X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน เกิน 72 ชั่วโมง ยังทานยาคุมฉุกเฉินได้อยู่ไหม ?

บทความ 5 นาที
ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน เกิน 72 ชั่วโมง ยังทานยาคุมฉุกเฉินได้อยู่ไหม ?

ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน ยาคุมฉุกเฉินต้องกินภายใน 72 ชั่วโมงเท่านั้นหรือไม่ คุณผู้หญิงต้องรู้อะไรบ้าง หากต้องทานยาคุมฉุกเฉินตอนนี้ และวิธีการป้องกันวิธีอื่น ที่มีความปลอดภัยมากกว่า และมีประสิทธิภาพในระยะยาว

 

ยาคุมฉุกเฉินกินช้าสุดกี่วัน ?

การทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ควรทานไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น ควรทานหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หากไม่ได้มีการป้องกันในทันที เนื่องจากหากรอเวลาอาจเกิดความผิดพลาด จนเกิน 72 ชั่วโมงได้ จะทำให้ประสิทธิภาพของตัวยาคุมฉุกเฉินลดลงไปมาก เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้มากถึง 6 เท่า หากเทียบกับการทานใน 2 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว

 

หากเกิน 72 ชั่วโมงไปแล้ว ควรทำอย่างไร ?

การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นวิธีสุดท้าย และเร่งด่วนในการป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งจะยิ่งได้ผลดีขึ้นตามความเร็วในการทาน ปกติแล้วทุกกล่องจะแนะนำให้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง เพราะหากเกินเวลาไปแล้ว จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดน้อยลงอย่างมาก จนไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ จึงควรเข้ารับการตรวจครรภ์ในภายหลังด้วย หรือเตรียมพร้อมด้วยการพกยาติดตัวตลอดเวลา หรือปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์เมื่อไม่พร้อม หากอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถปฏิเสธได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?

 

วิดีโอจาก : Samitivej Hospitals

 

สิ่งที่ควรรู้หากต้องทานยาคุมฉุกเฉิน

นอกจากปัญหา ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน หรือยาคุมฉุกเฉินป้องกันได้กี่เปอร์เซ็นต์ ที่คุณผู้หญิงหลายคนอาจกำลังสงสัย เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เราจะสรุปข้อควรรู้เมื่อต้องทานยาคุมฉุกเฉิน ดังนี้

 

  • ไม่ควรทานยาคุมฉุกเฉินทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้เมื่อฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น เนื่องจากจะทำให้ประสิทธิภาพยาลดลงจนไม่สามารถคุมกำเนิดได้
  • ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน อาจมีประสิทธิภาพสูงหากทานอย่างถูกวิธี แต่ต้องทำความเข้าใจว่า ไม่สามารถป้องกันได้ครบ 100 %
  • เพื่อให้ได้ผลดีควรทานภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน แต่หากไม่สามารถทานได้ ควรทานภายหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้วไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน
  • ทานพร้อมกันทั้ง 2 เม็ด กรณีทานยาเม็ดแรกหลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 12 ชั่วโมง และค่อยทานเม็ดที่ 2 เป็นวิธีที่อาจเกิดความเสี่ยง เนื่องจากอาจทำให้ลืม หรือเกิดความสับสนว่าทานเม็ดเดียวก็ได้ จะทำให้การคุมกำเนิดล้มเหลว
  • หากหลังทานยามีอาการอาเจียนภายใน 2 ชั่วโมง จำเป็นต้องทานยาซ้ำ
  • หากทานยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว และมีเพศสัมพันธ์หลังจากนั้น ไม่ต้องทานยาเพิ่ม เพราะการทานเพิ่ม ไม่ได้มีผลให้การป้องกันมีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่อย่างใด
  • ไม่ควรทานยาคุมเกิน 4 เม็ด หรือ 2 แผง ภายใน 1 เดือน เพราะจะส่งผลเสียต่อระบบสืบพันธุ์
  • เมื่อตรวจพบการตั้งครรภ์ หรือมีอาการคล้ายการตั้งครรภ์ ไม่ควรทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอย่างเด็ดขาด
  • ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดท้อง หรือปวดศีรษะ เป็นต้น แต่หากมีอาการรุนแรงควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย
  • ถึงแม้จะใช้ยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกต้อง ก็ยังควรตรวจการตั้งครรภ์ในภายหลังเพื่อติดตามผลให้แม่นยำมากขึ้น

