X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคถุงน้ำในอัณฑะ โรคที่พบบ่อยในเด็ก มีวิธีรักษาอย่างไร อันตรายไหม ?

บทความ 5 นาที
โรคถุงน้ำในอัณฑะ โรคที่พบบ่อยในเด็ก มีวิธีรักษาอย่างไร อันตรายไหม ?

โรคถุงน้ำลูกอัณฑะเป็นภาวะที่มีการสะสมของน้ำอยู่รอบ ๆ ลูกอัณฑะ ส่งผลให้ถุงอัณฑะโป่งพองออกมา ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่สาเหตุของการเกิดนั้นจะแตกต่างกัน ส่วนใหญ่มักพบบ่อยในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยโรคนี้ไม่ได้มีอันตรายเท่าไรนัก และส่วนใหญ่มักจะหายได้เองไม่ต้องเข้ารับการรักษาอะไรเลยค่ะ วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับ โรคถุงน้ำในอัณฑะ มาฝากทุก ๆ คน รวมถึงวิธีการรับมือต่าง ๆ จะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้างตามไปอ่านต่อด้านล่างได้เลยค่ะ 

 

อาการของ โรคถุงน้ำในอัณฑะ เป็นอย่างไร ?

อย่างที่ได้เกริ่นไปข้างต้นนะคะว่าโรคถุงน้ำในอัณฑะมักพบได้บ่อยในเด็ก โดยปกติแล้วลูกอัณฑะมีเยื่อห่อหุ้มอยู่ 2 ชั้น และมีช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มทั้ง 2 ชั้น ซึ่งตรงนี้จะมีของเหลวเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพื่อช่วยในการหล่อลื่น แต่บางครั้งก็มีของเหลวอยู่ในช่องนั้นเป็นจำนวนมากได้เหมือนกัน จึงทำให้กลายเป็นถุงน้ำหรือที่เราเรียกว่า “ถุงน้ำในลูกอัณฑะ” อาการโดยรวมจะมีลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ ที่ลูกอัณฑะข้างหนึ่งข้างใด โดยจะไม่ยุบหายไม่ว่าจะอยู่ในท่าใดก็ตาม เมื่อใช้ไฟฉายส่องจะเห็นเป็นแบบโปร่งแสงและภายในจะมีของเหลวใสที่สามารถเจาะดูดออกให้ยุบได้ แต่ไม่ช้ามันก็โตขึ้นอีกเหมือนเดิมค่ะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุหรือเกิดภายหลังได้รับบาดเจ็บหรือมีการอักเสบของลูกอัณฑะก็ได้เช่นกัน

 

โรคถุงน้ำในอัณฑะ

Advertisement

 

สำหรับโรคนี้อาจจะพบได้ในผู้ชายทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงคนสูงอายุเลยค่ะ โดยโรคนี้ส่วนใหญ่แล้ว มักจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ นอกจากมันจะโตมาก ๆ จนทำให้รู้สึกเดินไม่ถนัดหรือปัสสาวะไม่สะดวกค่ะ

ในส่วนของวิธีการรักษา ถ้าเกิดขึ้นในเด็กเล็กก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลยค่ะ เพราะมันสามารถหายได้เองเมื่อเด็กอายุเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าในกรณีที่มันโตมากหรือไม่ยอมยุบหาย แนะนำไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลอย่าปล่อยเรื้อรัง ส่วนในรายที่ผ่าตัดไม่ได้อย่างเช่นคนสูงอายุที่อาจเสี่ยงต่อการผ่าตัด ก็สามารถรักษาได้ด้วยการใช้เข็มเจาะดูดเอาน้ำออก แต่มันเป็นการช่วยให้ยุบหายเพียงชั่วคราวเท่านั้น ภายในไม่กี่เดือนก็อาจกลับมาโตได้อีก

บทความที่เกี่ยวข้อง : เส้นเลือดขอดในถุงอัณฑะ ของคุณผู้ชาย อีกปัจจัยทำให้ มีลูกยาก

 

สาเหตุของโรคถุงน้ำในอัณฑะ

โรคถุงน้ำลูกอัณฑะในเด็ก เริ่มเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงที่ทารกมีพัฒนาการในครรภ์ของคุณแม่ เพราะปกติร่างกายจะสร้างถุงน้ำหุ้มล้อมรอบลูกอัณฑะ หลังจากนั้นถุงอัณฑะจะปิดตัวแล้วของเหลวจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายช่วง 1 ปีแรกของการคลอด แต่เด็กที่มีภาวะโรคถุงน้ำลูกอัณฑะในเด็กจะเกิดความผิดปกติภายในถุงอัณฑะ โดยแบ่งออกสาเหตุดังนี้

 

โรคถุงน้ำในอัณฑะ

 

  • ถุงน้ำอัณฑะชนิดไม่ติดต่อกับช่องท้อง คือ ภาวะที่มีของเหลวติดค้างอยู่ในถุงอัณฑะหลังจากที่ถุงอัณฑะปิด แต่ของเหลวไม่ได้ถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายไปด้วย
  • ถุงน้ำอัณฑะชนิดมีทางติดต่อกับช่องท้อง เกิดขึ้นจากถุงน้ำที่ล้อมรอบลูกอัณฑะยังที่เปิดอยู่ ทำให้ของเหลวสามารถผ่านเข้าและออกภายในถุงอัณฑะได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด

สำหรับโรคถุงน้ำลูกอัณฑะในวัยผู้ใหญ่ สาเหตุหลัก ๆ มาจากถุงอัณฑะปิดตัวไม่สนิท จึงทำให้เกิดการอักเสบที่ถุงอัณฑะ พอได้รับบาดเจ็บบริเวณถุงอัณฑะ หรือติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ก็มีส่วนทำให้ของเหลวบริเวณท้องไหลเข้าสู่ถุงอัณฑะได้ ส่วนมากพบในผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี

 

การวินิจฉัยโรคถุงน้ำในอัณฑะ

เริ่มต้นแพทย์จะวินิจฉัยจากการสังเกตอาการ การตรวจร่างกายเบื้องต้น และตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจจับก้อนบวมบริเวณอัณฑะด้วยวิธีการคลำ การตรวจดูของเหลวสะสมด้วยการฉายไฟ การกดหน้าท้องพร้อมกับให้ผู้ป่วยไอเพื่อจะได้แยกอาการออกจากโรคไส้เลื่อนขาหนีบ การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ การตรวจด้วยภาพถ่ายรังสี อัลตราซาวนด์ เป็นต้น

 

โรคถุงน้ำในอัณฑะ

 

การรักษาโรคถุงน้ำในอัณฑะ

โดยทั่วไปถ้าโรคนี้เกิดในเด็กมันจะหายไปเองภายในเวลาประมาณ 1 ปี และในผู้ใหญ่จะหายเองภายใน 6 เดือน แต่ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นเลย จนถุงอัณฑะบวมทำให้ใช้ชีวิตไม่สะดวก หรืออาจจะมีอาการของโรคไส้เลื่อนร่วมด้วย ทางทีมแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายเข้ารับการผ่าตัด โดยจะฉีดยาชาและผ่าแถว ๆ ช่องท้องหรือถุงอัณฑะ เพื่อจะได้ระบายของเหลวออกจากถุงอัณฑะค่ะ

และการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคนี้ จะเป็นเพียงการผ่าตัดขนาดเล็ก ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกันหลังผ่าตัดเลยค่ะ แต่บางรายถ้ามีอาการหนักก็อาจจำเป็นจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดต่อสัก 2-3 วัน เพราะต้องใส่ท่อระบายของเหลว รวมถึงการผ่าตัดในเด็กที่จำเป็นต้องใช้วิธีการดมยาสลบและพักฟื้นเป็นเวลา 1-2 วัน

นอกจากนี้ ทางทีมแพทย์เองก็อาจเลือกใช้เข็มฉีดยาดูดของเหลวออกมาจากถุงน้ำแทนการผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อต้องผ่าตัด และบางรายอาจต้องฉีดยาเพื่อป้องกันของเหลวเข้าสู่ถุงน้ำซ้ำ โดยหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณถุงอัณฑะชั่วคราวด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการผิดปกติของอวัยวะเพศชาย ในทารก สังเกตอย่างไร? คุณแม่มาดูกัน!

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำในอัณฑะ

โรคถุงน้ำในอัณฑะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการมีบุตร แต่อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น ถุงอัณฑะขยายตัวใหญ่ขึ้น การติดเชื้อ หรือเนื้องอกที่ส่งผลต่อการผลิตรวมไปจนถึงการทำงานของอสุจิ ภาวะอัณฑะบิดขั้ว โรคไส้เลื่อนที่ขาหนีบ และอาจเป็นอันตรายจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

วิธีการป้องกันโรคถุงน้ำในอัณฑะ

วิธีการป้องกันโรคถุงอัณฑะจากการได้รับบาดเจ็บในชีวิตประจำวัน ซึ่งการเล่นกีฬามีส่วนช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคถุงอัณฑะได้ค่ะ และควรสังเกตความผิดปกติในร่างกายอยู่สม่ำเสมอ เมื่อพบว่าบริเวณถุงอัณฑะมีอาการบวมหรือเกิดความผิดปกติขึ้น ให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย รักษา และป้องกันภาวะอาการรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตให้ถูกวิธี

 

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า โรคถุงน้ำในอัณฑะ ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงเท่าไร ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเด็กหรือกับผู้ใหญ่ มันก็สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าเกิดว่ามันส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่น เดินไม่ถนัด มีอาการบวม ปัสสาวะไม่ได้ ควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วยค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ปลายอวัยวะเพศชายอักเสบ อาการที่เด็กเล็กอายุ 6-8 ปีก็เสี่ยงได้

ลูกปวดท้อง แบบไหนเป็นสัญญาณของ 4 โรคร้าย ที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลูกขวบเดียว ชอบร้องตอนอาบน้ำ มีก้อนนูนตรงขาหนีบ ไม่น่าเชื่อ! โรคนี้เด็กก็เป็นได้

ที่มา : mgronline, pobpad

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

supasini hangnak

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคถุงน้ำในอัณฑะ โรคที่พบบ่อยในเด็ก มีวิธีรักษาอย่างไร อันตรายไหม ?
แชร์ :
  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว