X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การทำ IVF หรือ เด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

บทความ 8 นาที
การทำ IVF หรือ เด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

การทำ IVF (In – vitro Fertilization) หรือ  การทำเด็กหลอดแก้ว เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

 

การทำ IVF เหมาะกับใครบ้าง

  • คู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่อุดตันหรือท่อนำไข่ถูกทำลาย
  • คู่สมรสที่ฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับเชื้ออสุจิ ได้แก่ มีจำนวนอสุจิน้อย อสุจิเคลื่อนที่ได้ไม่ดี
  • คู่สมรสที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก และพยายามมีบุตรมามากกว่า 3 ปี
  • คู่สมรสที่ได้ใช้วิธีกระตุ้นการตกไข่และการผสมเทียมโดยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (Intrauterine Insemination: IUI) มาแล้วแต่ยังไม่ตั้งครรภ์

 

หลักการของการทำเด็กหลอดแก้วเป็นดังนี้

  1. การใช้ยากระตุ้นให้มีการตกไข่หลาย ๆ ใบ และให้ไข่สุกพร้อม ๆ กัน
  2. เก็บไข่ที่ได้รับการกระตุ้นแล้วออกมา เพื่อรอการผสม
  3. การคัดแยกตัวอสุจิ ออกจากน้ำอสุจิ เพื่อรอสำหรับการผสมกับไข่
  4. ไข่กับอสุจิผสมกันในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ตัวอ่อน
  5. เลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ จนถึงระยะที่ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้
  6. ย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่มดลูก
  7. แช่แข็งตัวอ่อนส่วนที่เหลือจากการย้ายตัวอ่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง : การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

 

 

ขั้นตอนในการทำเด็กหลอดแก้ว

1. การกระตุ้นไข่

เริ่มจากการพบแพทย์ ตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน และทำอัลตราซาวนด์พร้อมกับฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ในวันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน จากนั้นแพทย์จะนัดอัลตราซาวนด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของไข่ และตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนเป็นระยะ โดยจะใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 8 – 10 วัน

 

2. การเก็บไข่

หลังจากมีการกระตุ้นไข่ด้วยฮอร์โมนจนไข่เจริญเติบโตจนได้ขนาดตามต้องการ แพทย์จะทำการเจาะเก็บไข่จากรังไข่ โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด และใช้อัลตราซาวนด์ช่วยบอกทิศทาง แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกระยะสั้นทางหลอดเลือด หรือวางยาสลบ เพื่อป้องกันความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างทำใช้เวลาเก็บไข่ ไม่เกิน 20 – 30 นาที

ในขณะเดียวกัน ฝ่ายชายจะต้องเก็บอสุจิใส่ภาชนะที่แพทย์เตรียมให้ เพื่อนำมาคัดแยกเฉพาะอสุจิที่สมบูรณ์นำมาผสมกับไข่ในห้องทดลอง และตรวจดูการปฏิสนธิต่อไป กรณีที่ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อน้อย หรือคุณภาพของอสุจิน้อยกว่ามาตรฐานมาก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่ไข่จะไม่ได้รับการผสม ควรใช้วิธีการคัดเลือกอสุจิเพียงตัวเดียวฉีดเข้าไปในไข่ โดยไม่ต้องรอให้ปฏิสนธิกันเองเรียกวิธีนี้ว่า อิ๊กซี่ (ICSI, Intracytoplasmic Sperm injection)

 

3. การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน

เมื่อเกิดการปฏิสนธิไข่กับอสุจิจนเป็นตัวอ่อนแล้ว จะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการต่อจนเจริญเติบโต แบ่งเซลล์เป็น 6 – 8 เซลล์ ใช้เวลาประมาณ 3 วันหลังปฏิสนธิ และเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะบลาสโตซีสต์ ใช้เวลาประมาณ 5 วันหลังปฏิสนธิ

 

