ความผูกพันแม่-ลูก เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วินาทีที่รู้ว่ามีตัวอ่อนอยู่ในท้อง มันช่างเป็นความรู้สึกน่ามหัศจรรย์ เต็มไปด้วยความสุข ตื่นเต้น และความรัก สายใยแม่ลูกนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้เห็นหน้าแล้ว เชื่อว่าช่วงเวลาการตั้งครรภ์ 1-9 เดือน เป็นบทพิสูจน์ความอดทนของว่าที่คุณแม่มือใหม่ทุกคน ซึ่งสิ่งที่แม่ท้องต้องรู้นั้นไม่เพียงแค่เรื่องวิธีรับมือกับอาการแพ้ท้อง แท้งคุกคาม หรืออาหารการกินต่าง ๆ แต่ยังต้องรู้เท่าทันภาวะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น น้ำหนักตอนท้อง วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกในท้อง การหายใจตอนคลอดเพื่อลดความเจ็บปวด และอีกมากมายที่ล้วนสำคัญต่อสุขภาพของแม่และลูกในท้องที่จะเกิดมา
ลดโอกาส แท้งคุกคาม หรือความเสี่ยงตอนท้อง ต้องรับชมคลิป 40 เรื่องที่คนท้องต้องรู้ โดย theAsianparent และ The Selection
เพื่อให้การตั้งครรภ์ราบรื่น ปลอดภัย ปราศจากความเสี่ยงต่าง ๆ คุณแม่จึงจำเป็นต้องหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ยิ่งถ้าเป็นคำแนะนำของคุณหมอด้วยแล้วยิ่งทำให้คุณแม่มั่นใจมากขึ้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง น้ำหนักตอนท้อง ควรเพิ่มขึ้นเท่าไรถึงจะเหมาะสม ท่านอนที่ทำให้หลับสบายไม่อึดอัด ท้องนอกมดลูก แท้งคุกคาม รกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด ตลอดจนวิธีการเช็กสุขภาพลูกในท้องด้วยการ นับลูกดิ้น การเล่นกับลูกในท้อง ไปจนถึงการคลอด คุณแม่ควรจะเตรียมตัวด้วยการฝึกหายใจ วิธีการเร่งคลอด และสิ่งที่ต้องจัดใส่กระเป๋าเวลาไปโรงพยาบาล
theAsianparent และ The Selection เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดี ปลอดภัย ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ จึงร่วมกันจัดทำคลิปความรู้โดยได้ สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มาให้คำแนะนำถึงวิธีการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง นับตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ไปจนถึงคลอดลูก ในวิดีโอ 40 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ ที่ประกอบไปด้วยหัวข้อสำคัญที่คุณแม่สงสัย
บทความที่เกี่ยวข้อง : 40 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ วิดีโอแนะนำการตั้งครรภ์
โดยคลิปวิดีโอมีทั้งหมด 5 ชุดด้วยกัน สำหรับคลิปวิดีโอชุดนี้ เป็นเรื่องความรู้ทั่วไปสำหรับคุณแม่มือใหม่ แนะนำโดย โดย นพ.นิวัฒน์ อรัญญาเกษมสุข สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลพญาไท 2 เหมาะสำหรับคุณแม่ที่รู้ตัวแล้วว่ากำลังมีน้อง และได้ทำการฝากครรภ์เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งคุณแม่ควรดูแลตัวเองต่อไปอย่างไรบ้าง ไปดูรายละเอียดกันเลย!
