สำหรับรายการ TAP Ambassador ของเราในสัปดาห์นี้ มาพร้อมกับประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเป็นเรื่องที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านได้โพสไว้ในแอปพลิเคชัน theAsianparent โดยหัวข้อในวันนี้คือ “ อาการชัก และ โรคลมชักในเด็ก ส่งผลอย่างไรกับสมองของลูก ” ซึ่งในวันนี้ theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก
โรคลมชักในเด็ก คืออะไร
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า โรคลมชัก กับ ไข้ชัก ทั้ง 2 อย่างนี้ ต่างกัน ซึ่งภาวะอาการไข้ชักจะพบได้ในเด็กราว ๆ 30% – 60% โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มาอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โดยอาการไข้ชัก จะเกิดจากการที่มีไข้สูง แล้วเกิดอาการชัก ซึ่งอาการไข้ชักสามารถส่งต่อได้ทางพันธุกรรม ซึ่งอาการไข้ชักนั้นไม่อันตราย และไม่ได้ส่งผลกับพัฒนาการในระยะยาว รวมทั้งเรื่องสมอง สติปัญญา แต่ในอีกกรณี ที่เป็นไข้แล้วมีอาการชัก แต่ไข้หายก็ยังมีอาการชักต่อ เป็นไข้รอบใหม่ก็ยังชักอีก และอาการชักก็เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาการแบบนี้คืออาการของเด็กที่เป็นโรคลมชัก ซึ่งหากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษา
บทความที่น่าสนใจ : ลูกช็อก ลูกชัก ลูกมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว ต้องทำอย่างไร
อาการไข้ชัก จะเกิดจากการที่มีไข้สูงแล้วเกิดอาการชัก ส่วนโดรคลมชัก นั้นเกิดมาจากภาวะผิดปกติทางสมอง ซึ่งมีอันตรายกว่ามาก ( ภาพจาก pixabay.com )
โรคลมชักในเด็ก กับ อาการชักที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ เหมือนหรือต่างกันไหม และสามารถรักษาให้หายได้หรือไม่ ?
สำหรับอาการไข้ชัก เด็กจะมีอาการชักประมาณ 1 – 2 นาที แล้วหาย เพราะฉะนั้นเด็กที่มีอาการไข้ชัก จะมีการทำการรักษากันที่สาเหตุของไข้มากกว่า ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อสมอง หากเป็นกรณีของโรคลมชัก ต้องดูสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เช่น ในเด็กบางคนมีความผิดปกติในสมอง หรือในบางคนมีก้อนเนื้องอก ซึ่งเทียบกันแล้วระหว่างอาการชักเฉพาะจุด กับอาการชักทั้งตัว อาการชักเฉพาะจุด นั้นมีความอันตรายกว่ามาก เพราะอาการชักทั้งตัวจะเป็นเรื่องจะเป็นเรื่องของสมอง เรื่องของการส่งกระแสไฟฟ้าผิดปกติ แต่ในกรณีเด็กที่มีอาการชักเฉพาะจุดนั้น บางส่วนมักพบว่ามีก้อนเนื้องอก ก้อนมะเร็งในสมอง หรือในเด็กบางคนเป็นโรคหลอดเลือด ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองในบางส่วนมีการอุดตัน ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองเฉพาะที่ ทำให้เกิดอาการชักเฉพาะที่ เพราะฉะนั้นหากลูกมีอาการชัก ถึงแม้จะไม่ใช่อาการชักทั้งตัว ก็ควรนำลูกไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษา สำหรับการรักษานั้น หากเป็นอาการชักทั่ว ๆ ไป อย่างอาการลมบ้าหมูแบบที่ไม่รุนแรงมาก ก็สามารถคุมได้ด้วยยากันชัก แต่หากมีอาการชักที่สาเหตุมาจากความผิดปกติในสมอง เช่น อาการที่เนื้อสมองแหว่งไป ซึ่งจะทำให้เด็กชักไม่หยุด สำหรับอาการแบบนี้จะทำให้รักษายาก ซึ่งต้องใช้ยากันชักควบคู่ไปด้วย หรือเป็นการรักษาแบบผ่าตัด ด้วยการจี้เส้นประสารทเพื่อตัดการเชื่อมโยงของสมองทิ้ง ซึ่งต้องแลกมากับพัฒนาการที่ช้าลง แต่เด็กที่มีอาการชักแบบนี้จะมีพัฒนาการค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว
บทความที่น่าสนใจ : ลูกชักจากไข้สูง อาการชักจากไข้สูงในเด็กอันตรายแค่ไหน? พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร
ถ้าลูกมีอาการชักบ่อย ๆ จะมีผลเสีย หรืออันตรายอย่างไรบ้าง
ถ้าในกรณีของไข้ชัก ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ซึ่งหากเป็นภาวะนี้จะสามารถหายได้เอง เพราะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ สมองจะยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ ทำให้เมื่อมีอาการไข้สูงจะทำให้เกิดอาการชักได้ แต่เมื่อโตขึ้นอากkรไข้ชักจะค่อย ๆ หายไปเอง
ในกรณีที่พ่อแม่มีประวัติการรักษาไข้ชักมาก่อน ลูกจะมีโอกาสเป็นด้วยไหม
หากพ่อหรือแม่ มีประวัติในการรักษาไข้ชัก ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นไข้ชักได้เช่นกัน หรือในกรณีที่พ่อแม่ไม่ได้เป็น แต่ปู่ย่าตายายเป็น ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นได้เช่นเดียวกัน
จะมีวิธีป้องกันตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ได้หรือไม่
สำหรับอาการไข้ชักนั้น สามารถป้องหันได้ เมื่อเด็กเริ่มมีอาการไข้สูง ให้รีบลดไข้ด้วยการเช็ดตัว หากมีไข้สูงเกิน 37.8 องศา ก็สามารถที่จะทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ได้เลย
สำหรับอาการไข้ชักนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการเช็ดตัวเด็กเมื่อเด็กมีไข้สูง ( ภาพจาก pixabay.com )
วิธีรับมือเบื้องต้น เมื่อลูกมีอาการชักต้องทำอย่างไร
หากลูกมีอาการชัก ให้นำลูกลงมานอนที่พื้นราบ แล้วค่อย ๆ บิดศีรษะลูกเล็กน้อย แล้วจึงค่อย ๆ จับลูกให้ตะแคงตัวไปด้านข้าง และบิดให้ไขว้กันเล็กน้อยให้เหมือนท่ากอดหมอนข้าง ซึ่งท่านี้จะช่วยในการป้องกันการสำลัก ซึ่งหากลูกกำลังชัก ห้ามหยอดยากันชักลงไปในปาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้
และสำหรับหัวข้อ ” อาการชัก และ โรคลมชักในเด็ก ส่งผลอย่างไรกับสมองของลูก ” นั้น ต้องแยกระหว่างไข้ชักและโรคลมชัก สำหรับเรื่องไข้ชักนั้น ที่สำคัญสุดคือรักษาไข้ ต้องรักษาไข้ให้หาย และไม่ปล่อยให้ลูกเป็นไข้สูง ซึ่งการปฐมพยาบาลเมื่อลูกมีอาการชักไม่ใช่การงัดปาก หรือใช้ช้อนงัดปากเด็ดขาด แต่เป็นการจัดท่าเพื่อให้ลูกไม่สำลัก ส่วนเด็กที่มีอาการของโรคลมชัก ไม่ควรที่จะหยุดยาเอง ห้ามปล่อยเด็กว่ายน้ำเพียงลำพัง และควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก
บทความที่เกี่ยวข้อง :
สังเกตอย่างไร? ว่า ลูกเป็นออทิสติก พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงต่อโรคนี้
โรคไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก และผลกระทบของโรคต่อพัฒนาการของลูก
ป้องกันลูกรัก จากโควิด-19 หากลูกติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร
ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ
เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!