4. การย้ายตัวอ่อน

คือการนำตัวอ่อนย้ายเข้าโพรงมดลูกด้วยการใส่เครื่องมือทางช่องคลอด เหมือนกับการตรวจภายใน ขั้นตอนนี้ไม่ต้องให้ยาระงับปวด หรือยานอนหลับ การใส่ตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก อาศัยเครื่องอัลตราซาวนด์ในการบอกตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะว่างตัวอ่อนในโพรงมดลูก ปกติแล้วเราย้ายตัวอ่อนได้ 2 ระยะคือตัวอ่อนอายุ 3 หรือ 5 วัน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาที

 

การทำ ivf มีขั้นตอนอย่างไร ค่าใช้จ่าย

 

ระยะของการย้ายตัวอ่อน

การย้ายตัวอ่อนสามารถทำได้ในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การย้ายตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst transfer) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้ในการช่วยเหลือคู่สมรสที่มีบุตรยาก โดยการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ภายนอกร่างกายจนตัวอ่อนเจริญเติบโตถึงระยะพร้อมฝังตัว (ใช้ระยะเวลา 5 วันหลังการผสม) ที่เรียกว่าบลาสโตซิสต์ (blastocyst) แล้วจึงค่อยใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ตัวอ่อนพร้อมฝังตัว เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
  • การย้ายตัวอ่อนในระยะวันที่ 3 หลังการผสม (day 3 transfer)เป็นวิธีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกายจนตัวอ่อนมีการแบ่งเซลล์เป็น 6-8 เซลล์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 วันหลังการผสม แล้วจึงใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก

 

ระยะเวลาในการทำเด็กหลอดแก้ว

กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4 – 6 สัปดาห์จึงจะสมบูรณ์ โดยหลังการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกประมาณ 2 สัปดาห์แพทย์จะนัดมาตรวจเลือดเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์

ขั้นตอนที่หนึ่ง

วันที่สองหรือวันที่สามของการมีประจำเดือน เริ่มมาตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายเป็นการประเมินการทำงานของรังไข่และตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อนับจำนวนไข่อ่อนที่ร่างกายผลิตออกมาในรอบประจำเดือนนั้น

การใช้ยากระตุ้นไข่ โดยทั่วไปยาที่ใช้กระตุ้นให้มีไข่ตกหลาย ๆ ใบ จะเป็นยาฉีดกระตุ้นไข่ โปรแกรมการกระตุ้นไข่มีหลายแบบ คือการเริ่มต้นฉีดยาวันที่สอง หรือวันที่สามของรอบประจำเดือน หลังจากที่ได้ทำการตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่แล้ว จึงเริ่มต้นด้วยขนาดยากระตุ้นที่เหมาะสมกับแต่ละคน โดยพิจารณาจากผลฮอร์โมน

และการตรวจอัลตราซาวนด์ร่วมกับอายุของฝ่ายหญิง สำหรับชนิดของยาฉีดเพื่อกระตุ้นไข่นั้นโดยทั่วไปจะมีประมาณ 2 – 3 ชนิด โดยตัวแรกจะเป็นยากระตุ้นให้การเจริญเติบโตของไข่หลาย ๆ ใบก่อน (Recombinant FSH) เป็นระยะเวลาประมาณ 5 วันจึงเริ่มต้นการฉีดยาตัวที่สอง ซึ่งเป็นยากันไม่ให้ไข่ตกก่อนเวลา (GnRH antagonist) เนื่องจากมีหลายใบ ถ้าไม่มียากันไข่ตก ไข่จะตกก่อนที่จะเก็บได้ ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการฉีดยากระตุ้นไข่ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 – 12 วัน ในระหว่างนี้จะมีการตรวจระดับฮอร์โมน และการตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของไข่ประมาณ 3 ครั้ง และตัดสินวันที่จะเก็บไข่ออกมาจากร่างกาย โดยพิจารณาจากขนาดไข่เป็นหลัก โดยทั่วไปขนาดไข่ที่เหมาะสมสำหรับการเก็บมาผสมนั้นควรจะมีขนาดประมาณ 18 mm เป็นต้นไป จึงเริ่มฉีดยาตัวสุดท้าย (hCG) เพื่อให้ไข่สุกพร้อม ๆ กัน และตกในอีก 36 ชั่วโมงถัดมา

 

การทำ ivf มีขั้นตอนอย่างไร ค่าใช้จ่าย

ขั้นตอนที่สอง

การเก็บไข่ออกจากร่างกายโดยผ่านทางช่องคลอด โดยใช้เข็มขนาดเล็ก ที่แนบหัวตรวจอัลตราซาวนด์ขนาดเล็ก เพื่อใช้สำหรับการตรวจหาไข่ขณะเจาะดูด การเก็บไข่จะทำภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือด หลังจากผู้รับบริการหลับสนิท จึงทำการดูดไข่ออกมา โดยใช้อัลตราซาวนด์เป็นตัวช่วยหาไข่ ซึ่งใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง สารน้ำที่ถูกดูดออกมา จะถูกนำมาตรวจหาไข่ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เมื่อพบแล้วจึงทำการเก็บไข่ที่ได้ มาเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงไข่ เพื่อเตรียมสำหรับการผสม

 

ขั้นตอนที่สาม

การคัดแยกตัวอสุจิออกจากน้ำอสุจิ เพื่อให้อสุจิพร้อมสำหรับการผสมกับไข่ ฝ่ายชายควรงดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 3 วันไม่เกิน 7 วัน โดยเก็บน้ำเชื้อด้วยวิธีการช่วยตัวเองให้หลั่งออกมา ในภาชนะปลอดเชื้อสำหรับการทำเด็กหลอดแก้วโดยเฉพาะ น้ำเชื้อที่ได้นั้น จะต้องส่งถึงห้องปฏิบัติการ เพื่อการแยกตัวอสุจิไม่เกินครึ่งชั่วโมงหลังหลั่งออกมา มิฉะนั้นตัวอสุจิ จะสูญเสียประสิทธิภาพในการผสมกับไข่ ตัวอสุจิที่ผ่านการคัดแยกแล้ว จะได้รับการเติมสารอาหาร เพื่อให้วิ่งเร็ว และพร้อมจะผสมต่อไป

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

ขั้นตอนที่สี่

การผสมไข่กับอสุจิ ในกรณีของการทำเด็กหลอดแก้วแบบมาตรฐานนั้น เราจะปล่อยให้ตัวอสุจิว่ายน้ำไปผสมกับไข่เอง โดยใส่จำนวนตัวอสุจิ ให้มากพอสำหรับไข่ และทิ้งระยะเวลาไว้ให้เหมาะสม หลังจากนั้นจึงนำไข่มาตรวจการผสมว่าเป็นตัวอ่อน หรือไม่ ซึ่งวิธีนี้ จะไม่สามารถใช้ได้กับฝ่ายชายที่มีปริมาณน้ำเชื้อน้อย หรือคุณภาพของอสุจิน้อยกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งเสี่ยงสูงต่อการที่ไข่จะไม่ได้รับการผสมเลย ดังนั้นในกรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาน้ำเชื้ออ่อนร่วมด้วย ควรใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้วแบบ ICSI

 

ขั้นตอนที่ห้า

การเลี้ยงตัวอ่อนในตู้เลี้ยงตัวอ่อน ที่ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการแบ่งเซลล์ จากหนึ่งเซลล์เป็นสองเซลล์ สี่เซลล์ แปดเซลล์ตามลำดับ หลังจากนั้น ตัวอ่อนสามารถได้รับการคัดเลือก เพื่อย้ายกลับเข้ามดลูก หรือเลี้ยงต่อเพื่อรอการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ (Blastocyst)

