X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กนอนหลับไม่สนิท ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้

บทความ 5 นาที
เด็กนอนหลับไม่สนิท ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้

เด็กนอนหลับไม่สนิท หรือภาวะหลับยากในเด็ก (Sleep problems in children) สามารถพบเจอได้ในเด็กทั่วไปทั้งจากความผิดปกติของร่างกาย และอาจเกิดจากนิสัยของเด็กเอง หากแก้ไขได้ถูกวิธีเด็กจะค่อย ๆ หายจากภาวะนี้ได้ในที่สุด แต่ต้องพึ่งการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อที่จะเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของเด็กที่ทำให้เกิด “ภาวะหลับยากในเด็ก”

 

ทำไม เด็กนอนหลับไม่สนิท ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดจากอะไร

ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุหลายปัจจัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือสภาพสิ่งแวดล้อม หากไม่หาวิธีแก้เด็กอาจติดนิสัยการนอนดึก นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กเอง และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอีกด้วย

 

เด็กนอนไม่หลับจากปัจจัยการเจ็บป่วยทางกาย

  • เด็กอาจมีอาการหวัดจากภูมิแพ้ : เด็กจะมีอาการคัดจมูก หายใจไม่ค่อยออก มีอาการคัน และมีน้ำมูก เกิดจากการแพ้อากาศ อาจต้องทานยาเพื่อให้อาการเบาลง แต่ยาบางชนิดอาจยิ่งส่งผลให้เด็กนอนไม่หลับจากฤทธิ์ยา  
  • หูชั้นกลางอักเสบ : อาการป่วยที่พบได้มากในเด็กคือหูชั้นกลางอักเสบ อาการมักจะเกิดขึ้นในช่วงกลางคืน ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่สบายหู ยากต่อการนอนหลับ อาจเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้เช่นกัน
  • โรคด้านผิวหนังส่งผลต่อการนอน : เด็กอาจป่วยเป็นโรคผิวหนังอักเสบ, อาการแพ้ผิวหนังในเด็ก ทำให้เกิดอาการคัน หรือเป็นผลข้างเคียงจากการรักษา หากเด็กเป็นโรคนี้จะทำให้มีโอกาสสูงที่จะทำให้หลับยากกว่าเด็กทั่วไป
  • อาการป่วยทั่วไป และโรคอื่น ๆ : อาการเป็นหวัดธรรมดาทั้งเป็นแล้วหาย หรือเป็นเรื้อรังบ่อยครั้ง ไปจนถึงโรคบางโรค เช่น โรคหืด โรคกรดไหลย้อน หรือโรคเบาหวานในเด็ก เป็นต้น โรคเหล่านี้จะทำให้เด็กหลับได้ยากจากอาการป่วย หรือฤทธิ์ยาที่ใช้รักษา

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความสำคัญในการนอนของเด็ก มีอะไรบ้าง ทำยังไงให้ลูกหลับสบายหายห่วง

 

เด็กนอนหลับไม่สนิท

 

เด็กนอนไม่หลับจากสภาวะทางจิตใจ และระบบประสาท

  • เด็กอาจคิดมากจนทำให้หลับยาก : ถึงจะยังเป็นเด็ก แต่การมีปัญหากวนใจก็สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน เด็กอาจรู้สึกไม่สบายใจ มีเรื่องกังวลทำให้ไม่อยากนอน เช่น โดนผู้ปกครองดุก่อนนอน ทะเลาะกับพี่น้อง หรือกังวลเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิด เช่น พรุ่งนี้ต้องไปหาหมอ เป็นต้น
  • อาจมีปัญหาที่ระบบประสาท : เด็กนอนไม่หลับหรือหลับยาก บางคนอาจเกิดจากปัญหาของระบบประสาท ที่มีการทำงานที่ผิดปกติ ส่งผลให้มีอาการชัก หรืออาการเกร็งกล้ามเนื้ออย่างควบคุมไม่ได้ในตอนกลางคืน
  • เด็กมีสมาธิสั้น : เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม หากเด็กมีสภาวะสมาธิสั้นจะส่งผลโดยตรงต่อการเกิดภาวะหลับยากในเด็กได้ นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดอาการหยุดหายใจ หนึ่งในสภาวะอันตรายที่เกิดขึ้นขณะเด็กหลับ

 

สภาวะหลับยากในเด็กจากปัจจัยอื่น ๆ

  • สภาพแวดล้อมในการนอน : การที่เด็กนอนหลับยาก ส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมในห้องนอน หรือพื้นที่ใกล้เคียงที่ไม่เอื้อต่อการนอนหลับ เช่น เสียงดังมากเกินไปไม่ว่าจะเสียงพูดคุย เสียงเพลง หรือเสียงทีวีจากห้องอื่นที่ดังมากเกิน ไปจนถึงอุณหภูมิห้องที่ไม่เหมาะสมร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป ควรให้ห้องมีอุณหภูมิประมาณ 24-26 องศาเซลเซียส
  • จากยาที่เด็กทานเพื่อรักษาโรค : ตัวยาบางชนิดส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น กลุ่มยารักษาอาการชัก, กลุ่มยาขยายหลอดลม เป็นต้น เนื่องจากยาเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทของเด็ก ทำให้หลับยากมากยิ่งขึ้น
  • อุปนิสัยของเด็กเอง : เด็กอาจไม่ได้มีปัญหาทั้งทางร่างกาย หรือจิตใจ แต่สภาวะหลับยากในเด็กอาจมาจากเด็กเองที่ไม่ชอบนอน หรือต้องทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อให้สามารถหลับได้ง่ายขึ้น โดยอาจติดนิสัยมาตั้งแต่ช่วงที่เด็กยังเล็กมาก ๆ นั่นเอง

