ข้าวบดอาหารเสริม ที่คุณแม่มือใหม่อาจเคยได้ยินมาว่า ควรให้ลูกกินตั้งแต่เล็ก ๆ จะได้โตไว หรือปู่ย่าตายายอาจจะเตรียมอาหารให้ลูกหลาน ด้วยการทำข้าวบด กล้วยบด ให้ทารกแรกเกิด แต่รู้ไหมว่า แพทย์แนะนำให้คุณแม่ป้อนน้ำนมลูกเพียงอย่างเดียวไปอย่างน้อย 6 เดือนแล้วจึงค่อยให้ลูกเริ่มทานอาหารอื่น
ข้าวบดอาหารเสริม ควรป้อนลูกน้อยเมื่อไรดี?
ทางกุมารแพทย์ได้กำหนดไว้ว่า ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการให้ทารกเริ่มรับประทานอาหารอื่น ๆ นอกจากน้ำนมแม่ คือ เมื่อทารกได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการกิน หมายความว่า ทารกรู้จักกลืนอาหารที่ไม่ใช่ของเหลว หรือทารกรู้จักเคี้ยวขยับเหงือกน้อย ๆ ได้ เพราะทารกที่เอาแต่ดูดน้ำนมแม่ พวกเขาจะรับรู้แค่การดูดของเหลวแล้วกลืนเลยเท่านั้น ซึ่งทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักจะแนะนำให้คุณแม่รอจนลูกน้อยอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพราะเมื่อทารกอายุประมาณนี้ พวกเขาเริ่มมีพัฒนาการเรียนรู้มากขึ้น จดจำในสิ่งที่มารดาค่อย ๆ สอนอย่างธรรมชาติมากขึ้น สังเกตได้จาก
1. ทารกเริ่มคอแข็ง
หนูน้อยสามารถควบคุมศีรษะตนเองได้ เริ่มมีแรงต้านมีการทรงตัวมากขึ้นรวมถึงสามารถนั่งบนเก้าอี้สูง (สำหรับเด็ก)ได้ ซึ่งปกติแล้วมักจะอยู่ในช่วง 4- 6 เดือนไปแล้ว แต่ไม่ใช่ว่า คุณแม่พยายามหัดลูกโดยการจับพวกเขานั่งเก้าอี้ทันที ตรงนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อย ๆ สังเกตพัฒนาการของลูกน้อยด้วยว่า มีความสามารถที่จะนั่งพิงได้หรือยัง
2. ลูกน้อยมีอาการห่อปาก ใช้ลิ้นมากขึ้น
หากคุณแม่ลองน้ำข้าวบด อาหารเสริมละเอียด ๆ เข้าปากลูกทีละน้อย ลองดูปฏิกิริยาของพวกเขาว่า มีการลิ้นดุน ห่อปากคล้าย ๆ เรียนรู้การสัมผัสรสชาติใหม่ ๆ นั่นแสดงว่า ลูกน้อยสามารถรับประทานอื่น ๆ ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกล้วยบด ข้าวบด ผลไม้บดต่าง ๆ
3. ลูกน้อยเริ่มแสดงอาการสนใจอาหาร
พอลูกเริ่มสัมผัสอาหารแปลกใหม่นอกเหนือจากน้ำนมมารดาแล้ว ลูกน้อยจะเริ่มสังเกตอาหารในจานอาหารของเขา เช่น มองดูอาหาร เอามือจับอาหาร อ้าปากทันทีเมื่อคุณแม่นำช้อนเล็ก ๆ จ่อตรงปาก เขาจะสนุกกับการรับประทานอาหารใหม่ ๆ จนเริ่มกลืนอาหารที่มีเนื้อสัมผัสมากกว่าน้ำนม และสังเกตได้เลยว่าลูกจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เนื้อตัวแน่นขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ใช้ตะแกรงบดข้าวจาก อุปกรณ์บดอาหารเด็ก อันตรายถึงชีวิตลูก!
