตรวจอสุจิช่วยบอกคุณภาพของน้ำเชื้อ ปริมาณอสุจิ การเคลื่อนไหว ความแข็งแรงของอสุจิได้ โดยฝ่ายชายต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ 3 – 7 วัน และทำการเก็บอสุจิเพื่อตรวจสอบ หากอสุจิมีความผิดปกติ แพทย์จะทำการเจาะเลือดดูระดับฮอร์โมนว่ามีความผิดปกติจากอะไร

 

  • ปัญหาของมดลูกและปากมดลูก

อีกหนึ่งสาเหตุของภาวะมีบุตรยากอาจเกิดจากเนื้องอกโพรงมดลูก ติ่งเนื้องอกในโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุในการรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน

 

  • ปัญหาเยื่อบุภายในช่องท้อง

เนื้อเยื่อปกคลุมอวัยวะภายในช่องท้อง รวมถึงมดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ ซึ่งมักจะเกิดจากการปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง หรือมีอาการเจ็บลึก ๆ ในช่องคลอด และท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์ แพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้องดูอุ้งเชิงกราน และทำการรักษาในขั้นตอนเดียว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 สิ่งที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และ พฤติกรรมที่ทำให้มีลูกยาก

นับวันตกไข่ยังไงให้แม่น ลูกมาเลย! สำหรับคนที่มีลูกยาก

มาดูกัน!! สาเหตุของการมีลูกยาก ตามทัศนะของแพทย์แผนจีน

ที่มา : 1 , 2 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คลินิกมีบุตรยาก ช่วยทำให้มีลูกได้อย่างไร รักษามีบุตรยากที่ไหนดี ?
แชร์ :
  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