อ่านหัวข้อแล้วหนุ่ม ๆ จะรีบเข้ามาอ่านกันมากกว่าสาว ๆ หรือเปล่าน้าา อยากจะรู้ใช่ไหมคะว่าอารมณ์แปรปรวนก่อนมี ประจำเดือน เกิดจากอะไร แล้วจะรับมือได้ไหม แล้วประจำเดือนของผู้หญิงเนี่ยมีทุกเดือนอยู่แล้วหนุ่ม ๆ สาว ๆ เตรียมปากกามาจดไว้เลยนะคะ จะได้พร้อมรับมือไปด้วยกัน
“ประจำเดือน” กับ “PMS”
PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ซึ่งจะเกิดก่อนจะมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์ ผู้หญิงกว่า 80% ต้องพบเจอกับปัญหานี้ จากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และทางร่างกาย ซึ่งอาการของแต่ละคนเป็นมากน้อยไม่เท่ากัน
“ประจำเดือน” กับ “PMDD”
PMDD (Premenstrual dysphoric disorder) คือ อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเหมือนกับ PMS แต่รุนแรงกว่า PMS มากโดยจะมีอาการซึมเศร้า ไปจนถึงรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง
อาการทางด้านร่างกาย
- ท้องอืด
- ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ
- บวมน้ำ
- ท้องป่อง
- คัดเต้านม
- เพลีย
- มีสิวขึ้น
- ปวดศีรษะ
- น้ำหนักตัวเพิ่ม
- ท้องผูกหรือท้องเสีย
- เป็นตะคริว
อาการทางด้านอารมณ์
- หงุดหงิดง่าย
- ร้องไห้ง่าย
- อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ
- ไม่มีสมาธิ
- เบื่อหน่าย
- นอนไม่หลับหรือนอนเยอะเกินไป
- เบื่ออาหาร
- เครียด
- วิตกกังวล
- ไม่อยากพบเจอใคร
วิธีรับมือกับอารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน
- การออกกำลังกาย ในช่วงก่อนมีประจำเดือนเรายังสามารถทำกิจกรรมได้ปกติ การออกกำลังกายก็ช่วยลดความเครียดจากอาการ PMS และ PMDD ได้
- งดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ชา กาแฟ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือหวานจัด
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
- แบ่งทานอาหารเป็นมือเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อดีกว่าทานมือใหญ่ 3 มื้อ
- ลดความเครียดด้วยการทำสมาธิหรือโยคะ
วิธีรับมือสำหรับหนุ่ม ๆ เมื่อแฟนสาวมีอาการ PMDD
1. กอดและให้ความรักเมื่อเธออารมณ์แปรปรวนก่อนมี”ประจำเดือน”
หากเธอร้องไห้ต่อหน้าคุณ ให้ทำในสิ่งที่คุณทำกับคนที่กำลังร้องไห้ นั่นคือกอดที่อบอุ่น ข้อควรระวัง: การกอดปลอบอาจทำให้เธอร้องไห้มากขึ้น แต่อย่างน้อยเธอก็ไม่ได้ทำให้เธอโกรธคุณแน่นอน เมื่อเธอรู้สึกดีขึ้นแล้วคุณก็จะได้แฟนสาวคนที่น่ารักสดใสกลับคืนมาแน่นอน
2. ช่วยทำงานบ้านเมื่อเธออารมณ์แปรปรวนก่อนมี “ประจำเดือน”
ช่วยทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ แทนเธอบ้าง เลือกทำเท่าที่คุณทำได้ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน จัดที่นอนให้เข้าที่ ทิ้งขยะ เป็นต้น แค่เธอได้เห็นคุณช่วยงานบ้านก็ชื่นใจสุด ๆ แล้วล่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คู่มือช่วยแม่ท้อง/หลังคลอด ทำงานบ้านทั้งหลังภายในเวลา 20 นาที
3. ของกิน น้ำ ขนม จัดเต็ม!
ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะรู้สึกหิวบ่อยในช่วงก่อนมีประจำเดือน รู้แบบนี้รีบหาของอร่อย ของโปรดที่เธอชอบมาให้เธอให้เลย หรือจะพาเธอไปทานอาหารร้านโปรดก็ได้ค่ะ รับรองว่าเธอจะมีความสุขสุด ๆ ไปเลย
4. เข้าอกเข้าใจเมื่อเธออารมณ์แปรปรวนก่อนมี “ประจำเดือน”
ช่วยเข้าใจเธอด้วยนะคะว่าเธอก็ไม่ได้อยากมีอารมณ์แปรปรวนแบบนี้ แต่เป็นเพราะฮอร์โมนในร่างกายส่งผลให้เธอหงุดหงิดง่าย หรือมีอารมณ์น้อยใจไปบ้าง ขอแค่คุณอยู่ข้าง ๆ เธอและบอกว่าคุณเข้าใจทุกอย่างที่เธอเป็น แค่นี้เธอคงรู้สึกอุ่นใจไม่น้อย ถ้าเธอปวดศีรษะ ปวดท้อง หายาแก้ปวดให้เธอทานและบอกให้เธอนอนพักผ่อนบ้าง
5. ใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง
เมื่ออยู่ในอาการ PMS หรือ PMDD ทุกอย่างอาจจะเปราะบางกว่าที่คิด คำพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของคุณอาจทำให้เธอรู้สึกแย่จนร้องไห้เลยก็ได้ ระมัดระวังคำพูดของคุณด้วยนะคะ คิดให้ดี ๆ ก่อนพูด คำพูดที่ไม่ควรพูด เช่น ‘จะอะไรกันนักหนา’ ‘ก็เรื่องนี้เอง’ ‘ไม่เห็นจะเป็นอะไรเยอะเลย’ ถ้าแฟนสาวของคุณได้ยินแบบนี้ในช่วงที่อารมณ์แปรปรวนแล้วล่ะก็… ไม่อยากจะคิดเลยทีเดียว เอาเป็นว่าพูดเพราะ ๆ เข้าไว้จะดีกว่านะคะ
6. หากิจกรรมทำร่วมกัน
ชวนกันดูหนัง ไปช้อปปิ้ง นั่งฟังเพลงด้วยกัน หรืออาจจะพากันไปออกกำลังกาย เพราะนอกจากจะสนุกแล้ว ยังดีต่อสุขภาพของทั้งคู่อีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : 12 หนังครอบครัวที่ดีที่สุด สำหรับพี่น้องที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว
7. อดทน
สิ่งสุดท้ายและเป็นสิ่งสำคัญเลยก็คือ “อดทน” คุณต้องรับมือกับความรู้สึกของแฟนสาว อีกทั้งต้องรองรับอารมณ์ที่ไม่แน่นอน ดูแลอาการปวดต่าง ๆ ของเธอ สิ่งที่คุณผู้ชายต้องมีเลยก็คือความอดทนนั่นเองค่ะ อาจจะเหนื่อยหน่อยแต่เมื่ออาการของเธอกลับมาเป็นปกติแล้ว จะคุ้มค่ากับความอดทนและความเหนื่อยนั้นอย่างแน่นอนค่ะ
อารมณ์แปรปรวนก่อนมีประจำเดือนสามารถรับมือได้ถ้าคุณรู้ที่มาและสาเหตุ หลังจากนั้นก็รับมือได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญที่สุดคือเมื่อคุณมีอาการซึมเศร้าหรือรู้สึกเครียดมากจนทนไม่ไหวให้รีบไปพบแพทย์จะดีที่สุดนะคะ อาการนี้ไม่มีใครอยากเป็น เพราะฉะนั้นคนรอบตัวต้องเข้าใจและช่วยกันดูแลไว้ด้วยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ช่วยตัวเองตอนเป็นประจำเดือน อันตรายไหม มีข้อดีหรือไม่ ?
เป็นประจำเดือนฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม? วัคซีนมีผลยังไงกับประจำเดือนของผู้หญิง
เป็นประจำเดือนสระผมได้ไหม? เรื่องที่สาว ๆ มักเข้าใจผิด เกี่ยวกับการมีประจำเดือน
ที่มา : mahidol , kapook, pexels
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!