หัวใจของการให้ข้าวบดอาหารเสริมแก่ลูกน้อย
1. ห้ามบังคับลูกน้อยโดยเด็ดขาด
เด็กทารกบางคนดื่มน้ำนมมารดาไปจนถึง 12 เดือน บางคนไปถึง 18 เดือน ส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ด้วยบางครอบครัวคุณแม่อยู่บ้านกับลูก บางครอบครัวคุณแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้คุณแม่พยายามให้ลูกกินข้าวบดอาหารเสริม แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกยังไม่ต้องการเลิกดื่มน้ำนมแม่ คุณแม่ควรปั๊มนมให้ลูกไว้ ไม่ควรบังคับหรือพยายามให้ลูกไปสนใจกับการรับประทานข้าวบด อาหารบดอื่น ๆ แทนน้ำนม ยิ่งเมื่อให้อาหารเสริมในตอนแรก ๆ ลูกอาจจะปฏิเสธ เพราะ ไม่คุ้นเคย หรือไม่ชอบรสอาหาร คุณแม่ควรทดลองวิธีใหม่จนทารกยอมรับประทานอาหารนั้น
2. ห้ามให้ลูกน้อยดื่มน้ำตาล
สมัยก่อนเราคุ้นเคยกับการเลี้ยงทารกต้องมีน้ำตาลกลูโคสกระป๋องไว้ชงให้ทารก แต่หารู้ไม่ว่าคุณมาไม่ควรให้น้ำหวานอย่างน้ำกลูโคส หรือแม้แต่น้ำอัดลมซึ่งมีแก๊สเยอะมาก อาจทำให้ทารกปวดท้องได้ ที่สำคัญ ไม่ควรให้ลูกน้อยติดรสหวานไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม หรืออาหาร บางคนชอบให้ลองดูดน้ำหวาน ชานม ชาเขียวที่มีรสหวาน แต่เครื่องดื่มประเภทนี้จะทำให้ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แล้วทำให้เด็กไม่หิว เกิดปัญหาไม่ยอมรับประทานอาหารอื่น ๆ
3. ระวังอาการท้องผูกของลูกน้อย
เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังให้มาก ๆ เมื่อให้ลูกรับประทานข้าวบดอาหารเสริมต่าง ๆ เพราะกระเพาะของทารกยังไม่คุ้นเคย จนทำให้ลูกท้องผูก เนื่องจากระบบการย่อยอาหารทำงานไม่ทัน จึงจำเป็นต้องให้ลูกดื่มน้ำส้มคั้น มะละกอสุกบด ป้อนเนื้อส้ม ซึ่งการให้ข้าวบดอาหารเสริมที่ถูกต้อง เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อย จะทำให้ลูกเติบโต แข็งแรง และมีนิสัยการกินที่ดีในเวลาต่อมา
อาหารเสริมจำพวกน้ำผลไม้ ไม่จำเป็นสำหรับทารก
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การรับประทานผลไม้หรือดื่มน้ำผลไม้จำเป็นต่อลูกเมื่อมีอาการท้องผูก แต่คุณแม่ต้องจำไว้ว่า ผลไม้รับประทานได้ แต่ไม่จำเป็น และหลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าน้ำผลไม้ดีต่อสุขภาพของลูกน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ควรให้ทารกดื่มน้ำผลไม้ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะแทนที่จะได้รับคุณค่าทางอาหารจากการกินนมแม่ การดื่มน้ำผลไม้กลับทำให้เด็กอ้วนได้ง่ายจากน้ำตาลในน้ำผลไม้ นอกจากนี้ก็ยังเป็นสาเหตุให้ท้องเสีย รวมถึงเสี่ยงต่อการฟันผุเมื่อเริ่มมีฟันขึ้นด้วย ดังนั้น คุณแม่ควรให้ลูกรับประทานผลไม้เมื่อจำเป็นและมื้อเล็ก ๆ ต่อวันเท่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : อัลมอนด์ ดีต่อสมองของเด็ก ๆ จริงเหรอ? หรือแค่ถั่วธรรมดา
ข้าวบดอาหารเสริม ที่คุณแม่สามารถนำไปปรับเป็นเมนูลูกน้อย
หลักการให้อาหารเสริมกับเด็กนั้น สามารถเริ่มให้ได้ตั้งแต่ 6 เดือน โดยช่วงแรก ๆ ควรเน้นอาหารที่ตุ๋นจนเละ เนียนข้นเป็นครีม เป็นเนื้อเดียวกัน อย่างเมนู ข้าวบดผสมนมแม่ หรือจะเป็นข้าวบดอย่างเดียวก็ได้ คุณแม่สามารถหาซื้อข้าวตุ๋นในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งข้าวตุ๋นจะผ่านการอบจนสุกมาแล้ว เพียงแค่ใส่หม้อต้มสัก 1 ช้อน ต้มจนข้าวมีเนื้อสัมผัสคล้ายโจ๊ก โดยเริ่มป้อนในปริมาณน้อย ๆ ก่อน จากนั้นจึงค่อยเพิ่มปริมาณขึ้นทีละนิดเพื่อให้ลูกคุ้นเคย หลังจากนั้นก็อาจจะผสมข้าวบดเข้ากับผัก หรือน้ำซุปผัก เพิ่มวิตามิน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ หรือ บดข้าวตุ๋นกับกล้วย แต่กล้วยต้องขูดเอาแค่ผิวและเนื้อ ไม่เอาเม็ด เพราะเม็ดกล้วยอาจทำให้ลูกท้องผูกได้
