X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ถอนฟันที่เด็ก ๆ มักกลัว ทำอย่างไรดีเมื่อลูกกลัว งอแงไม่ยอมไปถอนฟัน

บทความ 5 นาที
ถอนฟันที่เด็ก ๆ มักกลัว ทำอย่างไรดีเมื่อลูกกลัว งอแงไม่ยอมไปถอนฟันถอนฟันที่เด็ก ๆ มักกลัว ทำอย่างไรดีเมื่อลูกกลัว งอแงไม่ยอมไปถอนฟัน

ถอนฟัน คำสั้น ๆ ที่พูดเบา ๆ กับเด็กก็ทำให้พวกเขารู้สึกถึงความเจ็บปวด หรือความกังวลได้ แต่จะทำอย่างไรเมื่อคุณพ่อคุณแม่มีความจำเป็นต้องพาลูกไปหาหมอฟัน การเตรียมตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เด็กเกิดความผ่อนคลาย และมีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการรักษาที่กำลังจะมาถึง และอย่าลืมที่จะสอนวิธีการรักษาสุขภาพช่องปากให้เด็กเพื่อป้องกันฟันผุสาเหตุของการที่ต้องไปถอนฟัน

 

ทำไมเด็กจึงกลัวการ ถอนฟัน

ไม่แปลกที่เด็กเล็กจะกลัวการ ถอนฟัน เนื่องจากเป็นสิ่งหนึ่งในอีกหลายอย่างที่เด็กมักจะกลัว จากความไม่คุ้นเคยคนแปลกหน้าที่เรียกว่า “หมอ” เครื่องมือในห้องที่ใช้รักษา หรือการที่เด็กเข้าใจว่ามาหาหมอเพราะป่วยหนักเลยเกิดความกลัว รวมไปถึงการจินตนาการว่าการรักษาจะต้องมีความเจ็บปวดมากแน่ ๆ ปัญหาเหล่านี้มักเกิดจากความไม่เข้าใจของเด็ก ประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีเมื่อต้องไปหาหมอ คำบอกเล่าจากคนรอบตัว หรือการที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ได้เตรียมพร้อมให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการรักษามากพอนั่นเอง

 

เด็กฟันผุ ไม่ต้องรักษาด้วยการถอนฟันได้ไหม

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจใจอ่อน หรือลูกงอแงมากจนทำให้เกิดความลังเล หรือความสงสัยว่า เมื่อลูกปวดฟันฟันผุ ไม่ต้องรักษาด้วยการถอนฟันได้หรือไม่ คำตอบคือ “ไม่ได้” เนื่องจากหากปล่อยไว้ฟันที่ผุจะไม่ได้มีสภาพที่ดีขึ้น หากปล่อยให้แย่ลงจะยิ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคภายในช่องปากของเด็กได้ อาจนำพาไปสู่โรคร้ายอื่น ๆ ที่รุนแรงกว่า ดังนั้นหากฟันผุมากแล้วต้องทำการถอนก็ควรพาลูกไปถอนฟันออก แต่แน่นอนว่าต้องมีการเตรียมตัวเสียก่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกหกล้มฟันกระแทก ฟันหลุด ทำไงดี

 

ถอนฟัน 2

 

การเตรียมตัวก่อนพาลูกไปถอนฟัน

ก่อนการพาลูกไปถอนฟัน ต้องมีการทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมกับเด็กก่อน โดยหลักแล้วต้องสร้างทัศนคติที่ดีของการรักษาให้เด็กเห็น และพยายามอย่านำเรื่องการถอนฟันมาทำให้เด็กเกิดความกลัว หรือความกังวล ต้องระวังอย่าใช้วิธีการหลอกเด็กให้ไปหาหมอเด็ดขาด เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกไม่ดี และจะยิ่งฝังใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงต้องท่องไว้เสมอว่าต้องเตรียมพร้อมก่อนไปหาหมอเสมอ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

  • พยายามอย่าพูดถึงแง่ลบของการถอนฟัน : การพูดถึงความเจ็บปวดของการถอนฟัน หรือแสดงความเป็นกังวลอย่างมากต่อหน้าลูกเกี่ยวกับอาการความเจ็บปวด จะยิ่งทำให้ลูกสัมผัสได้ถึงความกังวลตามไปด้วย เป็นที่มาของความรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อเด็กต้องไปหาหมอ
  • ห้ามเอาเรื่องนี้มาขู่เด็ก : เด็กบางคนอาจดื้ออาจซนไปบ้าง จนคุณพ่อคุณแม่ต้องพูด หรือยกตัวอย่างให้ลูกเกิดความกลัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่น หากพูดว่า “ถ้าทำอีกจะพาไปหาหมอฟันนะ” คำพูดในลักษณะนี้จะทำให้เด็กเกิดความฝังใจ และคิดต่อไปเองว่าการไปหาหมอฟันเป็นสิ่งที่ไม่ดี
  • พูดคุยกับลูกในแง่บวก : ความจริงแล้วผู้ปกครองคงเข้าใจอยู่แล้วว่า การถอนฟันเป็นการรักษาที่หลายคนอาจไม่อยากพบเจอ แต่ด้วยเด็กที่ยังมีความกลัว ผู้ปกครองจึงควรสร้างความคิดแง่บวกต่อการรักษา เช่น บอกลูกว่าพอไปหาหมอแล้วจะปลอดภัยจากโรค หรือจะทำให้ฟันสวยขึ้น เป็นต้น
  • ห้ามหลอกเด็ก : การบอกว่าจะพาไปเที่ยว หรือพาไปตรวจฟันไม่ได้มีการรักษาใด ๆ อาจเป็นทางหนึ่งที่ได้ผล แต่เพียงครึ่งทางเท่านั้น เมื่อลูกรู้ว่าต้องทำการรักษาขึ้นมาจะยิ่งทำให้เด็กเกิดความกลัว และอาจไม่เชื่อใจอีกเลย วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
  • การพูดคุยทำความเข้าใจ : เด็กบางคนอาจมีความอยากรู้ อยากเข้าใจ ในสิ่งที่ตนเองกำลังจะพบเจอการบอกถึงเหตุ และผลในการเข้ารับการรักษาจึงสามารถทำได้ อาจถือโอกาสในการอธิบายว่าหากลูกไม่อยากไปหาหมอเพื่อรักษาอีก ต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง เป็นต้น