 

การทำ ivf มีขั้นตอนอย่างไร ค่าใช้จ่าย

 

ขั้นตอนที่หก

การย้ายตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูกนั้น เหมือนการตรวจภายในธรรมดา ไม่จำเป็นต้องได้รับยาระงับความเจ็บปวด หรือจำเป็นต้องหลับ ยกเว้นบางกรณีเช่น ฝ่ายหญิงมีปัญหาไม่สามารถใส่เครื่องมือเข้าปากช่องคลอดได้ หรือมีความกังวลมาก ๆ การใช้ยาให้หลับจะทำให้การย้ายตัวอ่อนทำได้อย่างราบรื่นมากขึ้นได้ การย้ายตัวอ่อนเริ่มจาก การใช้สายย้ายตัวอ่อนขนาดเล็กมาก ทำการดูดตัวอ่อน และสอดผ่านปากมดลูกเพื่อวางตัวอ่อนไว้บนเยื่อบุโพรงมดลูก โดยทั่วไปการย้ายตัวอ่อนโดยการใช้อัลตราซาวนด์ เพื่อหาตำแหน่งวางตัวอ่อนที่เหมาะสมที่สุดนั้นจะทำให้เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ มากกว่าการย้ายตัวอ่อนโดยไม่ใช้อัลตราซาวนด์ เนื่องจากโครงสร้างทางกายวิภาคของฝ่ายหญิงมีความแตกต่างกัน

 

ขั้นตอนที่เจ็ด

การแช่แข็งตัวอ่อนที่เหลือ จากการย้ายตัวอ่อน ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยให้โอกาสในการตั้งครรภ์ จากการทำเด็กหลอดแก้วในปัจจุบันสูงกว่าในอดีตค่อนข้างมาก  ด้วยวิธีการแช่แข็งตัวอ่อน ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานาน ปัจจุบันเราสามารถเก็บรักษาตัวอ่อนไว้ได้นานหลายปี สามารถกลับมาย้ายตัวอ่อนในภายหลังได้เป็นเวลาหลายปี โดยที่ยังมีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ต้องกระตุ้นไข่ใหม่ เยื่อบุที่เจริญพัฒนาขึ้นมาในรอบย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง จะมีการเจริญเติบโตที่เหมือนธรรมชาติ ซึ่งต่างกับเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญขึ้นมาในรอบกระตุ้นไข่ ซึ่งมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตมากเกินไปตามการเจริญเติบโตของไข่ได้ ดังนั้นการย้ายตัวอ่อนสด จึงเสี่ยงที่เยื่อบุจะมีการเจริญพัฒนาที่มากเกินไป ตามการเจริญเติบโตของไข่ ทำให้ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ดังนั้นการย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง จึงอาจจะให้ผลสำเร็จมากกว่าการย้ายตัวอ่อนสด ในกรณีที่มีการกระตุ้นของไข่จำนวนหลาย ๆ ใบ

 

ค่าใช้จ่ายในการทำ IVF

การทำ IVF (In Vitro Fertilization) เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากแต่ละขั้นตอนมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันออกไป และยังขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อายุของผู้ป่วย
  • ความรุนแรงของความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์
  • ความทันสมัยของเครื่องมือแพทย์ในคลินิกและห้องปฏิบัติการแต่ละแห่ง
  • ทางเลือกต่างๆ ในขั้นตอนการทำ IVF

 

การทำ IVF ในประเทศไทย มีให้บริการทั้งในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลและคลินิกเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนมากจะคิดเหมารวมเป็นแพ็กเกจที่ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่

  • การให้คำปรึกษา
  • การตรวจฮอร์โมนในเลือด
  • การให้ยากระตุ้นรังไข่
  • การเก็บไข่และปฏิสนธิ (ส่วนมากใช้เทคนิค ICSI)
  • การเลี้ยงเอ็มบริโอในห้องปฏิบัติการและนำเข้าสู่มดลูก
  • การติดตามการตั้งครรภ์

