ใบเตย ใบเตยมีประโยชน์และสรรพคุณมากมายที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง หรือไม่เคยรู้มาก่อน วันนี้ theAsianparent นำประโยชน์และสรรพคุณของใบเตยมาฝาก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน
เตยหอม หรือ ใบเตย
ใบเตย ประโยชน์ของใบเตย
เตยหอม หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า ใบเตยชื่อสามัญ คือ Pandan leaves และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Pandanus amaryllifolius Roxb ใบเตยเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำหรือบริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย ขึ้นเป็นกอใบเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ ใบเป็นทางยาวสีเขียวมัน ใบเตยมีถิ่นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย ประเทศอินเดีย แอฟริกา และออสเตรเลีย
บทความที่เกี่ยวข้อง : “ใบเตย” แสนดีสำหรับแม่ท้องอย่างไร
ใบเตยมีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นว่าอะไรบ้าง ?
- ภาคกลาง และทั่วไป : เตย , ต้นเตย , ใบเตย (ทุกภาค) , เตยหอม , เตยหอมใหญ่ , เตยหอมเล็ก
- ภาคเหนือ : หวานข้าวใหม้
- ภาคใต้ และแถบมลายู : ปาแนะวองิง , ปาแง๊ะออริง , ปาแป๊ะออริง
- จีน : พังลั้ง
ลักษณะของใบเตยเป็นอย่างไร ?
- ลำต้น : เตยหรือเตยหอม เป็นพืชเลี้ยงเดี่ยว เป็นข้อสั้น ๆ โผล่จากดินเล็กน้อย ลำต้นสามารถแตกหน่อเป็นต้นใหม่ได้ ทำให้โดยรวมของต้น เป็นกอพุ่มใหญ่
- ใบ : แตกเป็นใบเดี่ยวรอบด้านลำต้น เรียงสลับกันเป็นเกลียว ปลายใบแหลมเหมือนดาบ แผ่นใบและขอบใบมีความเรียบ ใบจะส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา
- ดอก : เตยหรือเตยหอมเป็นพืชไม่ออกดอก
ใบเตยมีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร ?
- เตยหนาม : ต้นลำเจียก เตยทะเลลำ เตยหนามจะออกดอก และดอกจะมีกลิ่นหอม เตยหนามไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร ส่วนใหญ่เตยหยามจะนำไปใช้เครื่องจักสาน
- เตยไม่มีหนาม หรือ เตยหอม : ลักษณะจะมีลำต้นที่เล็ก ไม่มีดอก เตยหอมนิยมนำไปประกอบอาหาร หรือนำไปทำขนมหวาน
ใบเตยมีประโยชน์และสรรพคุณอย่างไร
- น้ำใบเตยช่วยบำรุงหัวใจ และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ
- ดื่มน้ำใบเตย จะช่วยดับกระหายคลายร้อนเป็นอย่างดี เนื่องจากน้ำใบเตยมีกลิ่นหอม เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะทำให้รู้สึกสดชื่น และผ่อนคลาย
- การดื่มน้ำใบเตยจะช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกาย
- ทำให้ร่างกายตื่นตัว สดชื่น
- คนที่มีธาตุไฟ การรับประทานอาหารที่ทำจากใบเตยจะทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบาย
- สารสกัดน้ำจากใบเตยจะช่วยลดประมาณความดันโลหิต
- บรรเทาอาการไข้และดับพิษร้อน
- ดับร้อนในร่างกาย ให้อุณหภูมิร่างกายเป็นปกติ
- ช่วยขับปัสสาวะ โดยการนำใบเตย 1 ต้น หรือรากครึ่งกำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่ม
- ใบเตยสดนำมาตำให้ละเอียด จะช่วยรักษาโรคผิวหนังได้
- ใบเตยสามารถนำมาแต่งกลิ่นอาหารให้มีกลิ่นหอม ไม่ว่าจะเป็น ขนมลอดช่อง ขนมชั้น เค้ก เป็นต้น
- นำใบเตยมาทุบให้พอแตก นำไปใส่ก้นสำหรับนึ่งขนม จะทำให้ขนมที่สุกแล้วมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ จากใบเตย
- ใบเตยสามารถนำมาลองก้นหวดข้าวเหนียว เมื่อข้าวเหนียวสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม
- สีเขียวของใบเตย เป็นสีเขียวคลอโรฟิลล์ สามารถนำสีมาแต่งกลิ่นขนมหรืออาหารได้
- ใบเตยช่วยทำให้น้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นหืน กลับมามีกลิ่นที่เหมือนใหม่ โดยการนำใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว ตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น
- ใบเตยสามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์สูตรบำรุงผิวหน้า โดยการล้างใบเตยให้สะอาดจากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนเนื้อละเอียด ลักษณะเนื้อที่ได้จะข้นและเหนียว นำมาพอกทิ้งไว้ 20 นาทีแล้วล้างออก
บทความที่เกี่ยวข้อง : ดอกมะลิ ดอกไม้แห่งวันแม่ ที่ซ่อนความหมายไว้มากมาย ประโยชน์ของดอกมะลิ
โทษของใบเตยมีอะไรบ้าง ?
- ใบเตยสด ๆ หากนำมาเคี้ยว กลิ่นที่หอมของใบเตย จะทำให้อาเจียนได้
- ถึงใบเตยจะเป็นพืชธรรมชาติ และในทางการแพทย์ไม่ได้ระบุว่าอันตราย แต่ก็ไม่ควรบริโภคเป็นเวลานานจนเกินไป
- ใครที่มีโรคประจำตัว หรือสตรีตั้งครรภ์ ก่อนบริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากใบเตย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากสารเคมีในใบเตยอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้
- หากนำใบเตยมีปรุงอาหาร ควรล้างใบเตยให้สะอาด อย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมปนไป อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้
วิธีทำน้ำใบเตยหอม น้ำใบเตยเพิ่มความสดชื่นแก่ร่างกาย
น้ำใบเตย วิธีทำน้ำจากใบเตย
ส่วนผสม :
- ใบเตยหั่น 2 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 5 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ 4 ถ้วย
- น้ำแข็งก้อน
วิธีทำ :
- นำใบเตยที่ไม่แก่มาก 5 – 10 ใบ ล้างในน้ำสะอาด แช่ด่างทับทิมประมาณ 5 – 10 นาที เพื่อให้ใบเตยสะอาด
- นำใบเตยตัดตามขวาง ก่อนนำมาปั่น แล้วนำใบเตยส่วนหนึ่งลงไปต้มในน้ำ พร้อมกับเติมน้ำตาลทราย ตามความชอบ นำน้ำที่ต้มมากรองเอากากออก
- เอาใบเตยอีกส่วนมาปั่นพร้อมเติมน้ำ กรองกากออกจนได้น้ำปั่นใบเตย นำน้ำกรองที่ได้เติมใส่หม้อที่กำลังอุ่น ทิ้งไว้ 1 – 2 นาที พักทิ้งไว้ให้เย็นตัวลง
- นำน้ำใบเตยที่ทำเสร็จแล้วใส่น้ำแข็ง แค่นี้ก็ได้น้ำใบเตยดื่มให้สดชื่นกันแล้ว
บทความที่เกี่ยวข้อง : มะลอกอ มีประโยชน์อย่างไร สรรพคุณของมะละกอมีอะไรบ้าง
ที่มา : disthai, medthai, rositacorrer
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!