 

หากจะให้กล่าวถึงวิธีที่คุมกำเนิดได้มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อร่างกายของคู่รัก การใช้ยาคุมแบบฉุกเฉินอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่ควรจะใช้ ดังนั้นการมองหาวิธีการป้องกันที่ปลอดภัย หรือการเตรียมพร้อมไว้ก่อน เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ?

 

ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน

 

ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่ายาคุมฉุกเฉิน

  • ยาคุมกำเนิด : การทานยาคุมกำเนิดเป็นวิธีที่คุณผู้หญิงนิยมกัน ซึ่งต้องทานทุกวันเป็นประจำ หากลืมทานจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้ จึงต้องใช้ความมีวินัย และการเตรียมพร้อมสำหรับตัวยาในแต่ละเดือนอยู่เสมอ
  • การฉีดยาคุมกำเนิด : เหมาะกับการคุมกำเนิดในระยะยาว โดยจะต้องเข้ารับการฉีดยาคุมทุก 3 เดือน ได้ประสิทธิภาพที่สูง แต่ก็มีผลข้างเคียงตามมาด้วย เช่น ประจำเดือนมาน้อย หรือน้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อหยุดฉีดผลข้างเคียงจะหายไปภายใน 1 ปี
  • การฝังยาคุมกำเนิด : เป็นการฝังหลอดยาเล็ก ๆ ใต้ผิวหนังบริเวณด้านในของท้องแขน ใช้ได้นาน 3-5 ปี มีผลข้างเคียง เช่น ประจำเดือนมาน้อยลง
  • ถุงยางอนามัย : การใช้ถุงยางอนามัยเป็นหน้าที่ของคุณผู้ชายที่ต้องพกติดตัวไว้ ข้อดีนอกเหนือจากวิธีอื่น คือสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่ประสิทธิภาพในการกำเนิดจะลดลง หรือล้มเหลว หากใช้ไม่ถูกต้อง หรือถุงยางเกิดการชำรุด เป็นต้น

 

นอกจากวิธ๊ที่เราแนะนำไป ยังมีวิธีอื่นอีก เช่น การใช้ห่วงทองแดงคุมกำเนิด ที่มีผลข้างเคียงต่ำ ไม่ส่งผลต่อรอบประจำเดือน ใช้ได้นาน 3-5 ปี แต่ต้องพบแพทย์อยู่เรื่อย ๆ เพื่อตรวจห่วง หรือจะเป็นวิธีใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด ที่ต้องเปลี่ยนทุกสัปดาห์ และไม่ต้องแปะ 1 สัปดาห์ แต่วิธีนี้จะสร้างอาการระคายเคือง หรือความรำคาญได้ เนื่องจากต้องแปะหลายจุด

 

การคุมกำเนิดเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อมทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิง เพื่อให้สามารถป้องกันได้ ในช่วงเวลาที่ต้องการ เพื่อเลี่ยงคำว่า “ฉุกเฉิน” ให้ได้มากที่สุด เนื่องจากการใช้ยาคุมฉุกเฉินจะส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณผู้หญิงได้นั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

ทำไมกินยาคุมฉุกเฉินแล้วยังท้อง ไขข้อสงสัยยาคุมฉุกเฉินที่คนมักเข้าใจผิด

10 ข้อ ควรรู้เกี่ยวกับยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ยาคุมกำเนิด กินยังไง ลืมกินยาคุม 2 วัน ทำไงดี คุมกำเนิดแบบไหนดีที่สุด

ที่มาข้อมูล : 1 2 3 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน เกิน 72 ชั่วโมง ยังทานยาคุมฉุกเฉินได้อยู่ไหม ?
แชร์ :
  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