ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณจะ การเปลี่ยนแปลงของการตั้งครรภ์ อย่างน่าอัศจรรย์ ฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้หน้าอกคุณใหญ่ขึ้น มดลูกขยายตัวขึ้น ผิวแตกลาย คุณต้องเจอกับความอยากกินไอศกรีมหรือผักดองขึ้นมาแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยตอนตีห้า คุณจะรู้สึกร่างกายคุณใหญ่เกินไปแม้ว่านั่นเป็นเพียงการปรับตัวของร่างกายคุณเอง เอาล่ะ อย่าเครียดหรือกระวนกระวายกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปเลย ทั้งหมดล้วนเป็นขั้นตอนของการมีลูก ดังนั้นปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปและพยายามดูแลสุขภาพร่างกายคุณให้ดี สุดท้ายแล้วทุกอย่างจะคุ้มค่าแน่นอน ในระหว่างนี้เราอยากช่วยคุณเตรียมตัวเตรียมใจโดยการบอกคุณว่าการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง
การเปลี่ยนแปลงของการตั้งครรภ์ มีอะไรบ้างนะ?
การตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลา 283 วัน เวลาดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นสามช่วง เรียกว่า ไตรมาส แต่ละไตรมาสก็จะมีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณ สิ่งที่เรากำลังจะบอกต่อไปนี้คือการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปที่คุณจะได้พบเจอในแต่ละช่วงไตรมาส การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากกำหนดเวลาในรายการที่เราให้ และอาการบางอย่างอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่คุณตั้งครรภ์
บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็คก่อนช้อป! ครีมทาท้อง หรือครีมลดรอยแตกลายที่ดี ต้องมีคุณสมบัติครบตามนี้
ช่วงไตรมาสแรก สัปดาห์ที่ 0 ถึง 12
ช่วงไตรมาสแรกเป็นเวลาที่สำคัญมากทั้งสำหรับคุณและลูกน้อยที่กำลังเติบโตในท้อง คุณต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตหลาย ๆ ประการ ในช่วงนี้ร่างกายของคุณกำลังเตรียมตัวสำหรับการตั้งครรภ์ตลอดเก้าเดือนข้างหน้า คุณจะต้องเจอกับอาการและอารมณ์หลากหลายอย่างเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนในร่างกายของคุณ
คุณจะรู้สึกเพลียมากในช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากร่างกายของคุณกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมดี ๆ สำหรับลูกน้อย ฮอร์โมนของคุณจะขึ้น ๆ ลง ๆ คุณจะรู้สึกเหนื่อยจนเป็นปกติ และคุณควรจะพักผ่อนมาก ๆ คุณอาจเกิดอาการแพ้ท้อง (และช่วงที่จะแพ้ท้องหนัก ๆ เลยคือช่วงสัปดาห์ที่ 8 ถึง 12) ร่างกายผลิตน้ำลายมาก ปัสสาวะบ่อย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดฉุนเฉียว มีสิวขึ้น ร่างกายบวม เปรี้ยวปากอยากกินอาหาร หน้าอกของคุณจะไวต่อการสัมผัส รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส หรืออาจรู้สึกว่าหน้าอกเต็มขึ้น หนักขึ้น หัวนมของคุณจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น ลานนมจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและสีเข้มขึ้น
ผู้หญิงมากมายจะรู้สึกปวดศีรษะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำหรือเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงเมื่อคุณลุกหรือนั่งเร็วเกินไป คุณอาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยราว 1 ถึง 3 กิโลกรัมในช่วงไตรมาสแรก หากคุณเป็นคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี คุณมีความเสี่ยงที่จะแท้งลูกเนื่องจากความเสี่ยงเรื่องความผิดปกติของโครโมโซมสูงขึ้นกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อย คุณอาจต้องการทำการตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารกเพื่อระบุว่ามีโอกาสเป็นโรคดาวน์ซินโดรมหรือไม่
ช่วงไตรมาสที่สอง (สัปดาห์ที่ 13 ถึง 25)
นี่เป็นช่วงที่คุณจะว่ารู้สึกสุขภาพในภาพรวมดีขึ้น รู้สึกมีอารมณ์ทางเพศเพิ่มสูงขึ้น และรู้สึกดูดีไปกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ในช่วงเวลานี้คุณจะไม่มีอาการแพ้ท้องอีกแล้ว และจะไม่รู้สึกเหนื่อยอ่อนตลอดเวลาซึ่งเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป หากคุณยังรู้สึกคลื่นไส้วิงเวียนอยู่ คุณควรปรึกษาแพทย์เรื่องการกินวิตามินบี 6 เพิ่มเติม
ในช่วงนี้คุณจะมีเริ่มเจอปัญหาอื่น ๆ เช่น ผิวรอบ ๆ ท้องแห้งแตก ปวดท้อง มีแก๊สเพิ่มขึ้น หายใจลำบาก มีอาการแสบร้อนกลางอก ผิวแตกลาย มีอาการมือ เท้า ข้อเท้า และหน้าบวม มีอาการชาหรือปวดที่ขาและน่องบ่อย ๆ ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความเหนื่อยล้าหรือเพราะมดลูกทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทที่ขาของคุณ ฝ่ามือและฝ่าเท้าจะแดงและคันเนื่องจากระดับเอสโตรเจนในร่างกายของคุณเพิ่มสูงขึ้น และในขณะที่ฮอร์โมนของคุณกำลังเพิ่มสูงขึ้น ร่างกายของคุณมีเวลาสามเดือนในการปรับตัวเข้าหาฮอร์โมน ดังนั้นคุณอาจสามารถนั่งดูหนังเศร้าสักเรื่องได้โดยที่ไม่ร้องออกมาสักแอะเดียวก็เป็นได้
ช่วงไตรมาสที่สาม สัปดาห์ที่ 26 ถึง 40
ในช่วงนี้ คุณจะมีน้ำหนักเพิ่มทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละครึ่งถึงหนึ่งกิโลกรัม จนกระทั่งสัปดาห์ที่ 36 หรือ 37 ลูกคุณจะน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ๆ สามในสี่ของน้ำหนักตัวทั้งหมดในช่วงนี้ น้ำหนักของคุณจะเพิ่มโดยรวมราว 10 ถึง 12 กิโลกรัม
ท้องของคุณจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทรงตัวและทำให้เกิดอาการปวดหลัง เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ระยะหลัง ๆ คุณจะพบกับอาการบวม เส้นเลือดขอด เจ็บปวดบริเวณเป้า หายใจลำบาก และอ่อนเพลียบ่อยมากขึ้น คุณควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ สวมเสื้อผ้า รองเท้าที่ใส่สบาย และออกกำลังกายง่าย ๆ คุณอาจจะไม่ได้นอนหลับสบาย ๆ อย่างที่คุณควรจะได้นอนเมื่อปัญหาเหล่านี้รุมเร้าหนักเข้าเรื่อย ๆ พยายามแอบงีบระหว่างวันเพื่อชดเชยบ้าง หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำตอนกลางคืนเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 36 คุณต้องเตรียมตัวจัดการพร้อมสำหรับการคลอดแล้วล่ะ คุณจะเริ่มสังเกตได้ว่ามดลูกเริ่มมีการหดรัดตัวบ่อย ๆ หน้าอกจะเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอาจเริ่มมีน้ำนมไหลออกมา คุณควรเตรียมสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ สำหรับเด็กทารกและแผนการคลอดลูกไว้ให้พร้อม ล้างขวดนมและฆ่าเชื้อเตรียมไว้ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย และที่สำคัญ เตรียมพร้อมรับสมาชิกใหม่ที่จะนำความสุขมาสู่บ้านได้แล้วล่ะ!
แม่ ๆ ที่กำลังกังวลว่าเมื่อร่างกายเปลี่ยนแปลงจะส่งผลทำให้ท้องลาย หมดกังวลไปได้เลยค่ะ กับครีมทาท้องลายที่แม่ ๆ ของ theAsianparent ยกให้เป็นอันดับหนึ่ง ด้วยส่วนผสมที่สกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีอันตราย พาราเบน SLS ไตรโคลซาน หรือแม้กระทั่งแอลกอฮอล์ แม่ ๆ ที่กำลังตั้งครรภ์จึงมั่นใจว่าปลอดภัยกับตัวเองและทารกในครรภ์แน่นอน และที่สำคัญแม่ท้องที่ให้นมลูกก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
สารสกัดครีมลดรอยแตกตัว Mama’s Choice Stretch Mark Cream กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนลดเลือนรอยแตกลาย เพื่อให้คุณแม่มีหน้าท้องที่เรียบเนียนและเต่งตึง และที่สำคัญยังอุดมไปด้วยอโลเวราจากว่านหางจระเข้ เชียบัตเตอร์ น้ำมันมะกอกที่มาพร้อมสารต้านอนุมูลอิสระ และน้ำมันโจโจบาที่คงความยืดหยุ่นของผิว ที่จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว เนื้อครีมกลิ่นหอมอโลเวราอ่อน ๆ ไม่ฉุน คุณแม่สามารถใช้ได้ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ และแม่ ๆ คนไหนที่มีอาการคันบริเวณหน้าท้องร่วมกับผิวแห้ง สามารถใช้ตัวนี้ได้เลย ซึมซับง่าย ทาแล้วไม่เหนียวเหนอะ คุณแม่คนไหนไม่ชอบทาครีมที่ข้นเนื้อหนัก ทาแล้วไม่สบายผิว แนะนำตัวนี้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ชี้เป้า 8 ครีมทาแก้ท้องลาย ใช้ดี ครีมทาท้องลายที่ดีที่สุด ยี่ห้อไหนดี แม่ ๆ มาช้อปด่วน !
