อีกหนึ่งคำถาม ที่เป็นปัญหาของผู้หญิงหลาย ๆ คน คือ เป็นประจำเดือนสามารถฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม? แล้ววัคซีน มีผลอย่างไรต่อประจำเดือน? ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือส่งผลเสียในระยะยาวรึเปล่า วันนี้เราจะมาคลายความกังวลใจให้สาว ๆ กัน
ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ได้ถูกระบุในรายงานผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น หลังได้รับวัคซีน โควิด-19 แต่ก็มีบางรายงานบอกว่า ผู้หญิงหลายคนมีความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ หรือ ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ
อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังไม่ได้ทราบแน่ชัดว่า วัคซีนโควิด-19 มีผลทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีรายงานการวิจัยอย่างเป็นทางการ
แพทย์หญิง วิกี เมล นักภูมิคุ้มกันวิทยาการเจริญพันธุ์ จากวิทยาลัย อิมพีเรียล ลอนดอน ระบุเอาไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับประจำเดือนของผู้หญิง หลังจากได้รับวัคซีน อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีรายงานว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มีเลือดออกหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน ด้วยเหตุนี้ แพทย์หญิงเมล จึงได้ตั้งขอสันนิษฐานว่า อาจมีการตอบสนองทางร่างกายเกิดขึ้น
ทำไมวัคซีนถึงมีผลต่อประจำเดือน?
แพทย์หญิงเมล ได้อธิบายเรื่องนี้เอาไว้ว่า การที่วัคซีน มีผลกระทบต่อประจำเดือน อาจเป็นผลมาจาก การที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ตอบสนองต่อการได้รับวัคซีนโควิด-19
ประการที่หนึ่ง คือ เรารู้ว่าระบบภูมิคุ้มกัน มีผลต่อฮอร์โมนเพศ และ ฮอร์โมนเพศ ก็มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันเช่นกัน แน่นอนว่าฮอร์โมนเพศ ก็เป็นตัวควบคุมในส่วนของประจำเดือน นั่นทำให้มีผลพ่วงกัน
ดังนั้น หากภูมิคุ้มกันของเรา ถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงจากวัคซีน ก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ และส่งผลออกมาในลักษณะของการมีประจำเดือน
อีกความเป็นไปได้หนึ่งคือ เราอาจมีเซลล์ ภูมิคุ้มกันอยู่มากที่เยื่อบุมดลูก และความเป็นไปได้คือ เซลล์เหล่านี้ อาจได้รับผลกระทบจากการกระตุ้นตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หลังจากได้รับวัคซีน ซึ่งนั่นอาจส่งผลต่อการมีประจำเดือน
ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตอนมีประจำเดือนได้ไหม?
จากเว็บไซต์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้เผยแพร่ข้อมูลจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรรณม ว่า ผู้หญิงที่มีประจำเดือน หรืออยู่ในช่วงที่กำลังจะมีประจำเดือน สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ตามปกติ
สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการฉีดวัคซีน สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงเตรียมตัวมีบุตร สามารถฉีดวัคซีนได้โดยไม่ต้องตรวจการตั้งครรภ์ก่อน แต่หากทราบว่าตั้งครรภ์หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ออกไป จนกว่าอายุครรภ์จะมากกว่า 3 เดือน หรือ 12 สัปดาห์
ที่มา : BBC Thai
บทความที่น่าสนใจ :
ห้าม!! กินยาคุมกำเนิดก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด
รวมราคาวัคซีนโควิด-19 และเทียบประสิทธิภาพ ต่างกันอย่างไร?
วัคซีนโควิด ChulaCov19 เทียบชั้น ‘ไฟเซอร์ – โมเดอร์น่า’ ฝีมือของคนไทย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!