X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หูชั้นกลางอักเสบ โรคที่พบบ่อยในเด็ก

บทความ 3 นาที
หูชั้นกลางอักเสบ โรคที่พบบ่อยในเด็ก

น้องเปิ้ลอายุ 4 ปีครึ่ง เป็นหวัด คัดจมูก มีน้ำมูกเยอะมา 1 สัปดาห์ วันนี้บ่นปวดหูขวามาก คุณพ่อจึงพามาโรงพยาบาล และให้ประวัติเพิ่มเติมว่า หลายๆ ครั้งที่เป็นหวัด น้องเปิ้ลจะบ่นปวดหู และมีหูอักเสบตามมา ต้องทานยาปฏิชีวนะบ่อยๆ หลังจากที่หมอได้ถามประวัติเพิ่มเติมและตรวจร่างกายแล้ว ก็พบว่า น้องเปิ้ลน่าจะมีอาการของหูชั้นกลางอักเสบค่ะ

หูชั้นกลางอักเสบ คืออะไร?

หูชั้นกลางอักเสบ คือ ภาวะที่มีการติดเชื้อและการอักเสบของหูชั้นกลาง ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

หูของเรา มี 3 ชั้น คือ ชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ระหว่างหูชั้นกลาง และช่องจมูกด้านหลัง จะมีท่อซึ่งทำหน้าที่ปรับความดันระหว่างช่องหูกับอากาศภายนอก และป้องกันไม่ให้น้ำลายและน้ำมูกไหลย้อนเข้าไปในหูชั้นกลางได้ ชื่อว่า “ท่อยูสเตเชียน” (Eustachian tube) ซึ่งมีความสำคัญในกลไกการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ

สาเหตุที่ทำให้หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากอะไรบ้าง?

หูชั้นกลางอักเสบ มักจะเกิดตามหลังจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน จากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย เกิดการบวมของท่อยูสเตเชียน ทำให้เชื้อโรคที่อยู่บริเวณโพรงจมูก กระจายเข้าหูชั้นกลาง เกิดหูชั้นกลางอักเสบได้

นอกจากนี้ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และ ต่อมอะดีนอยด์โต ซึ่งทำให้เกิดการบวมบริเวณปากรูเปิดของท่อยูสเตเชียน ทำให้เกิดการอุดตันของท่อ ก็ทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ หรือในเด็กที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดเพดานโหว่ จะเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้บ่อยกว่าเด็กปกติ เพราะมักจะมีการทำงานผิดปกติของท่อยูสเตเซียนร่วมด้วย

นอกจากนี้ มีการศึกษาที่พบว่า เด็กที่ดูดนมขวด ที่นอนบนพื้นราบ จะมีโอกาสเกิดหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าทานนมแม่ อาจเป็นเพราะ ต้องใช้แรงดูดมากกว่า และการนอนบนพื้นราบ ทำให้เกิดการไหลย้อนของนมเข้าไปใน ท่อยูสเตเชียน ได้ง่ายกว่า

เพราะเหตุใดเด็ก ๆ จึงเป็นหูชั้นกลางอักเสบ มากกว่าผู้ใหญ่?

เนื่องจากในเด็ก ท่อยูสเตเชียนซึ่งทำหน้าที่ปรับความดันภายในหู อยู่ระหว่างหูชั้นกลางและช่องจมูกด้านหลัง จะมีขนาดเล็ก สั้น และตำแหน่งอยู่ในแนวที่ราบมากกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเป็นไข้หวัด มีการติดเชื้อในโพรงจมูก เชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปสู่หูชั้นกลางได้ง่ายกว่าในผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสที่จะเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้มากกว่าผู้ใหญ่นั่นเองค่ะ

อาการของหูชั้นกลางอักเสบเป็นอย่างไร?

เด็กโตที่มีหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน จะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหู ส่วนในเด็กเล็กๆ อาจสังเกตได้จาก การเอามือดึงใบหู ร่วมกับอาการ ไข้สูง ร้องกวนงอแง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หากมีการอักเสบมากขึ้นจะเกิด “แก้วหูทะลุ” จะทำให้อาการปวดหูหายไปแต่จะมีน้ำหนองไหลจากช่องหู

โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเด็ก ๆ จะมีอาการ หูอื้อ หรือ มีการได้ยินลดลง พูดเสียงดังขึ้น เรียกชื่อก็จะไม่ค่อยได้ยิน หรือเปิดโทรทัศน์เสียงดัง ๆ

คุณหมอจะวินิจฉัยโรคหูชั้นกลางอักเสบได้อย่างไร?

คุณหมอจะวินิจฉัยโรคนี้ได้ จากประวัติอาการที่กล่าวมาแล้ว ร่วมกับการตรวจหู พบว่าแก้วหูมีการอักเสบบวมแดง มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาขึ้น สีขุ่นทึบ อาจพบการเคลื่อนไหวของแก้วหูมีการขยับตัวลดน้อยลง ถ้ามีแก้วหูทะลุจะเห็นมีหนองขังอยู่ในช่องหู

หูชั้นกลางอักเสบ

เด็กหูชั้นกลางอักเสบ

เด็กที่มีอาการปวดหู รวมกับมีไข้เกิดจากหูชั้นกลางอักเสบเพียงเท่านั้นหรือไม่?

เนื่องจากอาการปวดหูอาจจะไม่ได้เกิดจากการอักเสบที่หูเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นการปวดร้าวมาจากบริเวณอวัยวะ ที่ศีรษ ะและลำคอ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หรือ รากฟันอักเสบ คุณหมอจะคิดถึงสาเหตุอื่น ๆ เหล่านี้ ในเด็กมาด้วยอาการปวดหูแต่ตรวจดูหูแล้วปกติดี ดังนั้นหากลูกมีอาการปวดหูก็ควรไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจหู และตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุอื่น ๆ ด้วยนะคะ

คุณหมอจะรักษาโรคหูชั้นกลางอักเสบได้อย่างไร?

ในเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน คุณหมอจะสั่งยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องให้ลูกทานยาให้ครบตามที่คุณหมอสั่ง เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10-14 วัน ถึงแม้ว่าอาการต่าง ๆ ของลูกจะดีขึ้นแล้วก็ตาม นอกจากนี้คุณหมออาจจะพิจารณาให้ยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวด และคุณหมอจะนัดมาเพื่อตรวจหูอีกครั้ง

มีวิธีป้องกันโรคหูชั้นกลางอักเสบได้อย่างไร?

นอกจากพยายามป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจแล้ว เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้ โดยให้เด็กดื่มนมแม่ เพราะมีการศึกษาชัดเจนว่าช่วยลดการเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ หากดูดนมขวดก็ควรให้เด็กอยู่ในท่านั่งหรือนอนศีรษะสูงกว่าลำตัว และไม่ให้เด็กหลับไปพร้อมกับขวดนมอยู่ในช่องปาก เพราะนมอาจจะเข้าสู่หูชั้นกลางและอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาได้ค่ะ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บรรเทาอาการปวดศีรษะ-ปวดหูให้ลูก

รู้ไหม แคะหูลูกนั้น อันตรายกว่าที่คิด

ลูกเป็นหวัดบ่อยๆจากการติดเชื้อหรือแพ้อากาศ

parenttown

 

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • หูชั้นกลางอักเสบ โรคที่พบบ่อยในเด็ก
แชร์ :
  • อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

    อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

  • ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ

    ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ

  • อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

    อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

  • ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ

    ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