X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แผลฟกช้ำ ตามร่างกายเด็ก ทำยังไงให้หาย ต้องไปหาหมอหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
แผลฟกช้ำ ตามร่างกายเด็ก ทำยังไงให้หาย ต้องไปหาหมอหรือเปล่า

แผลฟกช้ำ รอยฟกช้ำ ที่เกิดกับเด็ก จะทำยังไงให้หายไปดี (ภาพจาก freepik.com)

เด็กที่อายุยังน้อยส่วนใหญ่ มีนิสัยขี้เล่น และชอบวิ่งเล่นซุกซน จนอาจทำให้หกล้ม หรือวิ่งไปชนเข้ากับสิ่งของต่าง ๆ จนเกิดเป็นรอยช้ำตามร่างกาย แผลฟกช้ำ ที่เกิดกับเด็ก จะรักษาให้หายได้ยังไงดี วันนี้ theAsianparent Thailand จะมาช่วยไขข้อข้องใจของเหล่าคุณแม่กัน

 

แผลฟกช้ำ เป็นแบบไหน

แผลฟกช้ำทั่ว ๆ ไปที่เราคุ้นเคยกันดี จะมีลักษณะเป็นวงกลม และจะขึ้นอยู่ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดจากการที่เส้นเลือดบริเวณนั้น ๆ แตก จนทำให้เลือดไหลออกจากเส้นเลือด และเกิดเป็นรอยช้ำ ซึ่งแผลฟกช้ำก็มีสีที่แตกต่างกันออกไป เช่น สีแดง สีเขียว สีดำ สีน้ำตาล หรือสีม่วง เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้ว รอยฟกช้ำมักจะมีสีแดงในช่วง ๆ แรก และจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงินหลังจากผ่านไป 1-2 วัน และจากนั้น จะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลเมื่อแผลใกล้หายดี ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 2 สัปดาห์กว่ารอยฟกช้ำจะหายไปสนิท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผลด้วย หากเด็ก ๆ ได้รับอุบัติเหตุ หรือวิ่งชนวัตถุอย่างรุนแรง ก็อาจจะต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าแผลฟกช้ำจะหายดีส่วนสาเหตุที่ทำให้เด็กมีแผลฟกช้ำ ก็อาจแบ่งได้ดังนี้

 

  • อุบัติเหตุและการหกล้ม เด็กวัยซนมักจะหกล้มเป็นธรรมดาจนเกิดรอยฟกช้ำอยู่แล้ว โดยขนาดและความรุนแรงของแผลฟกช้ำ ก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของอุบัติเหตุนั้น ๆ คุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่ารอยฟกช้ำของเด็ก มีขนาดที่สมเหตุสมผลกับความรุนแรงของอุบัติเหตุหรือไม่ ทั้งนี้ ทารกวัยเริ่มคลาน ก็มักมีรอยช้ำตามหัวเข่าที่เกิดจากการคลาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจ
  • การทำร้ายร่างกายเด็ก เด็กที่โดนทำร้ายร่างกาย มักมีรอยฟกช้ำบริเวณแขน มือ หู คอ หรือก้น
  • โรควอนวิลลิแบรนด์ เป็นโรคที่ทำให้ยีนที่ควบคุมเลือดในร่างกายทำงานผิดปกติ จนทำให้เกิดรอยช้ำตามร่างกายได้ง่าย ซึ่งผู้ป่วยอาจมีเลือดกำเดาไหล ประจำเดือนมามาก หรือมีเลือดออกเยอะหลังการผ่าตัด
  • โรค Henoch Schonlein Purpura เป็นภาวะความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปวดข้อ มีผื่นขึ้นที่แขนขาและก้น ซึ่งดูเหมือนรอยฟกช้ำ
  • ขาดวิตามินเค หากร่างกายขาดวิตามินเค อาจทำให้เลือดออกได้ง่ายและเลือดแข็งตัวช้าขึ้น จึงทำให้ร่างกายเกิดรอยช้ำได้ง่าย
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยโรคนี้มักมีรอยฟกช้ำตามร่างกาย เลือดออกง่าย และเกล็ดเลือดต่ำ

 

Advertisement

บทความที่เกี่ยวข้อง : แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน จะรู้ได้ยังไงว่าลูกเป็นโรคบาดทะยัก

 

แผลฟกช้ำ ทำไงให้หาย 2

เด็กอาจรู้สึกปวดบริเวณแผลฟกช้ำได้ด้วย (ภาพจาก freepik.com)

 

วิธีรักษาแผลฟกช้ำ

เมื่อเด็กมีแผลฟกช้ำ แต่แผลไม่ได้มีความรุนแรงจนต้องไปหาหมอ ให้ปฐมพยาบาลและดูแลเด็ก ๆ ดังนี้

 

