X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง

บทความ 5 นาที
ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง

ลูกร้อง แม่สามีบอกหิวข้าว ให้ป้อนเลย! ปัญหาทุกบ้าน เจอกันทุกครอบครัว พ่อผัว แม่สามี แนะนำวิธีเลี้ยงลูก อยากให้กินกล้วย กินข้าวตั้งแต่เล็ก

ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน

ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อที่เจอแทบทุกบ้าน แม่ ๆ จนใจ ร้องไห้ทุกวัน ความคิดเห็นไม่เคยตรงกัน กับแม่สามี

คุณแม่ท่านหนึ่งโพสต์ว่า แม่มีแอบร้องไห้ค่ะ คือลูกเราชอบร้องตอนหัวค่ำทุกวัน

แม่แฟนบอกว่า ลูกมึงร้อง มันอยากกินข้าว ป้อนมันเลย

คือเราไม่อยากป้อนเลย ลูกเพิ่ง 3 เดือน พออธิบายไปบอกเมียมึงอนามัยเกิน ถ้าลูกมึงกินข้าวจะใหญ่ กินอิ่มมันก็หลับ ขอความคิดเห็นหน่อยควรทำอย่างไรดี

ป้อนอาหารทารก

ป้อนอ าหารทารก

อันตราย! ป้อนอาหารทารกต่ำกว่า 6 เดือน

ก่อนอื่นมาดูอันตรายของการป้อนอาหารเสริมทารกก่อน 6 เดือน กันก่อนนะคะ พญ.ภณิดา แสวงศักดิ์ กุมารแพทย์ด้านโรคทางเดินอาหารและโรคตับในเด็ก ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 3 อธิบายถึงร่างกายทารกในช่วงอายุ 6 เดือนแรก ว่า ร่างกายของทารกเมื่ออายุต่ำกว่า 6 เดือน จะยังไม่พร้อมย่อยอาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนม โดยเฉพาะทารกในวัยต่ำกว่า 4 เดือน เพราะยังมีน้ำย่อยสำหรับย่อยแป้ง โปรตีน และไขมัน ไม่เพียงพอ ซึ่งน้ำย่อยนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 4-5 เดือน

ป้อนอาหารทารก

ป้อนอาหาร ทารก

อวัยวะของหนูยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์

พญ.ภณิดา ยังบอกด้วยว่า ไตของทารกแรกเกิดยังไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ดีเหมือนผู้ใหญ่ โดยอัตราการกรองของไตจะเพิ่มขึ้นตามอายุจนเท่าผู้ใหญ่ที่อายุ 2 ปี นอกจากนี้ ทารกอายุก่อน 4-6 เดือน ยังมีพฤติกรรมห่อปากและเอาลิ้นดุนอาหารออกมา ทำให้ไม่สามารถใช้ลิ้นช่วยตวัดเพื่อกลืนอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้

ทั้งนี้ ช่วงอายุ 6 เดือนแรกทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตจากน้ำนมแม่หรือนมดัดแปลงสำหรับทารกอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องป้อนน้ำตาม แต่สำหรับทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ทานน้ำหลังอาหารก็เพียงพอ โดยให้จิบจากแก้วนิดหน่อย

ป้อนอาหารทารก

ป้อนอาหารทารก

ลูกร้องกลางคืน

สาเหตุที่ลูกร้องงอแงตอนกลางคืน

  • หิว หากคุณแม่สงสัยว่าลูกร้องงอแงตอนกลางคืน เป็นเพราะนมไม่พอหรือเปล่า ให้สังเกตที่ฉี่ของลูก หากลูกฉี่ 6 ครั้งใน 1 วัน ถือว่าได้รับน้ำนมเพียงพอ หากลูกไม่ได้ทานนมแม่ แนะนำให้ลองเพิ่มปริมาณนมก่อนนอนให้มากขึ้น
  • ออกกำลังกายไม่เพียงพอ การที่ลูกร้องงอแงตอนกลางคืนอาจเป็นเพราะในช่วงกลางวันเขาไม่ได้เล่นออกกำลังกายมากพอ คุณแม่ควรลดเวลาทำงานอย่างอื่นแล้วมาเล่นกับลูกมากขึ้น เมื่อลูกได้เล่นตอนกลางวันมากขึ้น ช่วยให้ลูกเลิกร้องกวนตอนกลางคืนได้
  • แบ่งเวลานอนกลางวันไม่ดี เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกร้องกวนตอนกลางคืน และนอนตื่นสาย เช่น ตื่นนอนตอน 10 โมงเช้า แล้วนอนอีกครั้งตอนบ่าย 2 พอตกเย็นก็นอนอีกจนถึง 3 ทุ่ม เมื่อตื่นขึ้นมา จึงไม่ยอมนอน คุณแม่ควรพยายามไม่ให้ลูกนอนหลัง 6 โมงเย็น โดยการชวนลูกเล่น หรือพาออกไปเดินเที่ยวข้างนอก จะช่วยให้ลูกนอนหลับตอนกลางคืนได้ดีขึ้น
  • พยาธิเส้นด้ายที่ก้น ทำให้ลูกคันก้น และนอนไม่หลับตอนกลางคืน ในกรณีที่มีคนในบ้านเป็นพยาธิเส้นด้าย ควรนำอึของลูกไปตรวจเพื่อหาไข่พยาธิ
ป้อนอาหารทารก

