X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร? อันตรายต่อทารกหรือไม่?

บทความ 5 นาที
ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร? อันตรายต่อทารกหรือไม่?

ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์บางคน อาจประสบปัญหา ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ หนึ่งในอาการที่คุณแม่ท้องอ่อนเป็นกังวลไม่น้อย ว่าร่างกายของตัวเองจะมีความผิดปกติอะไรไหม ? กลัวว่าทารกในครรภ์จะเป็นอะไรหรือเปล่า ? วันนี้ TAP เราได้รวบรวมสาเหตุ อาการ และผลของการที่ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของคุณแม่ตั้งครรภ์มาให้แล้ว ไปดูกันเลย

 

ทำไมตกขาวถึงมีสีน้ำตาล?

สำหรับผู้หญิงทั่วไปแล้ว การมีตกขาวที่สีเปลี่ยนแปลงไปเป็นเรื่องน่ากังวลมาก เพราะอาจเป็นสัญญาณบางอย่างที่ร่างกายของเราต้องการจะบอก เรามาดูดีกว่า ทำไมตกขาวถึงกลายเป็นสีน้ำตาล

 

1. การเริ่มต้น หรือสิ้นสุดของการมีรอบเดือน

การมีประจำเดือนของผู้หญิงนั้น เป็นการที่มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด โดยทั่วไปแล้วจะมาเยอะ หรือน้อยก็ขึ้นอยู่แล้วแต่บุคคล ซึ่งปกติแล้วการที่ตกขาวกลายเป็นสีน้ำตาลนั้นมีสาเหตุมาจากปฏิกิริยาของช่องคลอดกับการมีประจำเดือน หรือการล้างช่องคลอดโดยวิธีธรรมชาติของร่างกายนั่นเอง

 

2. ฮอร์โมนไม่สมบูรณ์

บางครั้งการตกขาวสีน้ำตาลนั้นอาจเป็นการส่งสัญญาณถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนไหลเวียนไปยังบริเวณเยื่อบุต่าง ๆ ภายในช่องคลอดน้อยเกินไป ซึ่งนอกจากจะมีตกขาวสีน้ำตาลแล้วอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้

  • รู้สึกร้อนวูบวาบ
  • นอนไม่หลับ
  • อารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้า
  • ไม่มีสมาธิ
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • น้ำหนักขึ้น

 

ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ 2

 

3. ยาคุมกำเนิด

การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนแบบทาน หรือการทานยาคุมกำเนิดนั้นอาจทำให้เกิดตกขาวสีน้ำตาลได้ในช่วงเดือนแรกของการใช้ยา ซึ่งรวมถึงภาวะเลือดออกผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นบ่อย ๆ หากยาคุมที่คุณรับประทานมีส่วนผสมของเอสโตรเจนน้อยกว่า 35 ไมโครกรัม ซึ่งส่งผลถึงการมีประจำเดือน และถ้าการขาดช่วงของประจำนวนเดือนนานจนเกินไปก็อาจทำให้ร่างกาย และสีของตกขาวมีการเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นสีน้ำตาลได้

 

4. การตกไข่

โดยปกติแล้วการตกของไข่นั้นจะเป็นในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือนผู้หญิง ซึ่งเป็นช่วงที่ไข่จะเคลื่อนตัวออกจากรังไข่มาเพื่อรอการผสมกับอสุจิ ดังนั้นจึงทำให้ในแต่ละเดือนผู้หญิงมีโอกาสที่จะมีตกขาวสีน้ำตาล เนื้อจากการเคลื่อนตัวของไข่ และทำให้มีอาการอื่นรวม อาทิ ปวดท้องน้อย และอุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการช่วงไข่ตก เป็นอย่างไร นับวันตกไข่ยังไง ถึงจะมีลูก

 

5. ถุงน้ำในรังไข่

ซีสต์รังไข่ หรือถุงน้ำในรังไข่ เป็นการเกิดขึ้นของถุงของเหลวภายในรังไข่ ที่อาจมีการพัฒนาและขยายขนาดได้ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ที่ข้างใดข้างหนึ่งของมดลูก หรือทั้งสองข้าง นั่นส่งผลทำให้คุณเกิดอาการร่วมต่าง ๆ อาทิ ตกขาวสีน้ำตาลไปจนถึงความเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน

 

6. การติดเชื้อทางแพทย์สัมพันธ์ (STIs)

การติดเชื้อทางแพทย์สัมพันธ์ อาจทำให้เกิดตกขาวสีน้ำตาล หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดได้ ด้วยการติดเชื้อบางชนิด อาทิ โรคหนองใน หรือโรคหนองในเทียม ที่อาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่ในเวลาต่อมาจะมีอาการปวดอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ ปวดอุ้งเชิงกราน ตกขาวเปลี่ยนสี เป็นต้น

 

ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ 3

 

หากมีตกขาวสีน้ำตาลควรไปพบแพทย์หรือไม่?

ในหลายกรณี การที่ร่างกายของเรามีตกขาวที่เป็นสีน้ำตาลอาจเป็นเลือดเก่าที่ร่างกายได้ขับออกมาจากมดลูก เพื่อเป็นการชะล้างมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้น และวันท้ายของการมีรอบเดือนนั้น ๆ แต่ก็อย่าลืมที่จะสังเกตอาการร่วมอื่น ๆ เพิ่มเติมหากรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกาย หรือคุณควรที่จะเข้าพบแพทย์ในทันทีที่รู้สึกว่าไม่ใช่การตกขาวก่อนหรือหลังมีรอบเดือน เพราะว่าอาจกลายเป็นโรคที่ร้ายแรงได้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็คอย่างไรว่า อาการตกขาว แบบไหนที่ปกติ และแบบไหนที่ผิดปกติ

 

ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร?

สาเหตุที่คุณแม่ท้องอ่อนมีตกขาวสีน้ำตาลนั้นมักมาจากการระคายเคือง ฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้น และการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างของการตั้งครรภ์ทำให้ปากมดลูกนั้นเปราะบางมาก หรือการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ และการตรวจอุ้งเชิงกรานที่อาจกระทบรุนแรงก็สามารถส่งผลทำให้เกิดตกขาวสีน้ำตาลขึ้นได้ นอกจากนี้การพบตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ในช่วงระยะเวลาใกล้สิ้นสุดการตั้งครรภ์นั้น ถือเป็นสัญญาณเตือนบอกว่าคุณแม่ ใกล้คลอดแล้ว อีกไม่เกิน 2-3 สัปดาห์ หรือคุณแม่บางท่านอาจเป็น 2-3 วันก่อนที่ทารกจะคลอด นอกจากนี้คุณแม่ใกล้คลอดอาจมีอาการร่วมอย่างเลือดไหลออกจากช่องคลอด หรือมีเลือดปนออกมากับตกขาวนั่นเอง แต่ถ้าหากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่องของเลือดที่ไหลออกมานั้นให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที

 

สาเหตุของการเกิดตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์

คุณแม่ที่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์นั้นทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงการที่เกิดตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงของค่า pH บริเวณอวัยวะเพศของผู้หญิง อาจทำให้เกิดตกขาวในปริมาณเล็กน้อย และไม่ได้เป็นสาเหตุที่น่ากังวลมากนัก โดยการเกิดตกขาวสีน้ำตาลนั้นอาจเกิดขึ้นในช่วง 2-3 วัน และก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ

ดังนั้นจึงถือว่าเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และในบางครั้งอาจมีเลือดผสมปนอยู่ด้วยเล็กน้อย นั้นอาจเกิดจากการทำกิจกรรมทางกายต่าง ๆ ของคุณแม่ อาทิ ออกกำลังกาย ถือของหนัก ทำความสะอาดบ้านที่หักโหมจนเกินไป หรือการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น แต่หากพบว่ามีตกขาวนั้นส่งกลิ่นเหม็น หรือรู้สึกแสบร้อน คันในช่องคลอด อาจเป็นอาการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่ร้ายแรง ได้แก่

 

  • การติดเชื้อ เนื่องจากคุณแม่ที่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์นั้นมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากกว่าผู้หญิงปกติ
  • เสี่ยงต่อการแท้ง ส่วนใหญ่แล้วความเสี่ยงของการแท้งบุตรนั้นจะอยู่ในช่วงของทารกในครรภ์จะมีอายุครบ 10 สัปดาห์ โดยจะมีอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กะทันหัน และรวมถึงการมีของเหลวสีน้ำตาลไหล หรือสีแดงไหลออกมาจากช่องคลอด และมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ตะคริว หรืออาการปวดท้องน้อย มีลิ่มเลือดที่บริเวณช่องคลอด วิงเวียนศีรษะ หรือ เป็นลม
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นการที่ไข่ที่ถูกปฏิสนธิฝังเข้าไปในท่อนำไข่หรือในรังไข่ ช่องท้อง หรือปากมดลูก สิ่งนี้เรียกว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูก นอกจากการจำสีน้ำตาลแล้ว การตั้งครรภ์นอกมดลูกอาจทำให้มีอาการอื่นร่วม ได้แก่ ปวดบริเวณในช่องท้อง อุ้งเชิงกราน คอ และไหล่อย่างเฉียบพลัน ปวดอุ้งเชิงกรานข้างเดียว วิงเวียนศีรษะ หรือ เป็นลม
  • การติดเชื้อที่ปากมดลูก เมื่อปากมดลูกมีการอักเสบเกิดขึ้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม อย่างเช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย แพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น หรือฮอร์โมนขาดสมดุล เป็นต้น แม่ท้องอาจมีอาการดังนี้ มีตกขาวปริมาณมาก  และอาจมีกลิ่น ปวดท้องน้อย ปวดช่องคลอด ปวดหลัง หรือปวดขณะปัสสาวะ

ซึ่งเมื่อคุณสังเกตเห็นสีของตกขาวนั้นเปลี่ยนแปลงไป หรือหากมีอาการตะคริวที่ท้องที่รุนแรง มดลูกหดตัวเร็ว หรือปวดหลังอย่างรุนแรงให้รีบเข้าพบแพทย์ในทันที

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ 8

 

ทำอย่างไรเมื่อพบตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์?

หากคุณสังเกตเห็นตกขาวสีน้ำตาลหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ถือว่าเป็นปกติ ดังนั้นในช่วงหลังจากมีเพศสัมพันธ์คุณอาจใส่แผ่นอนามัยไว้เพื่อป้องกันการเลอะชั้นใน 1-2 วัน แต่ถ้าหากตกขาวของคุณเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือมีเลือดปะปนอยู่ในตกขาวหลังมีเพศสัมพันธ์มากกว่า 2-3 ครั้งต่อเดือน หรือมากกว่า 2 สัปดาห์ รวมถึงการที่ตกขาวมีกลิ่นฉุนรุนแรง และมีอาการตะคริวร่วมด้วยให้รีบเข้าพบแพทย์ในทันที เนื่องจากอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ หรืออาการอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่า เบื้องต้นแพทย์อาจมีการทำอัลตราซาวนด์บริเวณหน้าท้องและอุ้งเชิงกราน เพื่อให้แน่ใจว่าทารกในครรภ์นั้นมีพัฒนาการที่ปกติ และไม่มีอาการติดเชื้อ หากพบว่าทารกในครรภ์ไม่มีอันตรายใด ๆ แพทย์อาจรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ หรือยาอื่น ๆ  เพื่อกำจัดการ ติดเชื้อบริเวณช่องคลอด และให้คุณคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด รวมถึงการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้

 

มาฟังคุณหมอพูดกันบ้าง !

 

ถึงแม้ว่าการตกขาวสีน้ำตาลในช่วงไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือขณะตั้งครรภ์จะไม่ได้เป็นที่น่ากังวลมานัก และมีหนทางการรักษา แต่เราก็อยากให้ผู้หญิงทุกคนหมั่นดูแลและใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราให้มาก ๆ เพราะในบางครั้งอาจเป็นกุญแจสำคัญในการรู้เท่าทันโรคร้ายแรงที่กำลังจะคุกคามคุณก็ได้ค่ะ เพื่อสุขภาพครรภ์ และสุขภาพของตัวแม่ท้องเอง

 

 

UGC เขียนบทความออนไลน์แล้วได้เงิน

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มีตกขาวสีน้ำตาลคล้ำ ใช่น้ำคาวปลาหรือไม่ ? 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้

ตกขาวสีเขียว คืออะไร ? แล้วเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ?

ตกขาวมีกลิ่น ช่องคลอดเหม็นไม่ไหว แก้ไขได้ง่ายๆ ไม่ยาก

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร? อันตรายต่อทารกหรือไม่?
แชร์ :
  • โภชนาการที่แม่ท้องต้องรู้! โปรตีน คนท้อง ควรบริโภคเท่าไหร่ถึงจะดี

    โภชนาการที่แม่ท้องต้องรู้! โปรตีน คนท้อง ควรบริโภคเท่าไหร่ถึงจะดี

  • ทำอย่างไรดีเมื่อ คนท้องเหม็นอาหาร ทานข้าวไม่ค่อยได้ อันตรายต่อลูกไหม?

    ทำอย่างไรดีเมื่อ คนท้องเหม็นอาหาร ทานข้าวไม่ค่อยได้ อันตรายต่อลูกไหม?

  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

    คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

  • โภชนาการที่แม่ท้องต้องรู้! โปรตีน คนท้อง ควรบริโภคเท่าไหร่ถึงจะดี

    โภชนาการที่แม่ท้องต้องรู้! โปรตีน คนท้อง ควรบริโภคเท่าไหร่ถึงจะดี

  • ทำอย่างไรดีเมื่อ คนท้องเหม็นอาหาร ทานข้าวไม่ค่อยได้ อันตรายต่อลูกไหม?

    ทำอย่างไรดีเมื่อ คนท้องเหม็นอาหาร ทานข้าวไม่ค่อยได้ อันตรายต่อลูกไหม?

  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

    คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