น้ำหนักคนท้อง แต่ละไตรมาสควรเพิ่มขึ้นเท่าไรดี
คุณแม่ควรสังเกตน้ำหนักของตัวเอง ตั้งแต่วันแรกที่ตั้งครรภ์ไปจนถึงวันคลอด แต่ละไตรมาสควรมีน้ำหนักตามเกณฑ์ เพราะการทานน้อยหรือมากเกินไปจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกในท้องได้
0.20 ค่า BMI คืออะไร
0.52 ค่า BMI สำคัญอย่างไร
2.08 น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลอย่างไร
3.04 ควรทานอาหารเผื่อลูกในครรภ์หรือไม่
ท่านอนคนท้อง นอนท่าไหนหลับสบาย ไม่ปวดหลัง ไม่อึดอัด
ขนาดท้องที่ขยายใหญ่ขึ้นตามอายุครรภ์ ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด ไม่ว่าจะเอนตัวลงนอน ลุกนั่ง หรือแม้แต่เวลานอนก็ยังไม่สบายตัว คุณหมอจึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของคนท้องมาฝากกัน
00:22 คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรนอนท่าไหนบ้าง
01:20 นอนคว่ำแล้วจะทับลูกจริงหรือไม่
02:10 นอนตะแคงซ้ายดีต่อลูกจริงหรือไม่
03:23 เคล็ดลับในการนอนของคุณแม่ตั้งครรภ์
ท้องนอกมดลูก แท้งคุกคาม รกเกาะต่ำ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
วิธีบรรเทาหรือป้องกัน อาการแพ้ท้อง แท้งคุกคาม เลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ท้องนอกมดลูก รกเกาะต่ำ และอาการแบบไหนที่คุณแม่ควรมาพบแพทย์
00:21 ภาวะแทรกซ้อนในไตรมาส 1
02:22 ภาวะแทรกซ้อนในไตรมาส 2
ไตรมาสสุดท้ายระวัง! ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย
ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเฝ้าระวัง และสังเกตให้ดี เพราะหากเกิดขึ้นในช่วงท้องแก่ ไตรมาส 3 ก็อาจจะเกิดอันตรายต่อคุณแม่และลูกในท้องได้
00:21 ภาวะแทรกซ้อนในไตรมาส 3
01:50 คำแนะนำจากคุณหมอ
การนับลูกดิ้น ทารกในครรภ์เริ่มดิ้นตอนกี่เดือน วิธีนับลูกดิ้นที่ถูกต้อง
คุณหมอมักจะให้คุณแม่คอยสังเกตและนับการดิ้นของทารกในครรภ์ เพราะการดิ้นของทารกทำให้ทราบว่าลูกยังปกติดีหรือไม่ หากลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง ก็อาจเป็นสัญญาณอันตรายได้
00:20 การนับลูกดิ้นสำคัญอย่างไร
00:46 เริ่มนับลูกดิ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์เท่าไร
01:46 วิธีการนับลูกดิ้น ทำอย่างไร
คนท้องปวดฟัน ทำไงดี ขูดหินปูน อุดฟัน ทำฟัน ไตรมาสไหนดีที่สุด
คนท้องมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับ สุขภาพช่องปากและฟัน ไม่ว่าจะเป็น ปวดฟัน ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฟันกร่อน หรืออยากไปขูดหินปูน แต่การไปพบหมอฟันนั้นควรเลือกไปให้เหมาะสมกับช่วงอายุครรภ์ด้วย
02:20 ปัญหาสุขภาพปากและฟันของคนท้อง
01:30 คนท้องทำฟันได้ไหม
02:50 คนท้องปวดฟันควรทำอย่างไร
วิธีเล่นกับลูกในท้อง กระตุ้นสมอง ประสาทสัมผัส ช่วยให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในครรภ์
การเล่นกับลูกในท้องจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้เป็นอย่างดี เมื่อลูกคลอดออกมาก็จะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย ฉลาด แถมยังอารมณ์ดีอีกด้วย มาเริ่มส่องไฟกระตุ้น นวดสัมผัส เล่านิทานให้ลูกฟัง ตามคำแนะนำของคุณหมอกันเถอะ
