X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
Product Guide
เข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 วิธีเช็คโรคฮีโมฟีเลียในเด็ก - พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกมีเลือดไหลไม่หยุด

บทความ 5 นาที
7 วิธีเช็คโรคฮีโมฟีเลียในเด็ก - พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกมีเลือดไหลไม่หยุด

โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) หรือ โรคเลือดไหลไม่หยุด เกิดจากความผิดปกติของอาการเลือดออกแล้วไม่แข็งตัว ซึ่งโรคฮีโมฟีเลียนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม นำไปสู่ภาวะเลือดออกอย่างรุนแรง ถ้าหากควบคุมไม่ได้ อาจจะนำไปสู่ความพิการหรือเสียชีวิต อาจพบหรือแฝงในเด็กโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้จากการที่จู่ๆ ลูกมีเลือดไหลไม่หยุดหลังจากการบาดเจ็บเล็กน้อย ส่วนใหญ่มีอาการเลือดออกเป็นเวลานานกว่าปกติ และพบรอยช้ำเลือด จนอาจก่อให้เกิดความบกพร่องของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อหากได้รับการกระทบกระแทก หกล้มก่อให้เกิดความพิการได้

 

โรคฮีโมฟีเลียในเด็ก

7 วิธีเช็คโรคฮีโมฟีเลียในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง

1. โรคฮีโมฟีเลีย หรือ โรคเลือดไหลไม่หยุด คือ อาการห้ามเลือกออกยาก

เนื่องจากเลือดไม่แข็งตัวจึงไม่มีอาการเลือดออกในวัยแรกเกิด อาจมีรอยจ้ำเขียวตามลำตัวหรือแขนขา เด็กบางคนสะดือหลุดเหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่ไม่มีเลือดออกที่ผิดปกติ ยิ่งถ้ามีประวัติญาติผู้ชายฝ่ายแม่เป็นโรคเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก ให้สงสัยก่อนว่าลูกมีโรคเลือดอย่างโรคฮีโมฟีเลีย ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่ารอให้เลือดออกมาก จะได้ตรวจวินิจฉัยรักษาดูแลได้ทัน

2. โรคฮีโมฟีเลียในเด็กผู้ชาย สังเกตได้จาก …

หลังขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศจะมีเลือดออกมากโดยทั่วไปเด็กๆ ที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียจะเริ่มมีอาการเลือดออกเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เริ่มหัดคลานหรือเดินเมื่อชนกับสิ่งของจะพบรอยช้ำ รอยจ้ำเขียวๆ ได้ง่าย หรือเกิดจากได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็เขียวม่วงจนน่าตกใจ

3. ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงจะมีเลือกออกมากกว่าปกติ

หากเด็กๆ ฟันน้ำนมหลุด แล้วมีเลือดออกมากกว่าปกติ หรือเลือดกำเดาไหลไม่มีสาเหตุ เด็กบางคนมีอาการปวดตามข้อ มีเลือดออกในข้อ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ทั้งมีเลือดออกในข้อและกล้ามเนื้อ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า ข้อมือ ข้อเท้า ปวดบวมแดงคล้ายข้ออักเสบ ความรุนแรงของโรคฮีโมฟีเลีย หลายระดับขึ้นอยู่กับระดับของการแข็งตัวของเลือด หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ข้อติดและพิการได้ อันตรายของโรคนี้ถ้ามีเลือดออกในกล้ามเนื้อของคอ หรือกล่องเสียงจะทำให้กดหลอดลม หรือ หากมีเลือดออกในสมอง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

4. สังเกตตอนลูกหัดเดิน

โรคฮีโมฟีเลียในเด็กที่ยังเดินไม่ได้ หรือกำลังหัดเดิน สามารถพบได้ว่ามีอาการเลือดไหลไม่หยุดในกล้ามเนื้อขาหรือสะโพกที่ถูกกระแทกจากเวลาเขาคลาน หรือตั้งไข่แล้วล้ม พอก้นกระแทกพื้นก็จะบวมแดง ปวด มักมีประวัติเลือดไหลออกง่าย นอกจากนี้จะมีรอยฟกช้ำเป็นจ้ำๆ ทั่วร่างกาย แม้แต่หลังฉีดวัคซีนก็จะมีรอยฟกช้ำเป็นจ้ำๆ หรือมีเลือดออกมากผิดปกติ ทำให้เด็กทารกก็มักร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุไปจนถึงวัย 2 ขวบปีแรก

5. ลองศึกษาการรักษาแบบมือโปรและรู้ทันการรักษา

หลักสำคัญในการรักษาเบื้องต้นคือ ลองหาวิธีให้เลือดหยุดโดยการห้ามเลือด อาจใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดแห้งกดบริเวณแผลที่มีเลือดออก ถ้าลูกมีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อ ให้ประคบด้วยความเย็น เช่น ใช้ผ้าห่อน้ำแข็ง เพื่อทำให้หลอดเลือดหดตัวเมื่อได้รับความเย็น จะส่งผลให้เลือดหยุด

6. ปรึกษาแพทย์เรื่องการถ่ายทอดโรคฮีโมฟีเลียทางพันธุกรรม

ปกติคนเรามีโครโมโซมเพศอยู่ 2 โครโมโซม ผู้หญิงจะรับโครโมโซม X จากพ่อและแม่ ส่วนผู้ชายจะรับโครโมโซม Y จากพ่อและโครโมโซม X จากแม่ ซึ่งทำให้การถ่ายทอดโรคฮีโมฟีเลียแตกต่างกัน ดังนี้

  • ฮีโมฟีเลีย A หรือ B ยีนที่ทำให้เกิดโรคฮีโมฟีเลียนั้นอยู่บนโครโมโซม X ซึ่งจะถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกชาย ผู้หญิงที่มียีนบกพร่องจะเป็นพาหะ ไม่มีอาการของโรค แต่มีอาการเลือดไหลไม่หยุดได้หากปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าแฟกเตอร์ 8 หรือ 9 มีจำนวนลดลง
  • ฮีโมฟีเลีย C อาการของฮีโมฟีเลียชนิดนี้สามารถแสดงออกได้ทั้งในเด็กชายและหญิง เด็กชายจะป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลียเมื่อรับยีน X ที่บกพร่องจากแม่ ส่วนเด็กหญิงนั้นรับยีน X ที่บกพร่องมาจากพ่อ หรือแม่ก็ได้

7. เช็คตัวพ่อแม่เองว่าเป็นพาหะนำโรคฮีโมฟีเลียหรือไม่

โรคฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดไหลไม่หยุด แม้จะเป็นโรคที่พบได้น้อยในบ้านเรา และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเด็ก แต่แท้จริงอย่างที่กล่าวข้างต้นว่าโรคนี้คือโรคพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีน ทำให้ขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ การขาดแฟคเตอร์ 8 คือ ฮีโมฟีเลีย A และรองลงมาคือการขาดแฟคเตอร์ 9 ฮีโมฟีเลีย B เกิดจากการขาดโปรตีนจับลิ่มเลือด ส่วนการขาดแฟคเตอร์ 11 คือ ฮีโมฟีเลีย C เป็นอาการที่ไม่รุนแรงมาก เกิดจากการขาดโปรตีนจับลิ่มเลือด ซึ่งก็จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้นพ่อแม่ควรเช็คสุขภาพว่า ใครคนใดคนหนึ่งเป็นพาหะนำโรคนี้หรือไม่ ก่อนวางแผนมีบุตรควรตรวจโรคทางพันธุกรรมไว้ดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

โรคฮีโมฟีเลียมีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่

  • ฮีโมฟีเลีย A พบมากที่สุด เกิดจากการขาดโปรตีนจับลิ่มเลือด ที่เรียกว่าแฟกเตอร์ 8
  • ฮีโมฟีเลีย B พบรองลงมาจากชนิดเอ เกิดจากการขาดโปรตีนจับลิ่มเลือด ที่เรียกว่าแฟกเตอร์ 9
  • ฮีโมฟีเลีย C เป็นอาการที่ไม่รุนแรงมากที่สุด เกิดจากการขาดโปรตีนจับลิ่มเลือด ที่เรียกว่าแฟกเตอร์ 11

นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้หรือมีอาการของโรคเลือดออกง่ายแต่ห้ามเลือกให้หยุดยากมาก่อน อาจมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของยีน (Spontaneous Mutation) หรือแม่เป็นพาหะ

โรคฮีโมฟีเลียในเด็ก

มีอาการฟกช้ำ แม้เจ็บเพียงเล็กน้อย

บทสรุปสั้นๆ ของอาการและสัญญาณเตือนของโรคฮีโมฟีเลียที่สังเกตได้ มีดังนี้

  • เลือดออกปริมาณมากผิดปกติหลังมีดบาด ทำฟัน หรือผ่าตัด
  • มีรอยฟกช้ำจ้ำใหญ่ทั่วร่างกาย
  • เลือดออกผิดปกติหลังฉีดวัคซีน
  • เลือดกำเดาไหลไม่มีสาเหตุ
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด
  • ปวดตึงที่ข้อต่อ
  • หากเป็นในเด็กทารก ก็จะร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ

นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว ยังมีสัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่ามีโอกาสเป็นโรคฮีโมฟีเลีย โดยสังเกตจากอาการเหล่านี้

  • ปวดและบวมตามข้อแบบเฉียบพลัน เช่น หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก หัวเข่า กล้ามเนื้อขาและแขน เป็นต้น
  • เลือดไหลไม่หยุดเมื่อบาดเจ็บ
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • ปวดคอ
  • อาเจียนบ่อย
  • เห็นภาพซ้อน
  • เหนื่อยล้ามาก

หมายเหตุ: โรคฮีโมฟีเลียที่พบบ่อยในประเทศไทยเป็นชนิด Hemophilia A และ B มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม แบบ X-linked recessive

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้น

การวินิจฉัยโรคฮีโมฟีเลีย

ปกติเด็กที่ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย มักพบประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลียด้วย ซึ่งตามประวัติ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไม่เคยมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้มาก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นเองในยีนที่ผิดปกติ และอาจเกิดจากผู้หญิงที่เป็นพาหะส่งทอดยีนที่ผิดปกติจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลานานจนแสดงออกในที่สุด

ทั้งนี้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคฮีโมฟีเลียในเด็กและผู้ใหญ่ได้ด้วยการส่งตรวจเลือด แสดงให้เห็นถึงปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่ขาดไป กรณีของเด็กที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจตรวจเจอฮีโมฟีเลียจากการตรวจเลือด ระหว่างตั้งครรภ์ดังนี้

  • การตรวจชิ้นเนื้อรก (CVS) แพทย์จะตรวจด้วยการดูดเอารกจากผนังมดลูกไปตรวจเมื่ออายุครรภ์ 11-14 สัปดาห์
  • การเจาะน้ำคร่ำ(Amniocentesis) เพื่อหาระดับความผิดปกติในยีน เมื่ออายุครรภ์ 15-20 สัปดาห์

การรักษาโรคฮีโมฟีเลีย ปัจจุบันโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การดูแลรักษาตนเองอย่างดีทำให้ผู้ป่วยมีความสุขกับการใช้ชีวิตและมีอายุยืนยาวได้ ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย A ซึ่งอาการไม่รุนแรงมาก แพทย์จะฉีดฮอร์โมนเดโมเพรสซิน (Desmopressin) เข้าหลอดเลือดดำ เพื่อให้ร่างกายผลิตโปรตีนจับลิ่มเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การรักษาในปัจจุบันทำได้ด้วยการฉีดสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวทดแทนเข้าหลอดเลือดดำ โดยสกัดจากเลือดของผู้บริจาคซึ่งตรวจสอบแล้วว่าไม่มีเชื้อโรค การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถทำได้ที่บ้านหากได้คำแนะนำและการฝึกจากแพทย์

โรคฮีโมฟีเลียในเด็ก

ควรสวมหมวกกันน็อกให้ลูกเวลาทำกิจกรรม

คำแนะนำที่ควรปฏิบัติเพื่อควบคุมอาการของโรคฮีโมฟีเลียของลูกน้อย

  1. ใช้ยาไทลินอลเมื่อมีอาการปวดแทนแอสไพริน และแอดวิล (Advil) เนื่องจากฤทธิ์ยาทำให้เลือดออกง่าย
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาละลายลิ่มเลือดเช่น Plavix และ Coumadin ซึ่งเป็นยาต้านการอุดตันของหลอดเลือด
  3. พาเด็กๆ ออกกำลังกายง่ายๆ เช่น เดินหรือว่ายน้ำ หลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะกัน เช่น วิ่งเร็ว บาสเกตบอล หรือ ฟุตบอล
  4. หมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องฟันของลูก ด้วยการแปรงและใช้ไหมขัดฟันให้เขาอย่างสม่ำเสมอ
  5. เวลาพาลูกออกกำลังกายควรใส่หมวกกันน็อก สนับเข่า ขณะทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฮีโมฟีเลีย

นอกจากอาการเลือดไหลไม่หยุด มีรอยฟกช้ำทั่วร่างกาย เด็กๆ ที่ป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลียอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น

  • เลือดออกตามอวัยวะภายในหรือเห็นได้ชัดว่ามีเลือดออกตามกล้ามเนื้อและทำให้แขนหรือขาบวมช้ำ อาการบวมอาจไปกดทับเส้นประสาททำให้ปวดหรือชาได้
  • ข้อต่อเสียหายหมายถึง ภาวะเลือดออกในร่างกายทำให้กดทับข้อต่อ และทำให้มีอาการปวดมาก หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะข้อต่ออักเสบหรือเสียหายได้
  • การติดเชื้อเด็กที่ป่วยเป็นโรคฮีโมฟีเลียจะต้องถ่ายเลือด จึงเสี่ยงต่อการรับเลือดที่มีแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งเป็นอันตราย
  • มีอาการแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยบางรายไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีนี้ โดยจะผลิตโปรตีนที่ยับยั้งสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ทำให้รักษาไม่ได้ผล

การรักษาโรคฮีโมฟีเลีย 

โรคฮีโมฟิเลีย ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันจึงเป็นการรักษาโดยการทดแทนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย A ซึ่งมีอาการที่ไม่รุนแรงมาก แพทย์จะฉีดฮอร์โมนเดโมเพรสซินเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อให้ร่างกายผลิตโปรตีนจับลิ่มเลือด เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องดูแลตนเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ร่วมด้วยพ่อคุณแม่ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า ต้องระมัดระวังอุบัติเหตุกระทบกระแทก หกล้ม ของลูกน้อยซึ่งเสี่ยงต่อการมีเลือดออกให้ดีของเล่นอย่าให้แหลมคม เฟอร์นิเจอร์ต้องลบเหลี่ยมให้หมด หรือบุนวมกันกระแทกอย่างดีเสื้อผ้าต้องบุด้วยผ้ากันกระแทกบริเวณข้อศอก หัวเข่า ศีรษะสวมหมวกบุนวมกันไว้ อย่าลืมติดป้ายชื่อลูก ระบุชื่อโรคกรุ๊ปเลือด สถานที่รักษา เบอร์โทรฯ ชื่อคุณหมอประจำตัวในกรณีฉุกเฉิน

 

บทความที่น่าสนใจ

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์

การตรวจคัดกรองคนท้อง หาอาการดาวน์ซินโดรม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้

 

ที่มา : 1 , 2

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 7 วิธีเช็คโรคฮีโมฟีเลียในเด็ก - พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกมีเลือดไหลไม่หยุด
แชร์ :
  • โรคเลือดที่ควรรู้จักก่อนตั้งครรภ์

    โรคเลือดที่ควรรู้จักก่อนตั้งครรภ์

  • สะเทือนใจ! แม่เลือดไหลไม่หยุดหลังคลอดจนเสียชีวิต

    สะเทือนใจ! แม่เลือดไหลไม่หยุดหลังคลอดจนเสียชีวิต

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • โรคเลือดที่ควรรู้จักก่อนตั้งครรภ์

    โรคเลือดที่ควรรู้จักก่อนตั้งครรภ์

  • สะเทือนใจ! แม่เลือดไหลไม่หยุดหลังคลอดจนเสียชีวิต

    สะเทือนใจ! แม่เลือดไหลไม่หยุดหลังคลอดจนเสียชีวิต

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว