ภาวะเลือดหนืด ส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ มาดูกันดีกว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกหลาน หรือคนในครอบครัวของเรามี ภาวะเลือดหนืด หรือเลือดข้นหรือเปล่า ไปดูกัน
Polycythemia คือ
ภาวะเลือดหนืด หรือภาวะเลือดข้น หรือในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Polycythemia คือภาวะที่ร่างกายของเรามีการเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมากจนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เลือดของเรานั้นมีลักษณะที่หนืด หรือข้นขึ้น โดยในปริมาณที่มากจนเกินไปนี้จะทำให้เรานั้นเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้
สาเหตุของการเกิดภาวะเลือดหนืด
การที่ร่างกายของเรานั้นมีปริมาณเม็ดเลือดแดงจำนวนมากนั้นทำให้เกิดภาวะเลือดหนืดหรือเลือดข้นได้ โดยสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดได้เป็น 2 สาเหตุ ดังต่อไปนี้
- ภาวะเลือดข้น ระยะปฐมภูมิ หรือ polycythemia vera (PV) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งที่พบได้ยาก และเติบโตช้า ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า myeloproliferative neoplasm PV โดยจะทำให้กระดูกสร้างเซลล์เม็ดเลือด หรือสารตั้งต้นออกมาจำนวนมาก หรือเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และมีการทำงานที่ผิดปกติ จึงนำไปสู่การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มากจนเกินไป ทั้งนี้อาจรวมถึงการมีเม็ดเลือดขาวมากจนเกินไปได้ด้วยเช่นเดียวกัน
- ภาวะเลือดข้น ระยะทุติยภูมิ หรือ Secondary polycythemia เป็นการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ไม่ได้มีปัจจัยมาจากมะเร็งเม็ดเลือด (PV) แต่เกิดจากสภาพแวดล้อม และความผิดปกติของร่างกายในส่วนอื่น ๆ ได้แก่
- การอยู่ในที่สูงมาก ๆ
- การหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- การที่มีเนื้องอกบางชนิดในร่างกาย
- โรคหัวใจ หรือโรคปอดที่ทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำ
ภาวะเลือดข้นนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นไปตามอายุของแต่ละบุคคล โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุ 60 ปี
ความเสี่ยงของการเป็นภาวะเลือดข้น
สำหรับความเสี่ยงของการเป็นภาวะเลือดข้นนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นไปตามอายุของแต่ละบุคคล โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุ 60 ปี และสามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิงอีกด้วย ซึ่งการเป็นภาวะนี้ในรูปแบบของ PV นั้นไม่จำเป็นจะต้องมีประวัติคนในครอบครัวก็สามารถเป็นได้ หรือภาวะนี้ไม่ได้เป็นภาวะที่ถูกส่งต่อทางพันธุกรรมนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามมีการวิจัยพบว่า การเกิดภาวะเลือดหนืด เลือดข้นนั้นเกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมบางอย่าง โดยสมาคมมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของสหรัฐอเมริกา (Leukemia & Lymphoma Society) ได้สังเกตเห็นว่า คนที่มีภาวะเลือดหนืดแบบ PV นั้นมีการกลายพันธุ์ในยีน Janus kinase 2 (JAK2) แต่ถึงเช่นนั้นก็ยังไม่มีการยืนยันอย่างแน่นอน ทั้งนี้หากใครมีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะนี้ก็ควรไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความแน่ใจอีกทีก็ได้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง
อาการของภาวะเลือดหนืด
ไม่ใช่เรื่องแปลงที่คุณสามารถเป็นภาวะเลือดหนืดได้โดยที่คุณเองก็ไม่รู้ตัว เพราะว่าอาการของภาวะนี้มักจะแสดงออกมาอย่างช้า ๆ และใช้เวลานานกว่าคุณจะรู้ตัว โดยการที่คุณเป็นภาวะเลือดหนืดนั้นหมายถึงการมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากจนเกินไป ทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดได้ โดยอาการของผู้ที่เป็นภาวะนี้ที่พบบ่อยมีดังต่อไปนี้
- เวียนศีรษะ
- ปวดหัว
- เหงื่อออกมากเกินไป
- คันผิวหนัง
- หูอื้อ
- มองเห็นภาพซ้อน
- เมื่อยล้า
- ผิวบริเวณฝ่ามือ ติ่งหู และจมูกเป็นสีแดง หรือม่วง
- มีเลือดออก หรือเกิดการช้ำ
- รู้สึกแสบร้อนที่เท้า
- เลือดกำเดาไหลบ่อย
- มีเลือดออกที่เหงือก
ทั้งนี้หากคุณยังไม่รู้ตัวว่าเป็นภาวะเลือดหนืด และไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้นอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังต่อนี้ไป
- ม้ามโต
- เลือดเป็นลิ่ม
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- แผลในกระเพาะอาหาร
- โรคหัวใจ
- โรคเกาต์
ภาวะเลือดหนืดในทารก
