X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เคลือบฟลูออไรด์ ในเด็กมีความจำเป็นมากแค่ไหน มีผลกระทบอะไรหรือไม่

บทความ 5 นาที
เคลือบฟลูออไรด์ ในเด็กมีความจำเป็นมากแค่ไหน มีผลกระทบอะไรหรือไม่

เคลือบฟลูออไรด์ ในเด็กมีความจำเป็นมากแค่ไหน มีผลกระทบอะไรหรือไม่ การดูแลสุขภาพช่องปากนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ หากดูแลไม่ดีแล้วหละก็อาจส่งผลระยะยาวก็เป็นไปได้ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าฟลูออไรด์นั้นสำคัญต่อช่องปากของเรา และลูกน้อยของเราอย่างไร

 

ฟลูออไรด์ คือ?

ฟลูออไรด์ (Fluoride) เป็นแร่ธาตุที่ช่วยป้องกันฟันผุ สามารถพบได้ที่ฟันของเรา หรือตามแหล่งน้ำ และอาหารเสริม  นอกจากนี้ฟลูออไรด์ยังทำให้ฟันของเราแข็งแรง ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และลดผลกระทบที่เป็นอันตรายของคราบจุลินทรีย์ได้

 

หน้าที่ของฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก หรือวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากเด็ก ๆ ไม่ชอบแปรงฟัน หรือแปรงฟันไม่สะอาด แบคทีเรียในช่องปากของเราก็จำเข้าทำลายฟันของเราทีละน้อย หรือที่เรียกว่า ฟันผุ และอาจนำไปสู่ปัญหาทางช่องปากอย่างอื่น และทำให้สูญเสียฟันในที่สุด

 

ใครบ้างที่จำเป็นต้องได้รับฟลูออไรด์

ทันตแพทย์แนะนำให้ทุกเพศทุกวัยใช้ฟลูออไรด์ได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นครั้งแรก หรือสามารถใช้ได้ตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 6 เดือนเป็นต้นไป โดยใช้ในรูปแบบของยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันที่ทันตแพทย์แนะนำความมีความเข้มข้น 1000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ซึ่งเป็นปริมาณที่สามารถช่วยป้องกันฟันผุได้ อย่างไรก็ตามเราก็ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยด้วยเช่นกัน โดยมีการแบ่งไว้ ดังนี้

  • เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี ควรใช้ในปริมาณที่น้อย โดยคุณแม่จะต้องทำให้แปรงสีฟันเปียกก่อนบีบยาสีฟันเพียงเล็กน้อย และควรเช็ดฟองออกขณะที่แปรงฟันให้ลูก
  • เด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี ควรใช้ในปริมาณที่ความกว้างเท่ากับแปรงสีฟัน (ทั้งนี้ควรเลือกแปรงสีฟันให้เหมาะสมกับวัยของน้องด้วย)
  • เด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป และวัยผู้ใหญ่ ควรใช้ในปริมาณเท่ากับความยาวของแปรง (ทั้งนี้ควรเลือกแปรงสีฟันให้เหมาะสมกับวัย)

บทความที่น่าสนใจ : ทำยังไงให้ลูกแปรงฟัน? บอกลูกยังไงดีให้ลูกแปรงฟังทุกครั้งที่จำเป็น

 

เคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก

 

ทำไมถึงต้อง เคลือบฟลูออไรด์ ในเด็ก

ฟันผุ เป็นปัญหาสุขภาพทางช่องปากที่พบได้ทั่วทุกมุมของโลก ไม่เพียงแต่พบในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเด็ก ๆ ด้วย โดยพบถึง 60% ของเด็กทั่วโลก ซึ่งมักมีสาเหตุหลักมาจากการไม่แปรงฟัน และการแปรงฟันที่ไม่สะอาดนั่นเอง โดย Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ได้แบ่งเกณฑ์อายุของเด็กที่มีปัญหาด้านฟันผุไว้ ดังนี้

  • เด็กอายุ 2-5 ปี มากกว่า 25% มักพบฟันผุอย่างน้อย 1 ซี่
  • อายุ 12-15 ปี 50% มักพบฟันผุอย่างน้อย 1 ซี่
  • อายุ 16-19 มากกว่า 75% พบปัญหาฟันผุ

 

