X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทา ฟันตายในเด็ก อันตรายอย่างไร

บทความ 5 นาที
ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทา ฟันตายในเด็ก อันตรายอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงกำลังกังวลใจ เมื่อฟันของลูกน้อยกลายเป็นสีเทา อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่มีผู้ใหญ่เห็น หรืออยู่ดี ๆ ฟันลูกก็กลายเป็นแบบนี้ไปซะแล้ว หากอยากรู้ว่า ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม สาเหตุเกิดจากอะไร และจะมีวิธีรักษาหรือไม่ เรามาดูพร้อม ๆ กันเลยครับ

 

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม

ฟันที่เปลี่ยนเป็นสีเทา คือ ฟันตาย เรียกอีกอย่างว่าเนื้อในฟันตาย (Necrotic Pulp) เกิดขึ้นเมื่อเนื้อประสาทในฟันไม่มีเลือดไปเลี้ยง เนื้อเยื่อจึงตาย การมีฟันตายเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องได้รับการดูแลจากทันตแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะเมื่อมาถึงจุดนี้ โพรงประสาทฟันด้านในกลายเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะเป็นหนองติดเชื้อทำให้ปวด บวมทรมาน หน้าบวม อ้าปากได้น้อยลง จนถึงทานอาหารไม่ได้  หรือหากเป็นรุนแรงมาก ๆ เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและร่างกาย ทำให้มีอาการเจ็บป่วยได้ครับ 

 

สาเหตุที่ทำให้ฟันตาย

สำหรับเด็กแล้ว การที่ฟันตาย อาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก  หากปวดจนหน้าบวมมาก หรือฟันสีไม่สวยบางครั้งเด็ก ๆ ก็อาจรู้สึกอายได้ ซึ่งสาเหตุบางประการของการเกิดฟันตายในเด็ก ได้แก่

  • สาเหตุหลักส่วนใหญ่ของฟันตายในเด็ก มักเกิดจากการที่ฟันได้รับแรงกระแทก เช่น  หกล้มฟันกระแทก ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่มองเห็น แผลบาดเจ็บบางตำแหน่งบนร่างกาย ร่วมกับบาดแผลบริเวณใบหน้า หรือริมฝีปาก อาจสงสัยได้ว่า ลูกอาจหกล้ม หน้าหรือฟันกระแทกของแข็งได้ หากปล่อยไว้ ฟันที่ถูกกระแทกนั้น เส้นเลือดที่มาเลี้ยงฟันอาจฟันฉีกขาด ทำให้ฟันตาย เปลี่ยนเป็นสีเทา และอาจมีตุ่มหนองขึ้นได้ในเวลาต่อมา คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อตรวจอย่างละเอียด และทำการรักษาที่เหมาะสม
  • ฟันผุรุนแรง ทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จนถึงโพรงประสาทฟัน และไม่ได้รับการรักษา ทำให้การติดเชื้อลุกลามและทำให้ฟันตายได้  ฟันผุในเด็กนั้นสามารถป้องกันได้ด้วย การทำความสะอาดช่องปากที่ดี และการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ การสอนเด็ก ๆ รักษาความสะอาดในช่องอย่างสะอาด และถูกต้องนั้นช่วยได้มากเลยครับ
  • การจัดฟันแล้วฟันเคลื่อนตัวเร็วเกินไป ใช้แรงดึงฟันมากเกินไป ทำให้เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงฟันฉีกขาด ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟันตายได้เช่นกัน หากเป็นเด็กที่กำลังจัดฟันอยู่ ไม่ควรทำอย่างเร่งรีบจนเกินไป 
  • โรคเหงือก  (ปริทันต์) ปัญหาในช่องปากหลาย ๆ อย่างส่งผลต่อสุขภาพฟัน ซึ่งโรคเหงือกก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันโยก ฟันเป็นหนอง ปวดฟัน และทำให้ฟันตายได้
  • ฟันที่ไม่มีความสำคัญ เช่น ฟันคุด ฟันฝัง ฟันเกิน ฟันซ้อนที่ไม่สบ ฟันเหล่านี้จะกลายเป็นซีส เป็นหนอง ฟันผุ จนทะลุโพรงประสาทฟัน และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟันตาย 
  • ในบางกรณีที่ฟันซ้อนกันมาก ๆ เบียดกันจนทำความสะอาดได้ยาก ทำให้มีเศษอาหารติดบริเวณนั้น แปรงไม่ออกทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จนฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันโดยไม่รู้ตัว และยังปล่อยไว้ ไม่รีบทำการรักษา จนฟันตายและเปลี่ยนสีได้

 

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม

 

ปัญหาทั่วไปที่เกิดจากฟันตาย

ปัญหาที่ทำให้ฟันตายแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน และบางครั้งจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อฟันตาย แต่บางครั้งก็อาจจะไม่ปวด การป้องกันฟันตายที่ดีที่สุดคือการตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์เป็นประจำ จะได้พบสาเหตุก่อนตั้งแต่เนิ่น ๆ และรีบทำการรักษาก่อนจะมีอาการปวดฟันและลุกลามมากขึ้น   ส่วนอาการของฟันตาย ได้แก่

