คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครบ 40 สัปดาห์แล้ว แต่ยังไม่มีอาการเจ็บท้อง มาดูกันค่ะ ว่ามีวิธีการกระตุ้นการเจ็บท้องคลอด หรือ วิธีการเร่งคลอด อะไรบ้าง ติดตามอ่านค่ะ
ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังไม่คลอดสักที การเร่งคลอด มีอะไรบ้าง?
ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังไม่คลอดสักที วิธีการเร่งคลอด มีอะไรบ้าง?
วิธีเร่งคลอดแบบธรรมชาติ
เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์แล้ว แต่ยังไม่มีอาการเจ็บท้องแต่อย่างใด การเร่ง คลอดแบบธรรมชาติ ด้วยตัวคุณแม่เอง ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนนะคะ เพื่อความปลอดภัย วิธีการเร่งคลอดแบบธรรมชาติ สามารถทำได้ ดังนี้
1. เดินเล่นช้า ๆ การเดินเล่นจะช่วยให้คุณแม่เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้น ทำให้ตำแหน่งของทารกเคลื่อนต่ำลงมา อยู่ในตำแหน่งการคลอดโดยมีศีรษะเป็นส่วนนำ
2. การมีเพศสัมพันธ์ ช่วยกระตุ้นการเจ็บท้องคลอดให้เร็วขึ้นได้ เพราะมีการกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัว การมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก เป็นเทคนิคเก่าแก่ที่บอกต่อกันว่า สามารถช่วยให้คุณแม่เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้นได้ แต่ถ้าคุณแม่เริ่มมีน้ำเดินแล้ว ห้ามมีเพศสัมพันธ์เป็นอันขาด เพราะจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ท่าที่เหมาะสมในช่วงที่คุณแม่ท้องแก่ คือ ท่าตะแคง
3. การนวดเต้านมอย่างแผ่วเบา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหัวนม จะกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซิน คุณแม่ควรใช้ฝ่ามือ นวดบริเวณลานนมอย่างนุ่มนวลสัก 15 – 20 นาทีทุก ๆ ชั่วโมง วันละหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้มีการหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซิน ซึ่งมีผลต่อการเร่งการเจ็บท้องคลอดของครรภ์ที่เกินกำหนด
4. ดื่มชาใบราสเบอร์รี่ แม้จะมีคำเล่าลือว่า การดื่มชาใบราสเบอรี่ มีส่วนช่วยกระตุ้นให้คุณแม่เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้น และชาชนิดนี้มีความปลอดภัย จนคุณแม่สามารถจิบชาได้ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ แต่ก็ขอแนะนำให้คุณแม่รอจนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์ แต่ควรปรึกษาสูติแพทย์ก่อนดื่ม
วิธีเร่งคลอดโดยแพทย์
การดื่มชาใบราสเบอรี่ มีส่วนช่วยกระตุ้นให้คุณแม่เจ็บท้องคลอดเร็วขึ้น
1. การกวาดปากมดลูก (Membrane sweep)
วิธีการนี้จะคล้าย ๆ กับการตรวจภายใน เพราะคุณหมอจะใช้นิ้วกวาดบริเวณปากมดลูก เพื่อค่อย ๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้มีเจ็บท้องคลอด หากทำสำเร็จ จะเริ่มเจ็บท้องภายใน 24 – 48 ชั่วโมง แต่วิธีการนี้อาจจะใช้ไม่ได้ผลเสมอไปนะคะ
2. การเจาะถุงน้ำคร่ำ
วิธีการนี้ คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีหน้าตาคล้ายกับเข็มถักโครเช เพื่อเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกเป็นการกระตุ้นคลอดทำให้มดลูกหดรัดตัว แต่วิธีนี้ก็ไม่ยืนยันว่าจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์
การกวาดปากมดลูก หากทำสำเร็จ จะเริ่มเจ็บท้องภายใน 24 – 48 ชั่วโมง
3. การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)
วิธีการนี้ คุณหมอจะใช้ฮอร์โมนในรูปของเจลหรือยา เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ โดยเหน็บช่องคลอดโดยสอดเข้าไปที่บริเวณคอมดลูก เพื่อกระตุ้นการเจ็บครรภ์
4. ยาเร่งคลอด (Syntocinon)
วิธีการใช้ยาเร่งคลอด จะให้ผ่านสายน้ำเกลือ อาจกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกค่อนข้างแรง ดังนั้น คุณแม่จึงอาจต้องใช้การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังเพื่อระงับความเจ็บปวดด้วย วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการเจาะถุงน้ำคร่ำ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่านั่งเร่งคลอด นั่งท่าไหนช่วย มดลูกเปิดเร็ว ลดอาการเจ็บคลอด
ยาเร่งคลอด จะให้ผ่านสายน้ำเกลือ อาจกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกค่อนข้างแรง
ความแตกต่างระหว่างการคลอดธรรมชาติและวิธีเร่งคลอด
ความรู้สึกเจ็บครรภ์คลอดจากการเร่งคลอด จะไม่ได้แตกต่างจากการคลอดเองตามธรรมชาติเท่าใดนัก เนื่องจาก
1. คุณแม่ยังสามารถควบคุม และกำหนดลมหายใจตามจังหวะการเบ่งคลอดได้ ทั้งยังเบ่งคลอดได้เต็มที่ แต่ถ้าคุณแม่เจ็บปวดมาก คุณหมออาจให้ฉีดยาชาที่ไขสันหลังหรือให้ยาแก้ปวดอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด
2. สำหรับการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่คุณแม่จะสามารถคลอดได้เอง เนื่องจากปากมดลูกมีความพร้อมอย่างเต็มที่ โดยจะมีลักษณะนุ่มมาก เมื่อมดลูกบีบรัดตัว ปากมดลูกก็จะเปิดขยายออกอย่างรวดเร็ว
3. ในขณะที่การเร่งคลอด ถึงแม้จะกระตุ้นให้มดลูกมีการบีบตัวได้สม่ำเสมอก็จริง แต่บางครั้ง ปากมดลูกยังนุ่มไม่พอ ก็ไม่สามารถขยายตัวเปิดได้ตามปกติ จึงทำให้ไม่สามารถคลอดเองได้ โอกาสที่จะถูกผ่าคลอดตามมาจึงมีสูงกว่า คุณแม่ที่เจ็บครรภ์คลอดเองตามธรรมชาติ
ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า การเร่งคลอดคืออะไร มีวิธีการเร่งคลอดทั้งแบบธรรมชาติ และเร่งคลอดโดยแพทย์ แตกต่างกันอย่างไร แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะหากช่วงระยะเวลาที่ใกล้คลอดแล้ว คุณหมอจะนัดตรวจถี่ขึ้นเพื่อตรวจเช็คอาการ ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้แนะนำค่ะว่าต้องทำอย่างไร ตอนนี้คือดูแลสุขภาพของคุณแม่ให้ดีที่สุด เพื่ออีกไม่นานจะได้พบหน้าลูกน้อยแล้วนะคะ
หากช่วงระยะเวลาที่ใกล้คลอดแล้ว คุณหมอจะนัดตรวจถี่ขึ้นเพื่อตรวจเช็คอาการ
อ้างอิงข้อมูลจาก :
https://www.ladysquare.com
https://frynn.com
https://www.hiqkidsclub.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
ปากมดลูกเปิดเป็นยังไง สัญญาณใกล้คลอดที่ควรรู้
โรคออทิซึม (Autism) เกี่ยวโยงกับการเร่งคลอด
ยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร อันตรายกับแม่ท้องมากไหม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!