วิจัยเผย คนมีคู่ โอกาสเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 น้อยกว่าคนโสด !
ในปี 2566 พบว่าคนไทย ป่วยเบาหวานสะสม 3.3 ล้านคน ปี 66 พบป่วยใหม่เพิ่ม 3 แสนคน และโรคเบาหวานก็เข้าใกล้เรามากขึ้นในทุก ๆ วันไม่ว่าจากกิจกรรมที่ทำ อาหารที่กิน หรือปัจจัยอื่น ๆ แต่สำหรับคู่ที่แต่งงานแล้วเรียกว่าเจอข่าวดีแน่นอน เพราะ วิจัยเผย คนมีคู่ โอกาสเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 น้อยกว่าคนโสด!
จากการวิจัยล่าสุดเผยว่า คนมีคู่ ไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีความสุข หรือไม่มีความสุขมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 น้อยกว่าคนโสด เพราะการแต่งงาน หรือมีชีวิตคู่ร่วมกับคู่รักจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ
โดยวิจัยนี้ได้ศึกษาความสุข รายได้ และสุขภาพ เปรียบเทียบระหว่างคู่แต่งงาน และคนโสดรวมถึงยังมีการตรวจสอบเรื่องโรคอัมพฤกษ์ และโรคหัวใจ กล่าวก็คือคนที่มีคู่ หรือคนที่แต่งงานจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ น้อยกว่า และสุขภาพดีกว่า เพราะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
โดยวิจัยนี้ได้ถูกศึกษาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลักเซมเบิร์ก (University of Luxembourg) และ มหาวิทยาลัยออตตาวา (University of Ottawa) พบว่าคนที่อยู่กับคู่แต่งงานระดับน้ำตาลในเลือดจะคงที่มากกว่าคนอื่น โดยไม่เกี่ยวว่าบุคคลเหล่านั้นจะอยู่ในความสัมพันธ์ที่ทุกข์ หรือสุขก็ตาม
นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากผู้ใหญ่จำนวน 3,335 โดยมีอายุระหว่าง 50 ถึง 89 ปี โดยเป็นคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน โดยวิจัยนี้ได้เผยแพร่ในนิตยสาร BMJ Open Diabetes Research & Care และได้นำข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างเลือดซึ่งมีการวัดระดับ HbA1c (การตรวจวัดค่าเฉลี่ยของน้ำตาล)
โดยการวิจัยจะมีการสอบถามแบบสำรวจทั้งสถานะความสัมพันธ์ว่าผู้เข้าร่วมวิจัยโสด หรือแต่งงานโดย 76% ของผู้คนในการวิเคราะห์นั้นอยู่ในสถานะแต่งงาน หรืออยู่ร่วมกับคนรัก นักวิจัยพบว่า คนที่แต่งงานแล้ว หรืออยู่กับคู่รักนั้นผลการตรวจวัดค่าเฉลี่ยของน้ำตาลนั้นมีผลที่ดีมากกว่าคนโสด หรืออยู่คนเดียว ซึ่งอาจจะเกิดจากการรับประทานอาหารร่วมกัน การเตือนอีกฝ่ายว่าทานน้ำตาลเยอะไปแล้ว หรือมีการตรวจสอบอาหารที่อีกฝ่ายทานอยู่เรื่อย ๆ
นอกจากนี้ข้อมูลของ Diabetes UK มีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 4.9 ล้านคนในสหราชอาณาจักร (United Kingdom) โดยมีประมาณ 850,000 คนที่มีเบาหวานชนิดที่ 2 และในปีที่ผ่านมาพบว่า การแต่งงานที่มีความสุขมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจสุขภาพดีขึ้น และนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเยล ( Yale University) พบว่าความสัมพันธ์ที่มีความสุขนั้นจะทำให้สุขภาพของผู้ป่วยที่เจ็บหน้าอกดีขึ้น แต่ถ้าอยู่ในความสัมพันธ์ที่เครียดก็เป็นผลแย่ต่อการฟื้นฟูร่างกาย เพราะฉะนั้นจากการิจัยที่เกิดขึ้นก็เป็นข่าวดีสำหรับคู่รักที่อยู่ด้วยกัน เพราะเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้อยกว่า และถ้าอยู่ในความสัมพันธ์ที่ดีก็จะช่วยทำให้ร่างกายของแต่ละคนนั้นแข็งแรงขึ้นได้อีกด้วย
โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน เป็นภาวะของร่างกายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง อันเกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือเกิดจากการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้เกิดกระบวนการดูดซึมของน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ หรือทำงานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพจนทำให้น้ำตาลสะสมในเลือดมีปริมาณที่มากจนเกินไป
หากว่าเราปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนั้นเป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของเราเสื่อมลง ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ และมีอาการเกิดขึ้นได้ แนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เช่นการตรวจสุขภาพประจำปีการตรวจสุขภาพเข้าใจร่างกายของเรามากที่สุดค่ะ
สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากอะไร?
โรคเบาหวานนั้นมีอยู่หลายประเภท และสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- เบาหวาน ประเภทที่ 1 : เกิดจากที่ตับอ่อนไม่สามารถที่จะผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
- เบาหวานประเภทที่ 2 : เกิดจากที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรืออาจจะเกิดการดื้ออินซูลินก็เป็นได้
- เบาหวานประเภทที่ 3 : เป็นโรคเบาหวานที่ไม่ค่อยพบบ่อยสักเท่าไหร่นั้นก็คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือแบบโมโนเจนิก และยังมีโรคเบาหวานที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน
อาการของโรคเบาหวาน
-
ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก
เมื่อร่างกายของเรา ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และไตของเรา ก็จะไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินได้ จึงส่งผลให้น้ำตาลส่วนเกิน ตีกลับเข้าสู่เส้นเลือด จึงมีความจำเป็นที่ต้องปล่อยออกมา พร้อมกับน้ำปัสสาวะ
เมื่อร่างกายเราขับน้ำออกบ่อย จากการปัสสาวะ ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องชดเชยน้ำที่เสียไป จึงทำให้เกิดอาการอยากดื่มน้ำ กระหายน้ำ บ่อยกว่าปกตินั่นเอง
เมื่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย ทำงานได้ไม่ปกติ ทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนตัวนี้ เซลล์ต่าง ๆ ของเรา จึงไม่ได้รับพลังงาน ทำให้ร่างกาย พยายามหาแหล่งอาหารจากที่อื่น ด้วยการส่งสัญญาณว่าต้องการอาหาร ทำให้เกิดอาการหิวบ่อย
เมื่อน้ำตาลในเลือดของเรา ไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ร่างกาย เพื่อทำการเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงมีความอ่อนเพลียได้ง่าย
การขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายได้นำเอาไปใช้ได้ จึ่งทำให้ร่างกายดึงเอาโปรตีน และไขมันมาใช้แทน
การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในจอตา เกิดอาการผิดปกติ หรือมีระดับน้ำตาลสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความผิดปกติที่จอตา อาจส่งผลรุนแรงถึงปัญหาสายตาในระยะยาว และอาจส่งผลให้ตาบอดได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานคืออะไร?
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมีอยู่ 5 ปัจจัย ดังนี้
1. ประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้โดยที่ลูกที่มีพ่อหรือแม่ที่เป็นเบาหวาน ก็จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากถึงร้อยละ 30 หากพ่อและแม่เป็นเบาหวานลูกมีโอกาสสูงที่จะเป็นเบาหวานมากถึงร้อยละ 60 ทั้งนี้ระดับความรุนแรงในการถ่ายทอดของโรคเบาหวานทางพันธุกรรมมักจะแตกต่างกันออกไป การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ
2. ไขมันในเส้นเลือดสูง
ความดื้อต่ออินซูลินทำให้เป็นไขมันในเส้นเลือดสูง หากตรวจพบว่าไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น และไขมันที่เป็นเอชดีแอลลดลง จะเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายว่า ร่างกายมีความดื้ออินซูลินมากขึ้น
3. มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
ความอ้วนเป็นตัวร้ายที่กระตุ้นให้ยีนดื้อต่ออินซูลินให้ปรากฏออกมา ในปัจจุบันพบว่าจำนวนของคนอ้วนนั้นมีมากขึ้น และคาดการณ์ว่าจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมเรื่องอาหารการกิน การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน ตลอดไปจนถึงการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ทำให้ร่างกายใช่พลังงานลดลง และเมื่อเราให้พลังงานของร่างกายลดลงแต่เราก็ยังรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิม จึงก่อให้เกิดความไม่สมดุล และกระตุ้นให้เกิดการดื้อของอินซูลิน
4. ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงนับเป็นปัจจัยหลักเลยสำหรับการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น เริ่มต้นจากความผิดปกติที่เกิดจากไต หรือจากตะกรันที่หลอดเลือดซึ่งทำให้หลอดเลือดนั้นเกิดการต้านทานมากยิ่งขึ้น หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดให้แรงขึ้น ส่งผลทำให้ความดันโลหิตตามมา ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงจึงควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดอยู่อย่างสม่ำเสมอ
5. อายุที่เพิ่มขึ้น
เป็นธรรมชาติของร่างกายที่มีความดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สม่ำเสมอ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
น้ำตาลเทียม ปลอดภัยสำหรับคนท้องหรือไม่? สารให้ความหวานเทียม คืออะไร?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรดี มีผลกับลูกในท้องหรือไม่
วันเบาหวานโลก 14 พฤศจิกายนของทุกปี โรคที่ผู้สูงอายุป่วยเป็นอันดับที่ 2
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Independent, พบแพทย์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!