  • ฟันมีสีคล้ำ สีเทา บางครั้งเป็นสีเทาปนน้ำตาลเข้ม สีเทาปนดำ สีฟันคล้ำเป็นหนึ่งในอาการแรกสุดในเด็ก อาการนี้จะนำไปสู่อาการฟันตาย ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงฟัน เนื่องจากนี่เป็นอาการเริ่มแรก ยิ่งคุณพ่อคุณแม่พาลูกไปหาหมอฟันเร็วเท่าไหร่ โอกาสที่ผลการรักษาจะสำเร็จออกมาดีได้มากขึ้นเท่านั้น
  • การเคี้ยวอาหารได้ไม่สะดวก อาจเป็นอีกอาการเริ่มต้นของฟันตาย เพราะอาจมีอาการเสียวฟันแปล๊บ ๆ เป็นบางเวลา และทำให้รู้สึกไม่สบายในระหว่างการเคี้ยวอาหาร หรืออาจจะรู้สึกปวดฟันรุนแรงในระหว่างกัด บดเคี้ยวอาหารได้
  • เหงือกเป็นฝีหรือมีหนองออกมา ฟันตายอาจทำให้เหงือกเป็นฝีหรือหนอง หรือส่งกลิ่นเหม็นออกมาได้ 
  • เป็นฝีฟันเฉียบพลัน ฝีทำให้เกิดอาการปวดและบวมรุนแรงอาจจะทำให้หน้าบวมมาก อ้าปากได้น้อยลง กินอาหารลำบากก่อให้เกิดความเจ็บปวดระหว่างการเคี้ยวอาหาร
  • ฟันไร้ความรู้สึก ไม่ตอบสนองต่อความร้อนและเย็น เนื่องจากฟันตายแล้ว ฟันที่ตายแล้วจะไม่รู้สึกอะไรเลย เมื่อทันตแพทย์ทำการทดสอบความไวของความรู้สึกต่อความร้อนและความเย็น แต่จะยังสามารถปวดฟันได้ตอนที่กัดฟันหรือเคี้ยวอาหาร 
  • ความเจ็บปวด เป็นความเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีการปวดฟันโดยเฉพาะตอนกลางคืน การปวดนี้สามารถปลุกเด็ก ๆ ให้ตื่นขณะที่กำลังนอนหลับอยู่ก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัว ทรมานและสะเทือนใจสำหรับเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง : เชื้อราในปากทารก ฝ้าสีขาวในช่องปากลูก เป็นเชื้อรารักษาอย่างไรดี?

 

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม

 

การวินิจฉัยโรคฟันตาย

ฟันที่มีความไวต่อความรู้สึก หรือฟันสีดำไม่ได้หมายความว่าลูกของคุณเป็นฟันตายเสมอไป อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้เป็นอาการที่ต้องได้รับการดูแลจากทันตแพทย์เด็กทันที การวินิจฉัยที่เหมาะสม ต้องมีการตรวจอย่างละเอียด ได้แก่

  • เอกซเรย์ตรวจดูหลายจุดจากมุมต่าง ๆ
  • การทดสอบอุณหภูมิ
  • การทดสอบด้วยการคลำ
  • การทดสอบด้วยการเคาะฟัน
  • การทดสอบความมีชีวิตของฟัน

 

การรักษาฟันตาย

การรักษาฟันตาย ขั้นตอนและแผนการรักษาจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน และฟันแต่ละซี่ ควรปรึกษากับทันตแพทย์อย่างละเอียดและรอบคอบที่สุด เพื่อแผนการรักษาที่ดีและ สุขภาพฟันที่ดีของลูก การรักษาที่คนส่วนใหญ่เลือกทำ ได้แก่

  • การรักษารากฟัน 
  • การตัดโพรงประสาทฟัน
  • ครอบฟันเด็ก
  • การถอนฟัน (แผนการรักษาขึ้นกับดุลพินิจของทันตแพทย์ผู้วินิจฉัย)
  • ครอบฟันสีขาวครอบฟันที่ตายไปแล้ว ทั้งเสริมความแข็งแรงให้ฟันและเพื่อความสวยงามได้อีกด้วย (ในเด็กที่โตแล้ว)
  • การถอนฟัน และใส่ฟันปลอมหรือทำรากฟันเทียม (ในกรณีเด็กที่โตแล้ว แผนการรักษาขึ้นกับดุลพินิจของทันตแพทย์ผู้วินิจฉัย)

 

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทานั้นอันตรายจนอาจถึงขั้นสูญเสียฟันได้เลย เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นตรวจสอบฟันของลูกน้อยด้วยนะครับ บางครั้งเด็ก ๆ อาจหกล้ม ฟันกระแทกของแข็ง หรือมีฟันผุมาก แต่คุณพ่อคุณแม่มองไม่เห็น จนมาพบอีกที่กลายเป็นฟันสีคล้ำ ๆ หรือ ปวดฟันจนมีหนองแล้ว การตรวจสอบฟันลูกบ่อย ๆ ก็ช่วยให้พบอาการผิดปกติได้เร็ว และรักษาได้เร็วขึ้น มีโอกาสหายดี ผลการรักษาสำเร็จได้มากขึ้น นอกจากนี้การแปรงฟันอย่างสะอาด และถูกต้องก็สำคัญไม่แพ้กันครับ

 

หมอน็อบ

ทพ.ณัฐภัทร ภัทรพรเจริญ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 วิธีเลือก แปรงสีฟันเด็ก เลือกอย่างไรให้เหมาะกับวัยของลูก

ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

แปรงลิ้น ตอนแปรงฟันดีอย่างไร? สอนลูกแปรงลิ้น จำเป็นหรือไม่

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ทพ.ณัฐภัทร ภัทรพรเจริญ

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทา ฟันตายในเด็ก อันตรายอย่างไร
แชร์ :
  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