ขึ้นชื่อว่า “โรคมะเร็ง” เมื่อได้ยินแล้วคงไม่ใช่เรื่องดีแน่ หากรู้ตัวช้าอาจหมายความว่า “อันตรายถึงชีวิต” มะเร็งช่องปาก ก็เช่นกัน หากเป็นแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ปล่อยไว้นานอาจทำให้ปากทะลุได้! วันนี้จะพาไปดูสาระน่ารู้ เกี่ยวกับโรคมะเร็งช่องปากกัน ภัยร้ายที่ไม่ควรปล่อยไว้
มะเร็งช่องปาก เป็นอย่างไร?
มะเร็งช่องปาก เป็นเนื้อร้ายที่เกิดและเติบโตขึ้น ในส่วนใดส่วนหนึ่งของช่องปาก ซึ่งเซลล์มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งภายในปาก ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก หรือ พื้นปาก เซลล์มะเร็งยังสามารถเกิดบริเวณต่อมทอนซิลได้ อย่างไรก็ตาม มะเร็งช่องปาก ถือเป็นกลุ่มมะเร็งในระบบศีรษะและลำคอด้วยเช่นกัน
มะเร็งช่องปากเกิดจากอะไร?
มะเร็งช่องปาก มักเกิดจากความผิดปกติของการเติบโตของเซลล์ ทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์ การกลายพันธุ์ของเซลล์จะทำให้เกิดเซลล์มะเร็งที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเซลล์กลายสภาพมาเป็นเนื้อร้าย และเกิดการแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่น ๆ ในที่สุด เช่น บริเวณลำคอ หรือ ศีรษะ แต่ทั้งนี้ ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งช่องปาก
บทความที่น่าสนใจ โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร วิธีสังเกตตัวเอง เตรียมพร้อมก่อนสายเกินแก้!
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก
- การสูบบุหรี่ สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็ง ได้มากกว่าปกติถึง 6 เท่า
- การดื่มแอลกอฮอลมากเกินไป มีผลการศึกษาพบว่าผู้ดื่ม มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าปกติ 6 เท่า
- การบริโภคยาสูบด้วยการสูดดม การเคี้ยว หรือการจุ่ม ทำให้เกิดการพัฒนาของเซลล์มะเร็ง ในบริเวณเหงือก แก้ม ริมฝีปาก มากกว่าปกติถึง 50 เท่า
- การเคี้ยวหมาก เป็นการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งบริเวณริมฝีปาก เนื้อเยื่อปาก และเหงือก ได้มากกว่าปกติ
- หากคนในครอบครัว มีประวัติการเป็นมะเร็ง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เกิดมะเร็งกับลูกหลานได้
- การได้รับแสงอาทิตย์มากเกินไป โดยเฉพาะได้รับในวัยเด็ก
- โรคติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) เป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งบริเวณอวัยวะเพศชาย
อาการของโรคมะเร็งช่องปาก
หากผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าในช่องปากมีรอยสีขาว หรือสีแดงปรากฏอยู่ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการโรคมะเร็งปาก หรือมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้
- มีอาการบวม โต ของก้อนเนื้อ หรือแผล บริเวณริมฝีปาก เหงือก หรือส่วนอื่น ๆ ในช่องปาก
- พบร่องรอยสีขาว แดง หรือขาวปนแดง มีลักษณะคล้ายกำมะหยี่
- มีเลือดไหลในช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกคล้ายกับมีอะไรติดอยู่ในลำคอ
- มีอาการชาที่บริเวณใบหน้า ปาก หรือลำคอ หรือมีอาการเจ็บปวด โดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีเลือดออกง่ายในช่องปาก ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- เกิดการเปลี่ยนแปลงของการสบฟัน ตัวเนื้อฟัน และการเคี้ยว
- มีอาการเจ็บคอเรื้อรัง เสี่ยงเปลี่ยน เสียงแหบ
- มีอาการเจ็บที่หู
- มีปัญหาในการกลืนอาหาร หรือเคี้ยวอาหาร
- มีปัญหาในการพูดคุย และเคลื่อนไหวของกราม หรือลิ้น
- น้ำหนักลดลงมากผิดปกติ
การรักษามะเร็งช่องปาก
การรักษามะเร็งในช่องปากมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สุขภาพ ระยะ และความรุนแรงของโรค เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้การรักษา อาจมีการผสมผสานหลาย ๆ วิธีการรักษา ซึ่งการรักษามะเร็งช่องปาก ประกอบด้วยหลายวิธี ดังนี้
เป็นวิธีการรักษาโดยอาจมีความเสี่ยงติดเชื้อ หรือมีภาวะเลือดออก และยังส่งผลต่อรูปลักษณ์ หน้าตา รวมถึงพฤติกรรมการดื่ม การกิน หรือการพูดคุยของผู้ป่วยได้ ดังนั้นผู้ป่วย ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อให้สามารถดื่ม และ รับประทานอาหาร ได้อย่างปกติ
การรักษาด้วยการใช้รังสี หรือ การฉายแสง เป็นการใช้ในผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะใช้ภายหลังการผ่าตัด และใช้พร้อม ๆ กับการทำเคมีบำบัด เพื่อเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งจะเป็นการฉายรังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่อาจมีผลข้างเคียงตามมา
เป็นวิธีการรักษาโดยการไปยับยั้งและทำลาย กระบวนการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะสามารถทำร่วมกับรังสีรักษา ในกรณีที่เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายออกไป หรือมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำในผู้ป่วยบางราย แต่อย่างไรก็ตาม การทำเคมีบำบัด อาจทำลายเซลล์ปกติในร่างกายด้วยเช่นกัน
-
การใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง
ปัจจุบันการใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง เป็นการรักษากลุ่มมะเร็ง ในระบบศีรษะและลำคอ โดยจะทำหน้าที่ในการเข้าไปหยุดยั้งการทำงาน ของโปรตีนในเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยวิธีนี้ ยังสามารถทำร่วมกับการทำเคมีบำบัด หรือ การทำรังสีรักษา ได้อีกด้วย
วิธีป้องกันมะเร็งช่องปาก
เนื่องจากในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่มาของมะเร็งช่องปากที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอน แต่สามารถลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดมะเร็งช่องปากได้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการทำให้เกิดการระคายเคืองในปาก
- หลีกเลี่ยง หรือ เลิก ใช้ยาสูบ ไม่ว่าจะเป็นการสูบ หรือเคี้ยว เพราะอาจทำให้เซลล์ในปาก เกิดพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยควรเลือกทานผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยลดการเกิดมะเร็งช่องปาก
- เข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจสภาพช่องปากอยู่เสมอ ๆ
- หลีกเลี่ยงสัมผัสแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะในส่วนริมฝีปาก หรือ ใช้วิธีการทาลิปบาล์ม ที่มีส่วนผสมของการป้องกันแสงแดด
มะเร็งช่องปาก แม้พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็เป็นโรคร้ายแรงที่มีโอกาสรักษาให้หายได้ยาก ดังนั้นผู้ป่วยที่สงสัย และมีอาการสุ่มเสี่ยง ว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งช่องปากหรือไม่ ให้รีบเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยทันที หากรู้ตัวเร็ว โอกาสในการรักษาก็มีมาก หากรู้ตัวช้า อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ หากมะเร็งมีการลุกลาม
ที่มาข้อมูล : pobpad MU DENT FACULTY OF DENTISTRY
บทความที่น่าสนใจ :
มะเร็งมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง คุ้มครองอะไรได้บ้าง
มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง อันตรายถ้าไม่รีบตรวจ?
อะไรคือ Top 6 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “มะเร็งปากมดลูก”
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!