X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กเล็กมี หินปูน ได้หรือไม่ ถ้ามีหินปูนแล้วต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

บทความ 5 นาที
เด็กเล็กมี หินปูน ได้หรือไม่ ถ้ามีหินปูนแล้วต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันเด็กเล็กมี หินปูน ได้หรือไม่ ถ้ามีหินปูนแล้วต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน

ในช่วง 2-3 ปีแรกของชีวิตลูกน้อย ฟันน้ำนมของเด็ก ๆ เริ่มขึ้นมาทีละซี่สองซี่ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจจะตกใจที่เห็นฟันของลูกน้อยมีคราบ หินปูน หากคุณพ่อคุณแม่กำลังสงสัยว่าทำไมเด็กเล็กถึงมีหินปูน นั่นอาจจะเป็นเพราะอาหารบางชนิดทำให้เกิดหินปูน หรือการทำความสะอาดฟันไม่ถูกวิธีก็เป็นได้ค่ะ ลองมาดูกันว่าหินปูนเกิดจากอะไรบ้าง มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร

 

หินปูน เกิดจากอะไร

การเห็นคราบหินปูนของลูกอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวล หรือทำให้รู้สึกว่าดูแลลูกไม่ดีพอ ยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่มีเคยรักษาฟันผุหรือต้องใส่เหล็กจัดฟัน อาจจะรู้สึกอ่อนไหวเป็นพิเศษกับการต้องการให้แน่ใจว่าลูกน้อยจะไม่ต้องเสียเวลากับหมอฟันมากนัก นี่คือสาเหตุหลักบางประการที่ฟันลูกน้อยของคุณอาจมีหินปูน

  • สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี (เช่น การแปรงฟันที่ไม่ถูกต้อง) อาจทำให้เกิดคราบพลัคบนฟันของเด็ก ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดคราบหินปูนที่ฟัน
  • การได้รับวิตามินหรือแร่ธาตุเสริมที่มีธาตุเหล็กสูงอาจทำให้ฟันเปลี่ยนสีได้
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลินขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรมีความเชื่อมโยงกับหินปูนที่ฟันของลูก
  • เคลือบฟันอ่อน เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือปัจจัยอื่น ๆ
  • การบาดเจ็บที่ใดที่หนึ่ง เช่น ฟันหรือเหงือก

หินปูน

 

คราบ หินปูน มีหลายสี ลองมาดูว่าคราบฟันสีใดที่น่ากังวล และคราบฟันสีใดที่อาจเป็นเรื่องปกติ

คราบหินปูนสีดำบนฟันน้ำนม

ฟันสีเข้ม ๆ เพียงซี่เดียวอาจบ่งบอกว่าฟันของลูกมีเลือดออกอันเป็นผลมาจากการบาดเจ็บ คราบดำบนฟันอาจเป็นสัญญาณของฟลูออโรซิส ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป หากคุณเห็นคราบสีดำบนฟันของลูกน้อยบริเวณที่ใกล้ ๆ กับเหงือก แสดงว่าอาจฟันผุอย่างร้ายแรง

พูดคุยกับกุมารแพทย์ของทารกหากคุณพบคราบดำบนฟันของทารก เขาหรือเธออาจแนะนำคุณทันตแพทย์เด็ก ซึ่งสามารถแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนม ต้องดูแลอย่างไร

 

คราบหินปูนสีเหลืองบนฟันน้ำนม

คราบเหลืองบนฟันของลูกน้อย มาจากการที่ไม่ได้ทำความสะอาดหรือแปรงฟันอย่างเหมาะสม คราบหินปูนในเด็กที่มีสีเหลืองเกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ ซึ่งอาจทำให้ฟันผุได้หากไม่ได้รับการรักษา

หากคราบบนฟันของทารกเป็นสีเขียวและเหลือง อาจเป็นสัญญาณว่าพวกเขามีภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง ภาวะนี้เป็นตั้งแต่แรกเกิดหรือภาวะตัวเหลือง ซึ่งทำให้ลูกของคุณมีบิลิรูบินในเลือดมากเกินไป หากลูกน้อยของคุณเกิดมาพร้อมกับอาการตัวเหลือง ฟันของเด็ก ๆ อาจจะมีสีเหลือง ๆ เขียว ๆ ได้

 

อาหารที่สามารถทำให้เกิดคราบหินปูนได้

คุณพ่อคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงที่ฟันของลูกจะเกิดคราบหินปูนได้ โดยการจำกัดอาหารบางชนิดในมื้ออาหาร เพราะอาหารบางชนิดอาจทำให้ฟันน้ำนมเป็นคราบหินปูน ได้แก่

  • อาหารที่มีเม็ดสีหนาแน่น เช่น บลูเบอร์รี ราสป์เบอร์รี แบล็กเบอร์รี บีตรูท และองุ่น
  • ลูกอมและโซดา เนื่องจากความหวานของอาหารเหล่านี้จะเกาะติดบนพื้นผิวฟันและกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโพรง
  • ซอสมะเขือเทศที่มีความเป็นกรดและสามารถทำให้เคลือบฟันอ่อนลงได้

หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกทานอาหารเหล่านี้ ให้เช็ดเหงือกหรือล้างฟันด้วยน้ำหลังจากนั้น โชคดีที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ทำให้เกิดฟันผุ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของการเกิดฟันผุในเด็กปฐมวัยจะเพิ่มขึ้นหากคุณให้นมลูกต่อไปหลังจากอายุ 2 ขวบ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทา อันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

วิธีขจัดคราบหินปูน

การกำจัดคราบหินปูนมักจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับทันตแพทย์ แต่หากคราบเป็นสีเหลืองที่ดูเหมือนยังใหม่ ๆ อยู่ คุณพ่อคุณแม่สามารถแปรงฟันของลูกน้อยเบา ๆ เพื่อขจัดคราบพลัคออกจากเคลือบฟันได้เลยนะคะ

แม้ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผู้ใหญ่ในการฟอกสีฟัน แต่ก็ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยที่คุณสามารถใช้เพื่อขจัดคราบสกปรกออกจากฟันของเด็ก ๆ ได้ ปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญทำความสะอาดฟันอย่างล้ำลึก ซึ่งสามารถให้คำแนะนำได้ว่าฟันของลูกน้อยต้องการการดูแลมากขึ้นหรือไม่

 

หินปูน

 

วิธีป้องกันฟันจากหินปูน

หากคุณคิดว่าผู้ใหญ่เท่านั้นที่ต้องกังวลเกี่ยวกับการที่ฟันเปลี่ยนสีและฟันผุ ให้คิดใหม่ เมื่อคุณรู้วิธีกำจัดคราบฟันออกจากฟันของลูกแล้ว มีขั้นตอนบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคราบตั้งแต่แรก

เป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องเริ่มกิจวัตรสุขอนามัยช่องปากที่ดีกับลูกน้อยของคุณทันทีที่ฟันซี่แรกขึ้นมา การรักษาฟันของลูกน้อยให้สะอาดอยู่เสมอจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดคราบบนผิวฟัน

ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณสามารถใช้ผ้านุ่มสะอาดเช็ดพื้นผิวฟันและเหงือกของลูกน้อยเบา ๆ หลังให้นมได้ ตั้งแต่อายุ 18 เดือนขึ้นไป คุณสามารถแปรงยาสีฟันที่ไม่ผสมฟลูออไรด์จำนวนเล็กน้อยบนฟันและเหงือก เมื่อลูกของคุณเรียนรู้ที่จะบ้วนน้ำได้ (อายุประมาณ 3 ขวบ) คุณสามารถใช้ยาสีฟันขนาดเท่าเมล็ดถั่วในการแปรงฟันได้ตามปกติ

 

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังกังวลอยู่อีกละก็ เรามีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ มาแบ่งปันค่ะ

  • ให้นมแม่ หรือ น้ำแก่ลูกน้อยเพื่อให้ฟันชุ่มชื้น
  • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้หรือโซดา สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดคราบหินปูนได้
  • เช็ดพื้นผิวฟัน และเหงือกของเด็ก ๆ หลังจากการให้นมครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของวัน
  • ตั้งแต่อายุหนึ่งขวบขึ้นไป ให้พาลูกของคุณไปหาหมอฟันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามสุขภาพฟันของลูกน้อยของคุณ เพราะพบความผิดปกติเล็ก ๆ ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ จะรักษาได้ทัน
  • สอบถามทันตแพทย์ของเด็ก ๆ เกี่ยวกับการเคลือบฟลูออไรด์ ทันทีที่ฟันซี่แรกของลูกขึ้นมา
  • พูดคุยกับกุมารแพทย์หรือทันตแพทย์เด็ก หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับคราบหินปูนหรือฟันลูก ๆ ที่เปลี่ยนสีไป

 

การป้องกันไม่ให้ฟันของเด็ก ๆ มีคราบหินปูนนี่ง่ายกว่าการรักษาเยอะเลยนะคะ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ อย่าลืมทำตามคำแนะนำด้วยนะคะ หมั่นทำความสะอาดช่องปาก ฟัน และเหงือกของลูกน้อยอยู่เสมอ รับรองว่าฟันจะสะอาด ไม่ต้องไปหาคุณหมอบ่อย ๆ อีกด้วยค่ะ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แปรงลิ้น ตอนแปรงฟันดีอย่างไร? สอนลูกแปรงลิ้น จำเป็นหรือไม่

ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?

ถอนฟันที่เด็ก ๆ มักกลัว ทำอย่างไรดีเมื่อลูกกลัว งอแงไม่ยอมไปถอนฟัน

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Patteenan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เด็กเล็กมี หินปูน ได้หรือไม่ ถ้ามีหินปูนแล้วต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน
แชร์ :
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

  • อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

    อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

app info
get app banner
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

  • อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

    อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