เมื่อลูกคุ้นชินและทานได้คล่องแล้ว สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียมเพิ่มคือ ไข่แดง ตับบด ผักใบเขียว ถั่วเขียวต้ม เช่น นำข้าวตุ๋นมาบดรวมกับไข่แดงต้มสุก (คุณแม่จะบดไข่รวมไปด้วยก็ได้) ส่วนตับบด สามารถหาซื้อได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเช่นกัน ต้มตับแล้ว นำมาบดกับข้าวตุ๋นที่เตรียมไว้ ส่วนอีกเมนูคือ ข้าวบดกับผักใบเขียว หรือถั่ว แนะนำให้คุณแม่ต้มให้เปื่อย อย่างถั่วเขียวควรแช่ถั่วทิ้งไว้ก่อน 1 คืนจะได้นิ่มขึ้น เมนูข้าวบดอาหารเสริมช่วงเดือนนี้ ลูกน้องจะได้ โปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็ก เป็นสำคัญ
พอถึงวัย 7-8 เดือน เชื่อว่าคุณแม่จะเริ่มสนุกกับการทำอาหารมากขึ้น ลองนำผักที่มีประโยชน์ หลายสีมาต้มและบดให้ละเอียดไม่ว่าจะเป็นฟักทอง แครอท บรอกโคลี ผักเคล แตงกวา มะเขือเทศ ย้ำว่าต้องห้ามมีเม็ดผสมลงไปด้วยเด็ดขาด หรือคุณแม่จะลองหาเมล็ดพวกธัญพืชเช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง อัลมอนด์ ปั่นให้ละเอียดเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้ลูกน้อย
เมื่อก้าวเข้าสู่เดือนที่ 9 คุณแม่จะเห็นว่าลูก ๆ เริ่มสนุกกับการรับประทานอาแปลกใหม่มากขึ้น อย่างข้าวบดอาหารเสริมต่าง ๆ ซึ่งคุณแม่สามารถทดแทนการป้อนน้ำนมแม่ได้ถึง 2 มื้อ เช่น มื้อกลางวัน และมื้อเย็น หรือจะเป็นมื้อเช้าและมื้อเย็น ทั้งนี้คุณแม่ต้องสังเกตชีวิตประจำวันกับลูกด้วย อย่างกลางวันถ้าเป็นเวลานอนยาว ๆ ของลูก ก็อาจป้อนแค่นมก่อนนอนกลางวันเนื่องจากลูกอาจจะไม่ต้องเล่นหรือทำกิจกรรมกับคุณแม่เท่าไร
เมื่อลูกอายุครบขวบแล้ว คุณแม่สามารถป้อนข้าวบดอาหารเสริมให้ลูกครอบ 3 มื้อได้เลย หรือจะเปลี่ยนอาหารปกติ ไม่ต้องบดอาหารแล้ว เพียงแต่ต้องทำอาหารรสชาติอ่อน ๆ ให้เขาเรียนรู้การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ใหญ่ เช่น คุณแม่ลองทำสปาเก็ตตี้ ข้าวผัดหมูสับ ไก่สับ กุ้งสับ หรือทำแกงจืดเต้าหู้อ่อนให้ลูกรับประทานกับข้าวสวยนิ่ม ๆ หรือจะเป็นเมนูอร่อยอย่าง เนื้อสัตว์ทอด ผักทอดต่าง ๆ ค่อย ๆ ปรับไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ต้องรู้! ลูกวัยนี้ให้กินอะไรดี อาหารที่เหมาะกับทารก แต่ละช่วงวัย ป้องกันลูกกินยาก
นมยังมีความสำคัญกับเด็ก ๆ เสมอ
เมื่อใดก็ตามที่ลูกพร้อมกินอาหารได้แล้ว คุณแม่ต้องจำไว้ว่าควรจะให้ลูกกินนมแม่ก่อน เช่นก่อน 6 เดือนที่ขาดนมแม่ไม่ได้เด็ดขาด จากนั้นหลัง 6 เดือนค่อยให้กินอาหาร เพราะนมแม่มีคุณค่าทางอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมแม่ไปจนกระทั่งอายุ 1 ขวบ ให้ควบคู่ไปกับการรับประทานข้าวบดอาหารเสริมได้ เพราะน้ำนมแม่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก ซึ่งจะสร้างภูมิต้านทานให้พวกเขาไปจนโต
บทความที่น่าสนใจ :
10 อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก ลูกกินอะไรถึงจะน้ำหนักขึ้นอย่างปลอดภัย
ให้ลูกกินอาหารเสริมตอนกี่เดือน มื้อแรกของลูกควรเริ่มอย่างไร ให้กินอะไรดี
มื้อแรกของลูก หลัง 6 เดือน เริ่มอาหารเสริมลูกด้วยเมนูไหนดี ผลไม้หรือข้าว
ที่มา Sanook , Voice TV
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!