X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไง

บทความ 5 นาที
เด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไงเด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไง

หากลูก ๆ ของคุณแม่ชอบคายหรือพ่นอาหาร ลองอ่านคำแนะนำจากบทความนี้กันได้เลยค่ะ เรารวบรวมวิธีรับมือในแบบต่าง ๆ มาให้แล้วที่นี่ (รูปจาก shutterstock.com)

ทำไมเด็กชอบ คาย หรือ พ่นอาหาร ? จริง ๆ แล้วพฤติกรรมดังกล่าว เป็นสิ่งที่พบเจอได้ทั่วไป แต่ก็อาจจะมีคุณแม่หลาย ๆ คนที่กำลังทุกข์ใจ ว่าจะทำยังไงให้ลูกหยุดพ่นและคายอาหารดี วันนี้เราได้รวบรวมวิธีรับมือกับปัญหานี้มาให้คุณแม่แล้ว อยากรู้ว่ามีวิธีไหนบ้าง ติดตามอ่านได้จากที่นี่เลยค่ะ

 

ทำไมเด็กชอบคายอาหาร

สาเหตุที่เด็กชอบคายอาหาร อาจมาจากหลาย ๆ ปัจจัย เด็กบางคนคายอาหารเพราะยังไม่ชินกับลักษณะหรือรสชาติอาหารที่กำลังรับประทาน ในขณะที่เด็กบางคน ก็อาจคายอาหารออกมาเพราะอาหารมีชิ้นใหญ่เกินไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เด็ก ๆ จะเริ่มคายอาหาร แค่ในช่วงแรกที่เริ่มรับประทานธรรมดา ซึ่งหลังจากผ่านไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ เด็ก ๆ ก็จะเริ่มปรับตัวได้ แต่หากผ่านไปหลายสัปดาห์แล้ว เด็กยังคายหรือพ่นอาหารอยู่ ให้คุณแม่เข้าพบคุณหมอ เพื่อขอรับคำแนะนำที่เหมาะสมในการป้อนอาหารเด็ก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกสําลักอาหาร ปฐมพยาบาล อย่างไร ป้อนอาหารเด็กเล็ก ต้องระวัง! อาหารอันตราย

 

จะรับมือกับเด็กคายอาหารอย่างไร

เมื่อลูก ๆ เริ่มคายหรือพ่นอาหาร คุณแม่สามารถนำวิธีเหล่านี้ ไปใช้ได้

 

1. อย่าแสดงท่าทีตกใจ

หากลูก ๆ ของเราคายอาหารออกจากปาก คุณแม่ไม่ควรตกอกตกใจใหญ่โต เพราะเด็กทารกบางคน ชอบคายอาหารเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ หากเรานิ่งเสีย และทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เด็ก ๆ ก็จะรับรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้น ไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ใหญ่ได้ และเขาก็จะเลิกทำในที่สุด

 

2. ใจเย็นเอาไว้

การที่เด็ก ๆ คายอาหารบ่อย ๆ อาจทำให้คุณแม่รู้สึกโกรธหรือรำคาญ แต่ก็ให้ข่มใจเอาไว้ก่อน เพราะการโมโหเด็กไม่ช่วยอะไร เพราะเด็กทารก ยังไม่สามารถเข้าใจอารมณ์ของผู้ใหญ่ได้มากนัก การที่คุณแม่ตะคอกหรือขึ้นเสียงใส่เด็ก อาจทำให้เด็ก ๆ ชอบใจมากกว่าเดิม เพราะเขาอาจจะคิดว่าเรากำลังเล่นกับเขา และเขาก็อาจคิดว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสม ที่จะคายหรือพ่นอาหารออกมาแบบนั้น

 

เด็กคายอาหาร วิธีรับมือ 3

เด็ก ๆ คาย อาหาร อาจมีที่มาจากหลายสาเหตุ (รูปจาก shutterstock.com)

 