  • ใช้น้ำแข็งประคบรอยฟกช้ำของเด็ก ๆ 20 นาทีทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาอาการบวมและอักเสบ
  • หากเด็กมีรอยช้ำบริเวณแขนหรือขา ให้ยกบริเวณนั้นขึ้นสูง ๆ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือด และเพื่อไม่ให้เกิดรอยฟกช้ำที่รุนแรง
  • ให้เด็กรับประทานผักใบเขียวอย่างบรอกโคลี่ เพราะบรอกโคลี่มีวิตามินเค ที่ช่วยไม่ให้เส้นเลือดแตกหรือเปราะได้ง่าย จนทำให้เกิดรอยฟกช้ำ
  • หลังจากเกิดแผลฟกช้ำ 1-2 วัน ให้เด็กแช่น้ำอุ่น หรือยืนอาบน้ำอุ่น เพื่อให้เลือดที่อยู่บริเวณรอยช้ำสลายตัว ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ
  • ไม่ควรนวดหรือกดบริเวณที่มีรอยฟกช้ำ เพราะจะทำให้แผลอักเสบมากยิ่งขึ้น
  • ให้เด็ก ๆ รับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อลดอาการปวด แต่หากเด็กมีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้เด็กรับประทานยาทุกชนิด
  • ใช้ผ้าพันแผล พันรอบ ๆ รอยช้ำของเด็ก ซึ่งวิธีนี้ จะช่วยไม่ให้เส้นเลือดแตกเปราะเพิ่มขึ้น และยังช่วยลดอาการปวดและบวมบริเวณรอยช้ำได้
  • หากเด็ก ๆ ปวดแผล อาจให้เด็กนอนหลับพักผ่อน เพื่อช่วยให้ลืมอาการปวด
  • ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีวิตามินซี เพราะวิตามินซีมีคุณสมบัติช่วยต้านอาการอักเสบ และช่วยให้แผลหายไวยิ่งขึ้น
  • ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีวิตามินเค เพราะวิตามินเคช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ไว จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นแผลฟกช้ำได้

 

และแม้แผลฟกช้ำนั้น จะเกิดขึ้นกับเด็กได้บ่อย แต่หากเด็กมีอาการต่อไปนี้ ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทันที

 

  • มีรอยฟกช้ำที่หน้าท้อง อก หลัง ใบหู หรือบริเวณใบหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่น่าจะเกิดรอยฟกช้ำได้
  • เลือดกำเดาไม่หยุดไหล แม้จะกดห้ามเลือดติดต่อกันมานานเกิน 10 นาที
  • มีแผลช้ำมานานกว่า 2 สัปดาห์
  • มีรอยฟกช้ำหลายแห่งจนผิดสังเกต
  • แผลฟกช้ำนูนขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • มีรอยช้ำที่ตารุนแรง หรือได้รับอุบัติเหตุที่ตา
  • เกิดรอยช้ำซ้ำ ๆ โดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดที่แผลฟกช้ำ หรือแผลบวมอักเสบอย่างรุนแรง
  • กระดูกหักและไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : แผล ลูกมีแผลทำไงดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่คุณแม่ก็ทำได้

แผลฟกช้ำ ทำไงให้หาย

แผลฟกช้ำ รอยฟกช้ำ อาจเกิดจากการวิ่งเล่นซุกซน หรือหกล้มของเด็ก ๆ (ภาพจาก shutterstock.com)

 

ข้อแนะนำในการดูแลเด็กไม่ให้เกิดแผลฟกช้ำ

วิธีดูแลเด็กที่ดีที่สุด คือการระมัดระวังไม่ให้เด็กวิ่งไปชนวัตถุต่าง ๆ หรือหกล้ม ซึ่งอาจทำได้โดยการไม่ซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุแข็ง มีมุมแหลมคม หรือจะติดวัสดุกันกระแทกไว้ที่บริเวณขอบโต๊ะ ขอบเตียง หรือเก้าอี้ เพื่อไม่ให้เด็กวิ่งชนจนเป็นแผลฟกช้ำ นอกจากนี้ หากเด็กต้องการออกไปปั่นจักรยาน ขี่สกู๊ตเตอร์ หรือทำกิจกรรมที่ผาดโผน ก็ควรสวมสนับเข่า หรือหมวกกันน็อคให้เด็กทุกครั้ง เพื่อป้องกันการกระแทก และป้องกันไม่ให้เด็กเป็นแผลได้ง่าย

 

โดยทั่วไป แผลฟกช้ำของเด็กที่เกิดจากการวิ่งชนสิ่งของหรือหกล้มนั้น สามารถจางหายไปได้เมื่อเวลาผ่านไป จึงไม่ใช่สิ่งที่คุณแม่ต้องกังวลใจ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ เล่น โดยไม่สนใจว่าเด็กจะเกิดรอยฟกช้ำหรือไม่ เพราะบางครั้ง แผลฟกช้ำที่รุนแรง ก็อาจทำให้เด็กเจ็บปวด ทรมาน จนรบกวนการใช้ชีวิตของเด็ก ๆ และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังได้ค่ะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
การห้ามเลือดหากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร
บาดแผลในวัยเด็ก ส่งผลถึงตอนเป็นผู้ใหญ่ จริงหรือไม่
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 5 การดูแลแผลผ่าคลอด ข้อควรระวัง ข้อห้าม

ที่มา : rileychildrens ,verywellhealth ,childrenshospital , kidspot , healthline

 

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • แผลฟกช้ำ ตามร่างกายเด็ก ทำยังไงให้หาย ต้องไปหาหมอหรือเปล่า
แชร์ :
  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

    “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

    “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว