X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โอเมก้า 6 อันตรายต่อคนท้องจริงหรือไม่ ? แม่ท้องควรระวัง กันไว้ดีกว่าแก้

บทความ 8 นาที
โอเมก้า 6 อันตรายต่อคนท้องจริงหรือไม่ ? แม่ท้องควรระวัง กันไว้ดีกว่าแก้

สารอาหารอย่าง โอเมก้า 6 หนึ่งในกรดไขมันที่เรามักจะได้ยินว่าเป็นส่วนผสมหนึ่งของผลิตภัณฑ์นมต่าง ๆ มาดูกันดีกว่าความจริงแล้ว โอเมก้า 6 นั้นดีจริงหรือไม่ และมีผลกระทบอะไรต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือทารกหรือเปล่า เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันก่อนที่จะรับประทาน ไปดูกัน

 

กรดไขมัน โอเมก้า 6 คืออะไร ?

โอเมก้า 6 หรือ Omega-6  เป็นไขมันอิ่มตัวชนิดหนึ่งที่พบในน้ำมันพืช ถั่ว และเมล็ดพืช หากทานในปริมาณที่เหมาะสมนั้นสามารถทดแทนไขมันอิ่มตัวที่พบในสัตว์และผลิตภัณฑ์นมได้ สำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ โดยร่างกายของมนุษย์เรานั้นไม่สามารถสร้างกรดไขมันโอเมก้า 6 ได้ เช่นเดียวกับกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งทั้งสองจัดอยู่ในประเภทกรดไขมันที่จำเป็น (EFA) และอยู่ในกลุ่มของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : โอเมก้า 3 ดีต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างไร? พบในอาหารประเภทไหน?

 

ร่างกายของเราต้องการโอเมก้า 6 มากแค่ไหน?

สำหรับการรับประทานโอเมก้า 6 นั้นปริมาณในการทานเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจึงต้องเลือกรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • ผู้หญิงอายุ 19-50 ปี ควรบริโภค 12 กรัมต่อวัน
  • ผู้ชายอายุ 19-50 ปี ควรบริโภค 17 กรัมต่อวัน
  • ผู้หญิงอายุ 51 ปีขึ้นไป ควรบริโภค 11 กรัมต่อวัน
  • ผู้ชายอายุ 51 ปีขึ้นไป ควรบริโภค 14 กรัมต่อวัน

 

โอเมก้า 6

 

อาหารใดบ้างที่มีกรดโอเมก้า 6

เนื่องจากร่างกายของเราไม่สามารถสร้างโอเมก้า 6 ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องรับประทานอาหารเพื่อให้ได้รับโอเมก้า 6 รวมถึงกรดไลโนเลอิกที่พบในกรดไขมันโอเมก้า 6 และ 3 ด้วย มาดูกันดีกว่าอาหารประเภทไหนบ้างที่มีโอเมก้า 6

  • วอลนัต

พืชตระกูลถั่วที่เป็นที่นิยม และอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ อาทิ ไฟเบอร์ และแร่ธาตุต่าง ๆ อย่าง แมงกานีส ทองแดง ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และกรดไขมันโอเมก้า 6

  • น้ำมันดอกคำฝอย

น้ำมันดอกคำฝอย เป็นน้ำมันสำหรับปรุงอาหารประเภทผัด และยังสามารถใช้ประกอบอาหารอย่างอื่นได้ อาทิ ขนมอบ น้ำสลัด และซอสต่าง ๆ โดยน้ำมันดอกคำฝอยนั้นมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง หรือมีปริมาณโอเมก้า 6 สู้งนั่นเอง

  • เต้าหู้

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วเหลืองที่ให้สารอาหารสำคัญหลายชนิด โดยเต้าหู้นั้นอุดมไปด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมงกานีส และโอเมก้า 6

บทความที่เกี่ยวข้อง : เต้าหู้สุดยอดอาหารสำหรับเด็ก จริงเหรอ? กินได้ตั้งแต่เล็กจนโต

 

โอเมก้า 6 2

 

  • เมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันถือเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญต่าง ๆ รวมถึงมีวิตามินอี และซีลีเนียมที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันความเสียหายของเซลล์ การอักเสบ และโรคเรื้อรังได้

  • เนยถั่ว

ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วลิสง ที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ และสารอาหารอื่น ๆ เช่น ไนอาซิน แมงกานีส วิตามินเอ แมกนีเซียม และโอเมก้า 6 ที่พบในพืชตระกูลถั่ว

  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์

พืชตระกูลถั่วอีกชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยทองแดง แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส และวิตามินอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วพืชตระกูลถั่วส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของไขมันอิ่มตัวอย่างโอเมก้า 3 และ 6 อยู่ด้วยเช่นกัน

  • ไข่

แหล่งรวมของสารอาหารที่จะขาดไม่ได้ เพราะนอกจากจะมีโปรตีน ซีลีเนียม ไรโบฟลาวิน และวิตามินอื่น ๆ แล้วยังอุดมไปด้วยโอเมก้า 6 เรียกได้ว่าทานอย่างเดียวได้ครบเกือบทุกสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเลยทีเดียว

โอเมก้า 6 ในไข่

 

สิ่งที่คุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า 6

 

1. โอเมก้า 6 ไม่ได้ช่วยเรื่องโรคหัวใจ

การรับประทานโอเมก้า 6 หรือการได้รับในปริมาณที่สูงนั้นไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ หรืออาการไม่พึงประสงค์ของความเสี่ยงเกี่ยวกับหัวใจได้ นอกจากนี้ในบางกรณีโอเมก้า 6 ชนิดต่าง ๆ อาจส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดและทำให้เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ เสียมากกว่า

 

2. ไม่สามารถป้องกันโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้

นอกจากโอเมก้า 6 จะไม่ได้ช่วยเสริมพัฒนาการทางสมองของทารกแล้ว อีกหนึ่งที่คนมักเข้าใจผิดคือกรดไขมันโอเมก้า 6 ไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส (MS) ได้เช่นกัน

 

3. ไม่ได้ช่วยให้อาการสมาธิสั้นดีขึ้น

โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD : Attention Deficit Hyperactivity Disorder นั้นไม่ได้สามารถรักษา หรือเยียวยาได้ด้วยการทานอาหารเสริมกรดโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ร่วมกันวันละ 2 ครั้งเป็นเวลาติดต่อกัน 3-6 ได้

 

4. ไม่ได้ช่วยเสริมพัฒนาการของทารก

การรับประทานโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 หรือที่เรียกว่า โดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic acid : DHA) ในนมผงสำหรับทารก และในช่วงของการตั้งครรภ์นั้นไม่ได้ช่วยให้พัฒนาการทางสมอง การมองเห็น หรือการเจริญเติบโตของทารกนั้นดีขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : DHA ดีต่อคนท้องอย่างไร? ช่วยเสริมให้ทารกในครรภ์ฉลาดจริงหรือไม่

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

Omega 6

 

5. ไม่ได้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเปลือกตาอักเสบ

ผู้ที่รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 6 ในปริมาณที่เหมาะสมพอดีนั้นสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเปลือกตาอักเสบได้ แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อการเกิดโรค โดยการเสริมโอเมก้า 6 นั้นเพียงแค่ช่วยให้อาการอักเสบต่าง ๆ ดีขึ้นได้เท่านั้น

 

6. ไม่ได้ช่วยเรื่องโรค DCD ในเด็ก

ความบกพร่องในการประสานสัมพันธ์ของร่างกาย หรือ Developmental Coordination Disorder (DCD) ในเด็กนั้นไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 6 และ 3 ร่วมกันเป็นเวลาติดต่อกันได้ เพียงแต่สามารถปรับปรุงในเรื่องของการอ่าน การสะกดคำ และพฤติกรรมบางอย่างได้

 

7. ไม่ลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน

ผู้ที่มีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 6 ในร่างกายสูงกว่าคนปกติทั่วไปนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่มีประมาณต่ำ แต่การได้รับโอเมก้า 6 ในจำนวนที่มากขึ้นจากอาหารเสริม หรือการรับประทานอาหารนั้นไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน

 

8. ลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง

คนที่มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ที่มีการรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า 6 ในปริมาณที่มากนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงน้อยลง แต่การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 6 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของความดันโลหิตที่สูงมากขึ้น

 

9. ไม่มีส่วนช่วยเรื่องความจำเสื่อม

โรคความจำเสื่อม และทักษะการคิดการตัดสินใจช้านั้นมักจะเกิดขึ้นตามวัยของมนุษย์ จากผลการวิจัยหนึ่งพบว่าการรับประทานโอเมก้า 6 ในปริมาณที่มากกว่าที่มีในอาหารนั้น ไม่สามารถช่วยป้องกัน หรือชะลอโรคความจำเสื่อมได้

 

อาหารคนท้อง omega

 

ผลข้างเคียงของโอเมก้า 6 ในคนท้องและทารกคืออะไร?

ไม่ใช่ว่าการทานกรดไขมันโอเมก้า 6 นั้นจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย แต่ทุกอย่างย่อมมีผลข้างเคียง โดยปกติแล้วเรามักจะได้รับโอเมก้า 6 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่เรารับประทานต่อวันอยู่แล้วประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของแคลอรีต่อวัน ซึ่งหากมีร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงของการให้นมบุตรนั้นได้รับปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 6 มากจนเกินไปนั้นอาจส่งผลต่อทารก ดังต่อไปนี้

 

  • ทารกตัวเล็ก : หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เมื่อคลอด หรือทารกอาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบได้
  • โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง : (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) กรดไขมันโอเมก้า 6 อาจทำให้หายใจลำบากขึ้น หากคุณแม่หรือทารกมีอาการของโรคดังกล่าวไม่ควรรับประทานอาหารเสริมเด็ดขาด
  • โรคเบาหวาน : การบริโภคโอเมก้า 6 ในปริมาณมากในอาหารนั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย หรือคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานได้
  • ไตรกลีเซอไรด์สูง : หากคุณเป็นคนที่มีค่าไตรกลีเซอไรด์สูงอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากโอเมก้า 6 จะทำให้มีค่าสูงขึ้นไปอีก

 

น้ำมันปลาคนท้อง

 

ถึงอย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าโอเมก้า 6 นั้นจะเป็นอันตรายต่อร่างกายเพียงอย่างเดียว ในทางกลับกันหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมก็มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราได้เช่นกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับคุณแม่ที่กำลังต้องการทานอาหารเสริมโอเมก้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โอเมก้า 3 หรือโอเมก้า 6 ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และทารกในครรภ์นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ประโยชน์ของแมกนีเซียม ดีต่อคนท้องอย่างไร ? ส่งผลต่อทารกอย่างไรบ้าง

แมงกานีส ทำไมคนท้องต้องกิน ดีอย่างไร หาทานได้จากอาหารชนิดไหนบ้าง

วิตามินบี 1 ขาดแล้วอาจเสียชีวิตจริงไหม แล้วดีต่อแม่ท้องอย่างไร?

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวกับโอเมก้า 6 ได้ที่นี่ !

โอเมก้า 6 คืออะไรคะ พบได้ในอาหารประเภทไหนบ้าง

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • โอเมก้า 6 อันตรายต่อคนท้องจริงหรือไม่ ? แม่ท้องควรระวัง กันไว้ดีกว่าแก้
แชร์ :
  • 50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

    50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

  • คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

    คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • 50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

    50 ชื่อลูกชายจากนักแข่งรถ F1 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ชื่อลูกแบบคนมุ่งมั่น

  • คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

    คนท้องกินฝรั่งแช่บ๊วยได้ไหม ชอบกินต้องหยุด เสี่ยงสารเคมีหลายตัว !

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