 

เด็กนอนหลับไม่สนิท

 

ผลเสียที่ตามมาเมื่อเด็กนอนหลับยากกว่าปกติ

เด็กนอน ไม่พอจากภาวะหลับยากในเด็กสามารถส่งผลเสียหลายประการทั้งในระยะสั้น เช่น การเกิดโรคต่าง ๆ หรือพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กปกติ ไปจนถึงผลกระทบระยะยาว เช่น การติดเป็นนิสัยไปจนโตทำให้รักษา หรือแก้ไขได้ยากมากยิ่งขึ้น

  • ผลเสียด้านพัฒนาการ : เด็กนอน ไม่สนิทหรือหลับยากจนเป็นภาวะหลับยากในเด็ก ส่งผลเสียโดยตรงต่อพัฒนาการของเด็ก ในช่วงก่อนเข้าเรียนพัฒนาการด้านการเรียนรู้สำคัญมาก หากเด็กนอนหลับยาก แต่ต้องตื่นเช้าจะทำให้เด็กง่วงในตอนกลางวันส่งผลต่อโกรทฮอร์โมนโดยตรง และการเรียนรู้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • การทำงานของสมอง : เด็กก่อนเข้าเรียนต้องการเวลานอนประมาณ 11 ชั่วโมงต่อวัน หากนอนน้อยกว่าที่กำหนดบ่อยครั้ง จะส่งผลต่อการทำงานของสมองสังเกตได้จากการที่เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ไม่ค่อยมีสมาธิ หรือคิดช้า ทำช้า เป็นต้น
  • ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง : ในระหว่างที่เด็กนอน ร่างกายจะทำการหลั่งสารอินเตอร์ลิวคิน-1 (interleukin-1) เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน หากจำนวนชั่วโมงการนอนของเด็กน้อย อาจทำให้กระบวนการดังกล่าวมีปัญหาส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง
  • เสี่ยงโรคมากขึ้น : โดยเฉพาะโรคเบาหวานในเด็ก และโรคอ้วน เนื่องจากการนอนหลับจะทำให้ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ อาจทำให้มีความอยากอาหารมากขึ้น หากไม่มีคนควบคุมดูแล เด็กอาจกินแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิจัยชี้! เด็กนอนน้อยเสี่ยงพัฒนาการช้า อารมณ์ร้าย ผลการเรียนตกต่ำ

 

เด็กนอนหลับไม่สนิท

 

การแก้ปัญหา เด็กนอน ไม่สนิท เลี่ยงภาวะหลับยากในเด็ก

ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มการแก้ปัญหาภาวะหลับยากในเด็ก ต้องทำการหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการดังกล่าวเสียก่อน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด แต่อย่างไรก็ตามการฝึกให้เด็กมีพฤติกรรมการนอนที่ถูกต้องยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป 

  • ฝึกอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้องให้ลูก : การฝึกให้ลูกปฏิบัติตัวให้ถูกต้องก่อนนอนเป็นพื้นฐานที่สำคัญเนื่องจากเมื่อลูกโตขึ้นเขามักจะจดจำสิ่งที่ตัวเองทำเป็นประจำ ได้แก่ การให้อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าที่สบาย และนอนให้เป็นเวลาในทุก ๆ วัน
  • คอยพูดคุยกับเด็กเมื่อมีโอกาส : บางครั้งเด็กอาจมีเรื่องกังวลใจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนอนได้ การคอยถามไถ่ถึงความรู้สึก หรือเมื่อสังเกตว่าลูกไม่สบายใจให้เข้าไปพูดคุยแนะนำอย่างเป็นกันเอง เพื่อให้เขาผ่อนคลาย และไม่ต้องเก็บไปคิดต่อในเวลานอน
  • สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการนอน : เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ควรปรับแก้ให้เด็กได้หลับได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นเสียงทีวีให้ลดน้อยลง การไม่เปิดเพลงดัง และปรับอุณหภูมิในห้องให้พอดี เป็นต้น
  • ระวังเรื่องอาการเจ็บป่วย : คอยสังเกตอาการเจ็บป่วยของลูก หากพบอาการที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคภูมิแพ้ หรือหูชั้นกลางอักเสบ รวมไปถึงอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควรรีบพาไปหาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษา รวมไปถึงการจัดเก็บของภายในบ้านที่เป็นอันตราย หรือเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อโรคต่อเด็ก ไม่ให้เด็กสามารถหยิบไปเล่นได้

 

หากอาการของเด็กหนักขึ้น หรือพบเจออาการป่วยที่รุนแรง ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด เนื่องจากความผิดปกติบางอย่างหากปล่อยทิ้งไว้อาจมีอันตรายอย่างมากต่อตัวของเด็กเอง

 

ที่มาข้อมูล : 1 2

 

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

บทความที่น่าสนใจ

การนอนกลางวันช่วยพัฒนาความจำของเด็ก

ลูกนอนหลับดีตลอดคืน จะส่งผลต่อสมองและพัฒนาการร่างกายอย่างไร

การนอนของเด็ก แต่ละช่วงวัย ตั้งแต่ทารกจนวัยเรียน สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ ห้ามทำกับลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • เด็กนอนหลับไม่สนิท ภาวะหลับยากในเด็ก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้
แชร์ :
  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

    คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

    คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