ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเสส แอมเฮิร์ส ได้ทำการศึกษาเด็ก 40 คน อายุ 3-5 ปี โดยสรุปออกมาว่าเด็กวัยนี้จะเรียนรู้และจำได้ดีกว่าเมื่อเขาได้นอนตอนกลางวัน นอนกลางวัน ช่วงหลังทานข้าวประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งความสามารถในการจดจำนี้นอกจากจะดีขึ้นในช่วงหลังการนอนกลางวันของวันนั้นแล้ว ยังทำให้เด็กจำได้ดีในวันถัดไปด้วย ซึ่งเป็นการตอบคำถามว่า “พัฒนาเด็กนอนกลางวัน” เป็นอย่างไร
นอนกลางวัน ดีอย่างไร
นักวิจัยกล่าวว่า การนอนกลางวันเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กมีกระบวนการด้านความจำดี การมองและการเคลื่อนไหวก็ดีกว่า นอกจากนั้นการประมวลข้อมูลของสมองก็ดีขึ้นด้วย
โรงเรียนอนุบาลหลายแห่งก็ยังคงถกเถียงหาข้อสรุปอยู่ว่าควรให้เด็กนอนกลางวันหรือไม่ ซึ่งผลการวิจัยนี้ก็จะช่วยเพิ่มน้ำหนักของการให้เด็กนอนกลางวันมากขึ้น
ผลการวิจัยชี้ว่าเด็กที่ได้นอนกลางวันจะสามารถจำได้ 10% มากกว่าเด็กที่ไม่ได้นอน
ในช่วงเวลานอนสมองจะทำงาน เพื่อเสริมทักษะในการกระตุ้นความจำ สร้างการเรียนรู้ และทักษะการแก้ปัญหา การได้นอนหลับที่ดีและเพียงพอจะช่วยให้ลูกสนใจจดจ่อ ในการเรียนที่โรงเรียน มีความสามารถที่จะตัดสินใจและมีความคิดสร้างสรรค์
แต่จะเกิดอะไรขึ้น…เมื่อลูกน้อยไม่ได้รับการนอนหลับที่เพียงพอ แน่นอนผลลัพธ์ที่คุณพ่อคุณแม่เห็นก็คือ ภาวะขาดการนอนหลับ อาการสะลึมสะลือ ไม่สดชื่น แต่ความจริงแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะประหลาดใจถ้ารู้ว่า ผลกระทบของมันจะค่อนข้างร้ายแรงต่อสุขภาพและความสุขของลูกน้อย
วิดีโอจาก : Dek Noi Montessori
ความจริง VS ความเชื่อ ? นอนไม่พอตอนเด็ก เสี่ยงเกิดโรคตอนโต
แน่นอนว่า เราทุกคนล้วนทราบดีถึงประโยชน์ของการนอนหลับที่เพียงพอต่อสุขภาพร่างกายของเด็ก ซึ่งมีอยู่มากมาย ดร.ไมเคิล ลิม ที่ปรึกษาแผนกกุมารเวชกรรมโรคปอดเด็กและการนอนหลับ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้สรุปผลเสียของการนอนไม่เพียงพอ หรือภาวะการอดนอนของเด็กดังนี้
- การนอนหลับเพียงพอจะส่งเสริมการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเด็ก เมื่อลูกน้อยอยู่ในช่วงการนอนหลับลึก ฮอร์โมนจะถูกปล่อยออกมาซึ่งไม่เพียงแต่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายของลูกแล้ว แต่ยังช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และช่วยในการซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อด้วย
- การนอนหลับจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กคงอยู่ในสภาพที่ดี การขาดการนอนหลับจะมีผลกระทบในเชิงลบกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ช่วงเวลาการนอนของเด็กไม่ใช่แค่การพักผ่อน แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่มีการซ่อมแซมหัวใจและหลอดเลือดของเด็ก ดังนั้น การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ความเสี่ยง ของการเกิดโรคหัวใจและโรคไต ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่
- การนอนหลับจะช่วยให้เด็กรักษาสมดุลของฮอร์โมนที่ทำให้เขารู้สึกหิว (ghrelin) หรืออิ่ม (leptin) เมื่อลูกของคุณนอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้เขารู้สึกหิวมากกว่าตอนที่เขาได้รับการนอนหลับที่เพียงพอ และนี่อาจนำไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องอาหารในอนาคต เช่น โรคอ้วน
กล่าวโดยสรุป ก็คือ “การนอนหลับ” อย่างเพียงพอ จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางสมองของลูกน้อย เพราะในช่วงที่ร่างกายมีการหลับลึก จะสร้างฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองในการเรียนรู้ จดจำ เรียบเรียงความคิด และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว อันเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการของสมองที่ดี
บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 10 ผ้าปูที่นอน เหมาะกับเด็กวัยกำลังโต เพื่อการพักผ่อนที่ดีที่สุดของลูกน้อย
5 ตัวช่วยสำคัญ ให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่า ลูกน้อยได้รับการนอนหลับที่เพียงพอ
