X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การกินยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด 2 เม็ด ฉบับเข้าใจง่ายสำหรับคุณผู้หญิง

บทความ 5 นาที
การกินยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด 2 เม็ด ฉบับเข้าใจง่ายสำหรับคุณผู้หญิง

การกินยาคุมฉุกเฉิน (Emergency contraceptive pill) ทั้งในแบบ 1 เม็ด หรือ 2 เม็ด มีวิธีการกินที่ไม่ยาก แนะนำให้ทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง ถึงแม้จะเป็นแบบ 2 เม็ด ก็สามารถทานพร้อมกันได้ เพื่อป้องกันการลืมจนการคุมกำเนิดล้มเหลว และเรื่องอื่น ๆ ที่คุณผู้หญิงควรรู้ หากต้องใช้ยาคุมฉุกเฉิน

 

ใครบ้างที่ควรกินยาคุมฉุกเฉิน

การคุมกำเนิดทุกรูปแบบไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ครบ 100 % หากสามารถเลือกวิธีที่ปลอดภัย และทำได้อย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันได้มาก การกินยาคุมฉุกเฉิน ควรทานเมื่อจำเป็นเท่านั้น หากไม่มีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากพอ และไม่ต้องการตั้งครรภ์ ควรจะต้องทานยาคุมฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าควรใช้ยาชนิดนี้ ได้แก่

 

  • หลังผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน หรือการคุมกำเนิดใด ๆ
  • มีเพศสัมพันธ์ แต่การคุมกำเนิดล้มเหลว เช่น ใส่ถุงยางไม่ถูกต้อง, ถุงยางรั่ว หรือถุงยางแตก เป็นต้น
  • การมีเพศสัมพันธ์หลังจากขาดช่วงการคุมกำเนิด เช่น ลืมทานยาคุมแบบปกติ, เลยกำหนดการฉีดยาคุม, ห่วงคุมกำเนิดหลุด หรือยาฝังหลุด เป็นต้น
  • คำนวณวันมีเพศสัมพันธ์หน้า 7 หลัง 7 พลาด

 

จะเห็นได้ว่าความเสี่ยงที่นำไปสู่การใช้ยาคุมฉุกเฉินมีอยู่หลายต่อหลายข้อ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ความสำคัญกับการ “ป้องกัน” ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านเพศชาย หรือเพศหญิง เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการคุมกำเนิด และเลี่ยงการใช้ยาคุมฉุกเฉินซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายของฝ่ายหญิงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน เกิน 72 ชั่วโมง ยังทานยาคุมฉุกเฉินได้อยู่ไหม ?

 

วิดีโอจาก : Bhaewow

 

การกินยาคุมฉุกเฉิน

การใช้ยาคุมฉุกเฉินจะได้ผลดีที่สุด หากทานทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ โดยประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในช่วง 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามหากทานหลังจากนั้นก็ได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพอาจลดลงตามระยะเวลา และต้องทานภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน เนื่องจากหากทานหลังจากนี้ จะไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้

 

  • ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด : ทานได้ทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน แต่จะได้ผลดีที่สุดหากทานภายใน 24 ชั่วโมง
  • ยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด : ทาน 1 เม็ดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ในทันที และทานเม็ดที่ 2 หลังจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง (สามารถทานพร้อมกันทั้ง 2 เม็ดเลยได้เช่นกัน)

 

โดยปกติแล้วควรทานในรูปแบบ 1 เม็ด หรือทาน 2 เม็ดพร้อมกัน เนื่องจากการแบ่งทาน 12 ชั่วโมง อาจทำให้ลืม หรือเสี่ยงเกินเวลาได้ จะทำให้การคุมกำเนิดล้มเหลว

 บทความที่เกี่ยวข้อง : ราคายาคุมฉุกเฉิน แต่ละยี่ห้อเท่าไหร่บ้าง เทียบราคาอย่างละเอียด

 

ข้อควรรู้ของยาคุมฉุกเฉิน

  • ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ เป็นเพียงตัวช่วยในการคุมกำเนิดเท่านั้น หากต้องการป้องกันโรค และช่วยคุมกำเนิดในเวลาเดียวกัน วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การใช้ถุงยางอนามัย
  • ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100 % หากทานยาคุมฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมงจะป้องกันได้มากที่สุด 85 % หากทานหลังจาก 24 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง จะป้องกันได้ 75 %
  • ควรหลีกเลี่ยงการทานบ่อย ๆ ภายใน 1 เดือน สามารถทานได้มากสุด 2 แผง หรือ 4 เม็ด เพราะจะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ การทานบ่อย ๆ ยังทำให้ประสิทธิภาพของตัวยาลดน้อยลง จะทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากขึ้นด้วย
  • ยาคุมฉุกเฉิน “ไม่ใช่ยาทำแท้ง” แต่เป็นเพียงยาที่ช่วยลดการทำงานของไข่ และอสุจิเท่านั้น หากเกิดการปฏิสนธิไปแล้ว หรือเกิดการตั้งครรภ์ไปแล้ว การทานยาคุมฉุกเฉินจะไม่ส่งผลใด ๆ
  • หลังจากทานยาไปประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วเกิดอาการอาเจียน จำเป็นต้องทานยาซ้ำ
  • หากสงสัยว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์อยู่แล้ว ควรเลี่ยงการทานยาคุมฉุกเฉิน

 

การกินยาคุมฉุกเฉิน

 

ควรตรวจครรภ์แม้ใช้ยาคุมฉุกเฉิน

การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ควรทำเพื่อการคุมกำเนิด ก่อนการมีเพศสัมพันธ์จึงต้องเตรียมการป้องกันไว้ก่อน โดยวิธีที่นิยมกันมากที่สุดสำหรับเพศหญิง คือ การทานยาคุมแบบปกติ หรือการฝังยาคุม เป็นต้น ส่วนในเพศชาย คือ การใช้ถุงยางอนามัย โดยการคุมกำเนิดทุกรูปต้องใช้ให้ถูกวิธี และเหมาะสม ฝ่ายชายไม่ควรเขินอายที่จะพกถุงยางอนามัย และการป้องกันทุกรูปแบบที่ไม่สามารถป้องกันได้ 100 % การตรวจครรภ์จึงยังสำคัญอยู่ โดยเฉพาะหากใช้ยาคุมฉุกเฉินในการคุมกำเนิด

 

การมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ต้องมีเมื่อพร้อมเท่านั้น ยิ่งพร้อมเท่าไหร่ยิ่งป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้มากขึ้นเท่านั้น การใช้ยาคุมฉุกเฉินจึงเป็นทางเลือกสำหรับสถานการณ์ที่ฉุกเฉินจริง ๆ

 

บทความจากพันธมิตร
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?

ราคาที่ตรวจครรภ์ ปี 2566 ยี่ห้อไหนดี รวมหมดทุกแบบไว้ที่นี่!

ทำไมกินยาคุมฉุกเฉินแล้วยังท้อง ไขข้อสงสัยยาคุมฉุกเฉินที่คนมักเข้าใจผิด

ที่มาข้อมูล : 1 2 3 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • การกินยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด 2 เม็ด ฉบับเข้าใจง่ายสำหรับคุณผู้หญิง
แชร์ :
  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

    มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

    มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