 

การพาเด็กไปทำการรักษาต้องทำการเตรียมความพร้อมในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น เด็กต้องอยู่ในสภาวะที่แข็งแรงไม่ได้เจ็บป่วยใด ๆ, ไม่มีแผลในช่องปาก, ให้เด็กทานอาหารก่อนมาทำการถอนฟัน 3 ชั่วโมงขึ้นไป, เตรียมชุดสำรองให้เด็กเผื่อต้องเปลี่ยน และควรพาเด็กเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการรักษา เป็นต้น

 

ถอนฟัน 3

 

ทำอย่างไรเมื่อต้องพาเด็กไป ถอนฟัน แต่เด็กยังกลัวอยู่

 

  • พาเด็กมาถึงสถานที่ทำการรักษาก่อนเวลา เพื่อให้เด็กได้เตรียมตัว มีเวลาพูดคุยกับเด็ก และทำความคุ้นเคยกับสถานที่
  • ควรมีคนไปกับเด็กมากกว่า 2 คน โดยต้องเป็นคนที่เด็กคุ้นเคยดี คงหนีไม่พ้นคุณพ่อคุณแม่ หรือคนในครอบครัว ให้มีคนดูแลเด็ก เพื่อให้อีกคนคุยกับหมอได้สะดวกขึ้น
  • ทำการพูดคุยให้เด็กเข้าใจ พร้อมกับปลอบ ให้กำลังใจ พูดชมเชยก่อนทำการรักษา และพยายามพูดถึงแง่ดีของการรักษา หากยิ่งรู้สาเหตุว่าทำไมลูกถึงกลัว หรือกลัวเพราะอะไร จะทำให้คุยได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  • ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปยังห้องรักษาเป็นเพื่อนลูกได้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ลดความกังวลของลูกได้ระหว่างทำการรักษาเช่นกัน
  • สุดท้ายแล้วหากทำทุกวิธีแต่เด็กยังคงกลัว และงอแง คุณหมอที่ทำการรักษาจะมีวิธีพูดคุยกล่อมเด็กให้เอง หรืออาจเสนอแนวทางที่สามารถทำให้การถอนฟันผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีของคุณหมอแต่ละท่านด้วย

 

ถอนฟัน 4

 

การรักษาสุขภาพช่องปากทำให้ลูกไม่ต้องเสี่ยงกับการถอนฟัน

การกล่อมเด็กที่กลัวการถอนฟันให้ไม่กลัว อาจยากกว่าการสอนให้เด็กรู้วิธีการรักษาสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง เพื่อลดโอกาสเกิดเชื้อโรคในช่องปาก สาเหตุที่ทำให้ฟันผุ ด้วยการสอนการแปรงฟันอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังสามารถเตรียมตัวให้เด็กคุ้นชินกับหมอฟันได้ด้วย เช่น การพาเด็กไปหาหมอฟันตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่ฟันขึ้น หรือพาไปตรวจฟันบ้างตามความเหมาะสม หรือตามที่หมอแนะนำปกติแล้วจะทุก ๆ 6 เดือน เนื่องจากหากพบความผิดปกติในช่องปากแต่เนิ่น ๆ จะสามารถป้องกันหรือรักษาได้ทันก่อนที่จะฟันผุ ทำให้ไม่จำเป็นต้องถอนฟันนั่นเอง แต่หากพบว่าลูกมีอาการปวดฟัน หรือเสียวฟันเพียงเล็กน้อยก็สามารถพามาตรวจก่อนได้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เหงือกเป็นหนอง ฟันผุมาก พรุนทั้งปาก เพราะลูกงอแงแม่ไม่อยากแปรงฟัน

 

การป้องกันสุขภาพช่องปากของเด็ก นับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย หากสุขภาพช่องปากของเด็กดีก็ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตามไปด้วย หรือหลังการพาลูกไป ถอนฟัน แล้วอาจพาเขาไปทำกิจกรรมสนุก ๆ หรือซื้อของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมไปถึงกล่าวคำชมก็ถือเป็นแนวทางที่ทำให้เด็กมีกำลังใจ คลายกังวลเมื่อมีเหตุจำเป็นในการมาหาหมอครั้งต่อ ๆ ไป

 

ที่มาข้อมูล : 1 2 3 4 5

 

บทความที่น่าสนใจ

ฟันทารกแรกเกิด ต้องถอนทิ้งหรือเก็บไว้ ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด อันตรายไหมคะหมอ

อันตรายจากการปล่อยให้ลูกฟันน้ำนมผุ ผลกระทบมากกว่าที่คุณคิด

ท้องแล้วฟันผุ มีผลต่อลูกในท้อง จริงหรือ?

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ถอนฟันที่เด็ก ๆ มักกลัว ทำอย่างไรดีเมื่อลูกกลัว งอแงไม่ยอมไปถอนฟัน
แชร์ :
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

app info
get app banner
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