- มีเคล็ดลับหลายอย่างที่สามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่แน่ใจว่า ลูกรักได้รับการนอนหลับที่มีคุณภาพในแต่ละคืน และสามารถนอนหลับได้เร็วขึ้น แต่เคล็ดลับที่ดีที่สุดก็คือ การให้ลูกได้ทานนมแม่ก่อนนอนค่ะ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารหลัก เช่น คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน รวมทั้ง “แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” ซึ่งเป็นเวย์โปรตีนในน้ำนมแม่ที่ให้กรดอะมิโนจำเป็น ชื่อ “ทริปโตเฟน” ช่วยสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในควบคุมการนอนหลับ โดยร่นระยะเวลานอน ให้หลับได้เร็วขึ้น2 จากการศึกษาของ Cubero, et. Al. พบว่า เด็กที่กินนมแม่จะนอนหลับได้ดีกว่า เนื่องจากนมแม่มีระดับทริปโตเฟนในช่วงกลางคืนสูงกว่าในช่วงกลางวัน ขณะที่เด็กกินนมผสมจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะหลับ
- เรื่องของสภาพแวดล้อมการนอนหลับของเด็กก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันค่ะ เพียงคุณพ่อคุณแม่รักษาอุณหภูมิห้องนอน ให้เย็นสบาย เงียบสงบ และมืด ก็จะช่วยให้เด็กๆ นอนหลับได้ง่ายขึ้นค่ะ
- สร้างกิจวัตรประจําวันที่จะช่วยให้ลูกๆ ของคุณผ่อนคลายก่อนนอน เช่น การอ่านหนังสือนิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง หรือร้องเพลงกล่อมเบาๆ
- สร้างวินัยเวลาเข้านอนและเวลาตื่นนอนอย่างเคร่งครัดเป็นประจำวันทุกวัน (รวมทั้งสุดสัปดาห์และวันหยุด)
- ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยใช้เวลางีบหลับในตอนกลางวันมากเกินไป เพราะจะทำให้ลูกหลับได้ยากขึ้นช่วงกลางคืน
ข้อแนะนํา ชั่วโมงการนอนหลับที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิด – 6 ปี
คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิกเฉยเกี่ยวกับการนอนหลับของลูกนะคะ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณได้รับการนอนหลับเหมาะสมเพียงพอ เพราะการนอนไม่พอ..อาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกๆ ได้

เด็กควรนอนหลับ วันละกี่ชั่วโมง?
การนอน ถือว่าเป็น 1 ในสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพของตัวเอง และยิ่งในวัยเด็กแล้ว การนอนถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ว่าจะทั้งสุขภาพ พัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กๆ ด้วย และวันนี้เรามาสำรวจกันค่ะว่า เด็กในแต่ละช่วงอายุควรจะนอนประมาณเท่าไหร่กันบ้าง
เด็กแรกเกิด – 6 เดือน
สำหรับทารกควรนอนประมาณ 14-18 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเด็กจะตื่นขึ้นทุกๆ 1 ถึง 3 ชั่วโมง จนกระทั่งอายุ 4 เดือน การนอนของเด็กก็จะเริ่มเป็นเวลามากขึ้น ซึ่งเด็กเล็กส่วนใหญ่จะนอนตอนกลางคืนประมาณ 9-12 ชั่วโมง และถูกปลุกมากินอาหาร และ จะนอนกลางวันประมาณ 3 ครั้ง และใช้เวลาประมาณ 30 นาที – 2 ชั่วโมงในแต่ละการนอน
6 – 12 เดือน
สำหรับเด็กอายุ 6 – 12 เดือน จะหลับประมาณ 14 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งรวมการนอนสั้นๆ ระหว่างวัน 2 ครั้ง ซึ่งจะนอนประมาณ 20 นาที หรือบางคนก็จะประมาณชั่วโมง ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มเจอความวิตกกังวลระหว่างนอนจนเป็นสาเหตุในการถูกรบกวนเวลานอนก็ได้นะ

1 – 3 ขวบ
สำหรับเด็กวัยหัดเดินต้องนอนประมาณ 12-14 ชั่วโมงต่อวัน โดยที่รวมการนอนกลางวันประมาณ 1 ถึง 3 ชั่วโมง สำหรับเด็กบางคนอาจจะยังอยากงีบ 2 ครั้งแต่การงีบดังกล่าว ก็ไม่ควรใกล้เวลานอนมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เด็กนอนหลับได้ยากขึ้นด้วย
3 – 5 ขวบ
สำหรับเด็กในวัยนี้จะนอนตอนกลางคืนประมาณ 11-12 ชั่วโมงรวมการนอนกลางวันแล้ว และจะเลิกนอนกลางวันตอนอายุ 5 ขวบ
5 – 12 ขวบ
สำหรับเด็กวัยกำลังเรียนจะนอนประมาณ 10-11 ชั่วโมงต่อคืน และในเด็ก 5 ขวบบางคนยังอาจจะต้องมีการนอนกลางวันบ้าง และถ้าการไม่สามารถงีบระหว่างวันได้ เด็กๆ อาจจะต้องเข้านอนเร็วขึ้นนั่นเอง
พัฒนาเด็กนอนกลางวัน เป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามไป การให้เด็กได้นอนในเวลาดังกล่าวมีความสำคัญ และส่งผลโดยตรงต่อพัฒนาการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ร้านอาหารสำหรับคุณหนู ๆ
ช่วยลูกปรับตัวเข้าโรงเรียนนานาชาติ
สมองเสื่อมเพราะเสพติดจอ
ที่มาข้อมูล : 1
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!