ป้อนอาหารทารก

ลูกร้องโคลิคหรือเปล่า

อาการโคลิค (Colic) หรือโบราณเรียกว่า ร้องไห้ร้อยวัน เกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 5 เดือน

  1. เกิดขึ้นในทารกอายุน้อยกว่า 5 เดือน
  2. อาการร้องกวนมักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน ในช่วงเวลาเดิมซ้ำๆ ทุกวัน
  3. ร้องดังด้วยอาการคล้ายกับปวดท้อง มีอาการเกร็งท้อง มือ และงอขาเข้าหาตัว
  4. ร้องแล้วปลอบยาก ไม่สามารถป้องกันการร้องได้ และจะหยุดร้องไปเอง
  5. ระหว่างที่ไม่มีอาการร้องกวน เด็กดูมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี
shutterstock_128332097

baby feeding

วิธีแก้ลูกร้องโคลิค

วิธีบรรเทาอาการโคลิคของลูก ทำได้ดังนี้

  1. จดจำเวลาที่ลูกเริ่มร้อง ฉวยจังหวะก่อนถึงเวลานั้น อุ้มหนูน้อยในท่าพาดบ่า ท่านอนคว่ำบนท่อนแขน หรือกอดกระชับแนบอกจนได้ยินเสียงหัวใจแม่เต้น แล้วพาออกไปนั่งรถ เดินเล่นรอบบ้าน หรือนั่งบนเก้าอี้โยกเบาๆ
  2. การห่อหุ้มตัวทารกด้วยผ้าในลักษณะเลียนแบบการตั้งครรภ์ จะช่วยให้เด็กๆ รับรู้ถึงถึงความอบอุ่น ปลอดภัย
  3. คุณแม่ต้องสังเกตตัวเองด้วยว่าการดื่มกาแฟ น้ำอัดลม อาหารรสเผ็ดจัด อาจส่งผ่านไปทางน้ำนมสู่ลูก ลองงดอาหารเหล่านั้นดูราว 1 สัปดาห์ และสังเกตว่าลูกยังมีอาการร้องโคลิคอยู่หรือไม่
    อาบน้ำอุ่นให้หนูน้อย นวดท้องอย่างนุ่มนวลตามเข็มนาฬิกา โดยขณะนวดอย่าลืมพูดบอกรักเด็กๆ ไปด้วยนะคะ
  4. จับนั่งหรือทำให้เรอ บางครั้งท่าป้อนนม หรือจุกนมที่ไม่เหมาะสม ก็ทำให้เกิดลมในท้องของทารกได้ แม้ว่าการมีลมในท้องมากเกินไปจะไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของโคลิค แต่ก็จะทำให้เด็กๆ ร้องไห้เพราะอึดอัดนะคะ

 

ลองสังเกตอาการของลูกให้ดีว่า ที่ลูกร้องเป็นประจำนั้น เกิดจากความหิว ลูกร้องโคลิค หรือลูกกำลังเจ็บป่วย หากมีอาการอื่น ๆ ที่แม่มองว่า ผิดปกติ อย่านิ่งนอนใจ รีบพาลูกไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด

 

ถ้าแม่ ๆ กำลังกลุ้มใจ อยากได้คำแนะนำ อ่านเลย! รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

9 ของใช้เด็กแรกเกิด อะไรบ้างที่ต้องเตรียมให้พร้อม

ทารกไม่อุจจาระ ทารกท้องผูก วิธีแก้ ทำอย่างไรถึงจะช่วยทารกถ่ายได้

วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

00

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง
แชร์ :
  • ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า

    ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า

  • เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

    เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า

    ลูก 6 เดือน ยังไม่คว่ำ พัฒนาการช้าเกินไปไหม ผิดปกติหรือเปล่า

  • เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

    เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อลูกอายุ 6 เดือน

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