3. ค่อย ๆ บอกเขาอย่างใจเย็น

หากเด็ก ๆ โตพอที่จะเข้าใจในสิ่งที่คุณแม่พูดได้แล้ว ให้ค่อย ๆ อธิบายให้เด็กฟัง ว่าการพ่นหรือคายอาหารไม่เหมาะสมอย่างไรบ้าง แต่หากเด็ก ๆ ยังเล็กอยู่เกินกว่าจะเข้าใจ ให้อาศัยการออกท่าทางเพื่อให้เด็กเข้าใจ หรือพยายามใช้คำศัพท์ง่าย ๆ เพื่ออธิบายเด็ก โดยในช่วงแรก ๆ เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณแม่ต้องการบอก แต่ก็ให้ลองบอกซ้ำ ๆ บอกบ่อย ๆ จนกว่าเด็กจะเข้าใจ

 

4. ให้เด็ก ๆ ทำความสะอาดบริเวณที่คายอาหารออกมา

หากเด็ก ๆ อยู่ในวัยที่สามารถหยิบจับของเองได้ ให้สอนเขาทำความสะอาดบริเวณที่เขาทำสกปรก เพราะหากเด็กรับรู้ว่าการพ่นและคายอาหาร ทำให้เขาต้องมานั่งทำความสะอาดเอง เขาก็คงจะไม่กล้าพ่นและคายอาหารออกมาอีก

 

5. ใช้ของเล่นล่อใจ

การใช้ของเล่นล่อเด็ก เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลาย ๆ คนมักจะทำกัน หากทารกน้อยไม่ยอมกลืนข้าว แถมยังชอบพ่นคายข้าวออกมา ให้ลองหลอกล่อเด็ก ๆ ด้วยของเล่นที่เขาชอบตอนที่ป้อนอาหารเขาอยู่ก็ได้ วิธีนี้จะช่วยดึงความสนใจเด็ก และทำให้คุณแม่ป้อนอาหารเด็กได้ง่ายขึ้น

 

6. ให้เด็กลองกินอาหารด้วยตัวเอง

หากเด็กหยิบจับอะไรได้เองเเล้ว คุณแม่ควรให้เด็กใช้ช้อนตักอาหารเข้าปากเอง เพราะจะทำให้เขารู้สึกว่าได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ และคิดว่าการตักอาหารเข้าปากนั้น เป็นสิ่งที่ท้าทายและดูน่าทำสำหรับเขา จนลืมเรื่องคายอาหารไปสักพักใหญ่ ๆ เลย

บทความจากพันธมิตร
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ

 

เด็กคายอาหาร วิธีรับมือ 4

ลูก คาย อาหาร อาจเพราะรู้สึกเครียด และอึดอัด ที่แม่นั่งจ้องหน้ามากเกินไป (รูปจาก shutterstock.com)

 

7. เปลี่ยนเมนูอาหาร

หากเด็ก ๆ พ่นคายอาหารติดต่อกันไม่ยอมหยุด ก็อาจเป็นไปได้ว่าเขาไม่ชอบรสชาติของอาหาร หรือรูปร่างของอาหารอาจจะยังไม่ดึงดูดใจเขามากพอ ดังนั้น คุณแม่ควรหาเมนูใหม่ ๆ ให้เด็กลองทาน หรืออาจจะลองตกแต่งจานอาหารสวย ๆ ใส่ผักที่มีหลาย ๆ สีลงไปในจาน เพื่อดึงดูดใจเด็ก ๆ ให้เขารู้สึกอยากทานอาหารมากยิ่งขึ้น

 

8. อาหารชิ้นใหญ่เกินไป

บางทีอาหารที่อยู่ในจานอาจจะมีชิ้นใหญ่เกินไป จนเด็กไม่สามารถเคี้ยวเองได้ เด็ก ๆ ก็เลยคายอาหารออกมา ซึ่งคุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่าในจานอาหารของเด็ก มีอาหารอะไรที่ดูชิ้นใหญ่ไปบ้าง หากเด็กยังฟันขึ้นไม่ครบ ให้ทำเมนูที่ทานง่าย ๆ อย่างโจ๊ก ซุป หรือผักบดให้เด็กทานแทนจะดีกว่า

 

9. ยกจานอาหารไปไว้ที่อื่น

หากเด็กยังไม่เลิกคายอาหาร ให้คุณแม่ยกจานอาหารไปไว้ที่อื่นสักครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กรู้สึกหิว แล้วจึงเอากลับมาวางที่เดิม ทีนี้ ถ้าเด็กรู้สึกหิว โอกาสที่เด็กจะพ่นคายหรือเล่นกับอาหารก็คงจะมีน้อยลงแล้ว