การเคลือบฟลูออไรด์ที่ฟัน

เคลือบฟลูออไรด์ ที่ฟันนั้นไม่มีข้อกำหนด หรือการศึกษาอย่างแน่ชัดว่าควรเริ่มทำ หรือเริ่ม หรือหยุด เคลือบฟลูออไรด์ ได้ตั้งแต่ หรือสิ้นสุดเมื่ออายุเท่าไหร่ แต่ทางทันตแพทย์ได้ศึกษาพฤติกรรมการทำทันตกรรมของเด็กพบว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปีนั้นมีโอกาสกลืนฟลูออไรด์ที่เคลือบอยู่ได้มาก จึงทำให้การเคลือบฟลูออไรด์นั้นเริ่มได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3 ปี จนถึงเด็กวัยรุ่นอายุประมาณ 15-16 ปี หรือบุคคลที่ทันตแพทย์เร่งเห็นว่ามีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุสูงก็ยังสามารถทำการเคลือบได้อยู่นั่นเอง

 

วิธีการการ เคลือบฟลูออไรด์

  1. ทันตแพทย์จะทำการเคลียร์ช่องปากให้สะอาดก่อนการเคลือบ
  2. ทันตแพทย์จะนำถาดใส่ฟลูออไรด์ (fluoride tray) ที่ด้วยในมีน้ำยาเคลือบฟลูออไรด์ที่มีลักษณะเหนียวข้นมาครอบที่ฟันของเรา
  3. ทิ้งน้ำยาเคลือบฟลูออไรด์ไว้ที่ฟัน 4-5 นาที ก่อนนำออก
  4. หลังจากที่นำน้ำยาออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะให้บ้วนฟลูออไรด์ออกจากปากจนหมด ทั้งนี้ห้ามบ้วนน้ำ ดื่มน้ำ และทานอาหารหลังจากเคลือบเสร็จเป็นระยะเวลา 30 นาที เนื่องจากการบ้วนน้ำ ดื่มน้ำ และทานอาหาร จะทำให้ฟลูออไรด์ที่เราเคลือบมานั้นหลุดนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : ฟันหน้าผุยกแผง! ปล่อยลูกดูดนมนอน ดูดนมมื้อดึก แม่แปรงฟันลูกไม่ดี คิดว่าแค่ฟันน้ำนม

 

เคลือบฟลูออไรด์เพื่อลดปัญหาฟันผุ

 

ข้อควรระวังสำหรับการ เคลือบฟลูออไรด์

  1. เกิดการฟลูออโรซิส หรือฟันตกกระ (Fluorosis)

ถึงแม้ว่าการเคลือบฟลูออไรด์นั้นจะช่วยป้องกันฟันผุได้ แต่หากได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไป หรือไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เพราะฟลูออไรด์นั้นก็เปรียบเสมือนวิตามิน และอาหารเสริมอื่น ๆ มีผลการศึกษาจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) พบว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี ที่ได้รับปริมาณฟลูออไรด์มากเกินไปเสี่ยงต่อการเกิดฟลูออโรซิส หรือฟันตกกระ (Fluorosis) อย่างรุนแรงได้ มีผลมาจากช่วงอายุต่ำกว่า 8 ปี เป็นช่วงที่ฟันกำลังพัฒนา การเคลือบฟลูออไรด์นั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนสี หรือเกิดจุดด่างดำบนฟันแท้ของเด็ก ๆ ได้ ซึ่งผลของการศึกษาพบว่า 94% มีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่อันตราย และรุนแรงมากนัก

  1. อาการเป็นพิษ

ในกรณีของการเคลือบฟลูออไรด์ มีโอกาสที่เด็ก ๆ จะได้รับปริมาณฟลูออไรด์ที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจำเป็นในระยะเวลาสั้น ๆ โดยมีรายงานว่าเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ซึ่งคิดเป็น 80% ของรายงานนั้นมีการแสดงอาการหลังจากได้ฟลูออไรด์ที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจำเป็น แต่ไม่รุนแรงมากนัก

 

สุดท้ายแล้ว การเคลือบฟลูออไรด์นั้นก็ขึ้นอยู่กับนิสัยการแปรงฟันของเด็ก ๆ แต่ละคน ถ้าหากเด็ก ๆ แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ และแปรงฟันได้อย่างสะอาด ก็มีโอกาสน้อยที่จะฟันผุ ซึ่งส่งผลทำให้ไม่ต้องเคลือบฟลูออไรด์ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามอยากให้คุณแม่หมั่นพาน้อง ๆ ไปหาคุณหมอทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อสุขภาพช่องปากของน้อง ๆ ในวัยกำลังเติบโตนะคะ

 

ที่มา : 1, 2, 3, 4

บทความจากพันธมิตร
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เคลือบฟลูออไรด์ ในเด็กมีความจำเป็นมากแค่ไหน มีผลกระทบอะไรหรือไม่
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

    ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

  • ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

    ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

    ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

  • ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

    ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