00:20 คุณแม่สามารถเล่นกับทารกในครรภ์ได้เมื่อไร
01:37 วิธีเล่นกับลูกเพื่อพัฒนาประสาทสัมผัส
03:14 คำแนะนำจากคุณหมอ
จัดกระเป๋าเตรียมคลอด เอกสารสำคัญ ของใช้เด็กอ่อน ที่ต้องเตรียมไปโรงพยาบาล
ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดแบบ ผ่าคลอด หรือ คลอดธรรมชาติ ก็ต้องเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า มาดูกันว่า ของใช้เด็กอ่อน ที่จำเป็นต้องเอาไปโรงพยาบาลด้วยนั้นมีอะไรบ้าง เอกสารที่ต้องเตรียมไว้แจ้งเกิดลูก เมื่อฉุกเฉินจะได้หยิบกระเป๋าขึ้นรถไปได้เลยทันที
00:20 จัดกระเป๋าเตรียมตัวไปคลอด ควรเริ่มจัดเมื่อไร
01:04 ของสำคัญที่ต้องเตรียมไปคลอด มีอะไรบ้าง
02:54 คำแนะนำจากคุณหมอ
วิธีเร่งคลอด สำหรับการคลอดลูกธรรมชาติ ทำอย่างไร มีกี่วิธี
การเร่งคลอด คือการใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ทำให้เกิดการเจ็บท้องคลอดขึ้นมาในขณะที่คุณแม่ยังไม่มีการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติ ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้การวินิจฉัยของแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกในท้อง
00:22 กรณีใดบ้างที่ไม่แนะนำให้เร่งคลอด
01:18 วิธีการเร่งคลอดมีวิธีใดบ้าง
คลอดธรรมชาติ อายุครรภ์เกินกำหนดแต่ยังไม่เจ็บเตือน ต้องเร่งคลอด!
คุณแม่ท้องที่อายุครรภ์ 8 เดือนก็จะเริ่มมีการเจ็บท้องเตือนกันบ้าง แต่ก็มีหลายรายที่ใกล้จะครบกำหนดคลอด หรือเลยกำหนดคลอดแล้วยังไม่สัญญาณว่าจะคลอด ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตราย คุณหมอจึงจำเป็นต้องเร่งคลอดนั่นเอง
00:20 การเร่งคลอดคืออะไร สำคัญอย่างไรกับคนท้อง
00:56 อาการแบบไหนต้องเร่งคลอด
วิธีฝึกหายใจตอนคลอด เพื่อช่วยเบ่งคลอด ลดความเจ็บปวดขณะคลอดลูก
คุณแม่ควรเรียนรู้วิธีการ ฝึกควบคุมการหายใจ สำหรับใช้ในตอนคลอดลูก เพราะระยะเวลาที่เจ็บท้องคลอดนั้นกินเวลาหลายชั่วโมง การหายใจอย่างถูกวิธีจะช่วยคลายความเจ็บปวดลงได้
00:20 การฝึกหายใจตอนคลอดมีประโยชน์อย่างไร
00:59 ควรเริ่มฝึกหายใจตอนคลอดเมื่อไร
02:26 การหายใจแบบตื้น เร็ว เบา
02:59 การหายใจแบบตื้น เบา เป่าออก
03:30 การหายใจเพื่อการเบ่งคลอด
สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล พร้อมให้คำแนะนำในเรื่องที่คุณแม่ ๆ กังวลระหว่างตั้งครรภ์แบบเข้าใจง่ายภายในเวลา 3-5 นาที โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถตามไปชมคลิป 40 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ทั้งหมดได้ที่ช่อง YouTube ของ theAsianparent และ The Selection อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออยู่เสมอ และหากพบความผิดปกติใด ๆ ไม่แน่ใจว่าอันตรายหรือไม่ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุดนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คู่มือคุณแม่มือใหม่ คนท้องต้องรู้! วิธีดูแลสุขภาพครรภ์ เพื่อลูกในท้องเติบโตอย่างสมบูรณ์
คนท้องทำสีผมได้ไหม ฟอกสีผมตอนท้องอันตรายต่อทารกหรือไม่
ธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ แม่เป็น ธาลัสซีเมีย ลูกจะเป็นด้วยไหม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!