 

10. ให้รางวัลเมื่อเด็กทำดี

ลองหาช่วงจังหวะที่เขาไม่พ่นอาหาร เพื่อให้คำชมหรือให้รางวัลกับเขา เพื่อให้เขารู้ว่า หากเขาตั้งใจรับประทานอาหารและไม่คายอาหารออกมา เขาก็จะได้รับคำชม และได้รับความสนใจจากคุณแม่ หากไม่มีรางวัลหรือขนมก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะแค่กอดหรือหอมเขา ก็ถือว่าเป็นรางวัลที่ดีที่สุดแล้ว

 

เด็กคายอาหาร วิธีรับมือ 2

ลูก ๆ คาย อาหาร ไม่ใช่เรื่องอันตราย อาจเป็นเพราะอาหารชิ้นใหญ่ไป หรืออาหารไม่ถูกปาก (รูปจาก shutterstock.com)

 

11. เปลี่ยนสถานที่รับประทานอาหาร

บางทีเด็กก็อาจจะรู้สึกเบื่อบรรยากาศเดิม ๆ ในบ้าน ก็เลยไม่อยากกินอะไร หากบ้านมีระเบียง ให้ลองพาเด็ก ๆ มานั่งกินอาหารชมธรรมชาติที่ระเบียงบ้านได้ เพราะบรรยากาศนอกบ้าน จะช่วยดึงดูดความสนใจ และทำให้เด็กละสายตาจากอาหาร จนลืมที่จะคายหรือพ่นอาหารออกมา ซึ่งนี่ จะทำให้คุณแม่ป้อนอาหารเด็กได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

12. ทำให้การทานอาหารเป็นเรื่องสนุก

ก็เป็นไปได้ที่เด็ก ๆ จะรู้สึกอึดอัดหรือเครียด ที่คุณแม่ต้องมานั่งจ้องหน้าตอนกินข้าว หากรู้สึกว่าเด็ก ๆ กำลังเครียด ให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศ ชวนเด็กเล่นของเล่น หรือจะให้เด็กเล่นเกมเล็ก ๆ น้อย ๆ ตอนทานอาหารไปด้วยก็ได้ เพื่อให้เขาผ่อนคลายมากขึ้นจนยอมกินข้าว

 

13. กินอาหารไปพร้อม ๆ กับลูก

ว่ากันว่าพ่อแม่เป็นยังไง เด็กก็เป็นอย่างนั้น ถ้าลูกพ่นอาหารไม่ยอมกินข้าว ให้คุณแม่กินข้าวไปกับน้อง ๆ ทำให้เขาเห็นว่าเมื่อกินข้าว ควรทำตัวยังไง เพื่อที่เขาจะได้ซึมซับพฤติกรรมและเลียนแบบในทางที่ดี

 

นอกจากคุณแม่จะต้องจัดการกับนิสัยชอบคายหรือพ่นอาหารของลูก ๆ แล้ว ในอนาคต ก็อาจจะต้องเจอกับหลาย ๆ พฤติกรรมแสนซนลูกอีกมากมาย แต่ก็อย่าเพิ่งเหนื่อยหรือท้อไปนะคะ เมื่อเกิดปัญหา ให้ค่อย ๆ พูดและอธิบายให้เด็ก ๆ ฟังอย่างใจเย็นจะดีกว่า เพื่อที่เขาจะได้เติบโตมาเป็นเด็กที่ไม่มีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือจิตใจ และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขนะคะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง
ลูกไม่ยอมกินข้าว ทำไงดี กินยากเหลือเกิน?
ฝึกลูกดูดนม ป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดนมอย่างไรถึงจะถูกวิธี

ที่มา : 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • เด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไง
แชร์ :
  • ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก มีไข้ ทำอย่างไรทารกแรกเกิดจะหายหวัด?

    ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก มีไข้ ทำอย่างไรทารกแรกเกิดจะหายหวัด?

  • เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค

    เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก มีไข้ ทำอย่างไรทารกแรกเกิดจะหายหวัด?

    ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก มีไข้ ทำอย่างไรทารกแรกเกิดจะหายหวัด?

  • เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค

    เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