อาหารคนท้องอ่อน แบบไหนบำรุง แบบไหนแสลง อะไรห้ามกิน อะไรกินได้
อาหารคนท้องอ่อน ช่วง 1 เดือนแรก
ในช่วงแรกนั้น คุณแม่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ จนกระทั่งประจำเดือนไม่มา จึงทำการตรวจการตั้งครรภ์ บางครั้งกว่าจะรู้ก็มีอายุครรภ์ได้ 2 – 3 สัปดาห์แล้ว ซึ่งนั่นก็อาจทำให้แม่ท้องเกิดความกังวลว่า จะเผลอกินอะไรที่เป็นของแสลงเข้าไป จนอาจเป็นอันตรายกับลูกได้ อย่างไรก็ตาม แม่ท้องไม่ควรกังวลมากไปจนเครียดนะครับ ซึ่งอาหารที่ควรกิน และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ในช่วง 1 เดือนแรก มีดังนี้ครับ
อาหารคนท้อง 1 เดือน ควรกิน
เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แม่ท้องอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือเจ็บเต้านม ซึ่งคุณแม่แต่ละคนก็อาจจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป บางคนก็อาจไม่มีอาการใด ๆ เลย แต่ไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการแพ้ท้องหรือไม่ ก็ควรต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินเหมือน ๆ กัน ซึ่งอาหารที่แม่ท้องควรกิน มีดังนี้
1. อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต
ตอนที่ไปฝากครรภ์ แม้ว่าคุณหมอจะให้กรดโฟลิกแบบเม็ดมาให้กินแล้ว แต่คุณแม่ท้องก็ควรกินอาหารที่มีโฟเลตเพิ่มไปด้วยนะครับ เพราะโฟเลตมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการสมองของตัวอ่อนในระยะแรก และอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตก็หาได้ไม่ยากเลย เช่น ส้ม มันฝรั่ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ ถั่ว และผักใบเขียวทั้งหลาย เป็นต้น
2. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
นมเป็นแหล่งสารอาหารชั้นยอด ทั้งโปรตีน วิตามิน แคลเซียม น้ำ ไขมันดี กรดโฟลิก และวิตามินดี ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็งก็มีคุณค่าเทียบเท่าการดื่มนม โดยคุณแม่ควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมทุกวัน ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้าหากดื่มมากไป ก็อาจทำให้ลูกคลอดออกมาแพ้โปรตีนจากนมได้
3. เนื้อสัตว์
ในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ แม่ท้องสามารถกินเนื้อสัตว์ได้เกือบทุกชนิด เพียงแต่ต้องปรุงให้สุกเสียก่อน เพราะการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก อาจเป็นเหตุให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้
4. อาหารที่มีธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็ก ช่วยในการรักษาระดับการไหลเวียนของเลือดให้คงที่ ทั้งของแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ ทารกต้องการเลือดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เพื่อช่วยในการจับกับออกซิเจนและสารอาหาร และส่งไปให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง
และเนื่องจากในเดือนแรกคุณหมอจะยังไม่จ่ายวิตามินเสริมธาตุเหล็กให้คุณแม่ จนกว่าจะถึงเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้อง 1 เดือนจึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ บีทรูท ข้าวโอ๊ต ปลาทูน่า ถั่วต่าง ๆ ผลไม้อบแห้ง และเนื้อไก่ เป็นต้น
อาหารคนท้อง 1 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง
หากคุณแม่ทราบแล้วว่า กำลังตั้งครรภ์ อาหารต่อไปนี้คือ สิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์ 1 เดือนครับ
แม่ท้องอ่อน ควรหลีกเลี่ยงชีสเนื้อนุ่ม เนื่องจากชีสพวกนี้มักทำจากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และสามารถเป็นพาหะของโรคอาหารเป็นพิษ และเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแก๊สอีกด้วย
ในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ได้ปรุงสดใหม่และอาหารแปรรูป อาทิ น้ำผลไม้กล่อง นมข้น และอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรค คุณแม่ท้องอาจเลือกรับประทาน น้ำผลไม้คั้นสด และสลัดผลไม้สดแทน โดยควรรับประทานภายใน 20 นาทีหลังจากทำเสร็จ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ครีมทาท้องลาย คนท้อง ในราคาหลักร้อย คนท้องกลัวท้องลายใช้ครีมตัวไหนดี ?
เช็คก่อนช้อป! ครีมทาท้อง หรือครีมลดรอยแตกลายที่ดี ต้องมีคุณสมบัติครบตามนี้
10 อาหารช่วยลดรอยท้องแตก อร่อยได้ และ แก้ท้องลาย ด้วย
ที่มา : th.theasianparent.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!