โดยค่าใช้จ่ายต่อการทำ IVF 1 รอบ จะอยู่ที่ประมาณ 70,000 – 150,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น การตรวจทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอ การเก็บแช่แข็งไข่และเอ็มบริโอ หรือการเจาะเก็บเชื้ออสุจิจากอัณฑะ จะมีราคาเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณ 25,000 – 100,000 บาท

 

รายละเอียดค่าใช้จ่ายสำหรับการทำ IVF 1 รอบ

กระบวนการ ค่าใช้จ่าย (บาท) หมายเหตุ
การให้คำปรึกษา การตรวจฮอร์โมนในเลือด และตรวจคุณภาพอสุจิ 1,500 – 2,500
การตรวจความผิดปกติในโพรงมดลูก โดยการส่องกล้อง 15,000 – 20,000 กรณีที่สงสัยว่ามีความผิดปกติในมดลูก
การฉีดยากระตุ้น เพื่อให้พร้อมต่อการเก็บไข่ 30,000 – 55,000 ขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้ยา
การตรวจอัลตราซาวนด์ 800 – 1,500
การเก็บไข่ ปฏิสนธิไข่ (ICSI) และเลี้ยงเอ็มบริโอในห้องปฏิบัติการ 50,000 – 60,000
การนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูก 15,000 – 30,000 ราคาต่อครั้ง
การเจาะเก็บอสุจิจากอัณฑะ 25,000 – 30,000 ไม่จำเป็น หากผู้ชายหลั่งอสุจิได้ปกติ
การเก็บแช่แข็งไข่หรือเอ็มบริโอ 5,000 – 7,000 สำหรับคนที่ต้องการเก็บเอ็มบริโอไว้ใช้ในอนาคต
การนำเอ็มบริโอแช่แข็งกลับมาใช้ 10,000 – 15,000
การตรวจทางพันธุกรรมในตัวอ่อน (PGS) 80,000 – 120,000 ไม่จำเป็นต้องตรวจทุกคน และราคาขึ้นอยู่กับจำนวนเอ็มบริโอที่ต้องการตรวจ
การตรวจครรภ์และเตรียมก่อนฝากครรภ์ 2,500 – 4,500
รวม 70,000 – 270,000

 

จากตารางค่าใช้จ่าย จะเห็นได้ว่าราคาในการทำ IVF แต่ละรอบอยู่ในช่วงที่กว้างมาก เนื่องจากมีบางขั้นตอนที่อาจไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกคน เช่น การตรวจ PGS หรือการเจาะเก็บอสุจิจากอัณฑะ ดังนั้น หากต้องการทราบค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจน ให้ปรึกษารายละเอียดกับทางโรงพยาบาล หรือคลินิกที่ต้องการเข้ารับการทำ IVF โดยตรง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กหลอดแก้ว กับไขข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนอยากรู้ก่อนตัดสินใจทำ

เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลเอกชน มีราคาเท่าไหร่ ให้เราแนะนำ

เด็กหลอดแก้วโรงพยาบาลรัฐ แต่ละรพ.มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง ?

ที่มา : 1 , 2 , 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • อยากท้อง
  • /
  • การทำ IVF หรือ เด็กหลอดแก้ว มีขั้นตอนอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
แชร์ :
  • เด็กหลอดแก้ว (IVF) กับไขข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนอยากรู้ก่อนตัดสินใจทำ

    เด็กหลอดแก้ว (IVF) กับไขข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนอยากรู้ก่อนตัดสินใจทำ

  • การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

    การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • เด็กหลอดแก้ว (IVF) กับไขข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนอยากรู้ก่อนตัดสินใจทำ

    เด็กหลอดแก้ว (IVF) กับไขข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนอยากรู้ก่อนตัดสินใจทำ

  • การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

    การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