โดยปกติแล้วภาวะเลือดหนืดมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิดได้เช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีเซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมากในร่างกายจนทำให้เลือดหนืดเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ทั้งนี้การที่เลือดนั้นข้นเกินกว่าจะเดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของทารกได้ช้ากว่าปกตินั้นจึงถูกเรียกว่า Hyperviscosity syndrome (HVS) ที่อาจส่งผลให้อวัยวะบางส่วนของร่างกายทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
อะไรที่ทำให้เกิดภาวะเลือดหนืดในทารก
สำหรับทารกแรกเกิดแล้วนั้นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
- ความล่าช้าในการหนีบสายสะดือ
- คุณแม่ที่มีเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- โรคที่สืบทอดผ่านทางพันธุกรรม
- ปริมาณออกซิเจนในเลือดของทารกน้อยจนเกินไป (ภาวะขาดออกซิเจน)
- กลุ่มอาการถ่ายเลือดของแฝด เกิดจากการที่ทารกอีกคนในครรภ์ถ่ายเซลล์เม็ดเลือดแดงให้ทารกอีกคนมากจนเกินไป
บทความที่น่าสนใจ : 7 วิธีเช็คโรคฮีโมฟีเลียในเด็ก – พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกมีเลือดไหลไม่หยุด
ภาวะแทรกซ้อนของทารก
ทารกที่เป็นภาวะเลือดหนืดจะได้รับการตรวจสอบภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เพื่อป้องกัน และรักษาได้ทันท่วงที หากทารกมีภาวะดังกล่าว นอกจากนี้การเกิดภาวะเลือดหนืดในทารกอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นได้ ดังต่อไปนี้
- การตายของเนื้อเยื่อลำไส้ (Necrotizing Enterocolitis)
- ไตล้มเหลว
- อาการชัก
- โรคหลอดเลือดสมอง
รู้ได้อย่างไรว่าทารกเป็นภาวะเลือดหนืด
ทารกส่วนใหญ่ที่มีภาวะเลือดหนืดไม่ได้มีลักษณะแตกต่างออกไปจากทารกโดยทั่วไป แต่ทารกที่มีอาการนี้อาจมีสีผิวที่แดงผิดปกติ โดยเฉพาะตอนที่พวกเขาร้องไห้ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณแรก นอกจากนี้ทารกอาจมีอาการปากเขียว ตัวเขียว หรือทารกอาจหยุดหายใจชั่วคราว (ขณะหลับ) ดื่มนมได้ไม่ดี หรือมีน้ำตาลในเลือดต่ำ ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้หากทารกนั้นเป็นภาวะนี้ โดยหากแพทย์พบว่าทารกนั้นมีอาการที่แปลกออกไปจากเด็กปกติ ทารกจะถูกทำการตรวจเลือด เพื่อวัดระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดง หากตัวเลขสูงเกินไป ลูกน้อยของคุณจะได้เข้ารับการรักษาในทันที
ร้องไห้ อาจเป็นสัญญาณแรกของการบอกอาการของภาวะเลือดหนืด
การรักษาภาวะเลือดหนืดในทารก
- การรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดง และอาการของทารก
- การรักษาอาจรวมถึงการสังเกตอาการจองทารก โดยอาจมีการให้ของเหลว และน้ำตาล (กลูโคส) ในปริมาณปกติ และทำการทดสอบซ้ำเป็นระยะ ๆ
- กรณีที่อาการไม่รุนแรงมากนัก อาจได้รับการรักษาด้วยการให้ของเหลวทางเส้นเลือดเท่านั้น
- หากทารกมีอาการที่รุนแรง อาจต้องมีการนำเลือดออกจากร่างกายของทารกบางส่วน และแทนที่ด้วยของเหลวผ่านเส้นเลือดแทน เพื่อเป็นการเจือจางความเข้มข้นของเลือดนั่นเอง
ผลกระทบระยะยาวของทารกที่เป็นภาวะเลือดหนืด
ในกรณีของทารกที่เป็นภาวะเลือดหนืดส่วนใหญ่แล้วนั้นไม่มีผลกระทบต่อพวกเขาอย่างถาวร เพราะเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงส่วนเกินของพวกเขาแตกตัว ทารกอาจมีผิวหนังที่เหลือง หรือโรคดีซ่านในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ถือว่าเป็นอาการปกติ แต่หากพวกเขามีลิ่มเลือด หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากความหนืดของเลือดมากจนเกินไป ทารกอาจมีอาหารแทรกซ้อนอื่น ที่รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง หรือความเสียหายของอวัยวะ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากมีอาการเกิดขึ้น
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับภาวะเลือดหนืด เลือดข้น หรือ Polycythemia เป็นภาวะที่น่ากลัวและอันตรายจริง ๆ เพราะว่าสามารถเกิดได้กับทารกแรกเกิดและผู้สูงอายุ อีกทั้งภาวะนี้ยังแสดงอาการช้าอีก ดังนั้นหากพบว่ามีอาการป่วย หรือร่างกายมีความผิดปกติต่างไปจากเดิมควรรีบไปพบแพทย์นะคะ
บทความที่น่าสนใจ :
ความดันโลหิตต่ำในเด็ก อันตรายหรือไม่? มีสาเหตุมาจากอะไร?
อาหารช่วยลดความดันโลหิตในเด็ก ต้องทานอะไรดีถึงจะช่วยได้?
ธาลัสซีเมีย พ่อแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ผลกระทบของธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์เสี่ยงแค่ไหน
ที่มา : Medical News Today, 2, Mount Sinai, Cancer Therapy Advisor
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!