X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สอนพี่ให้รักน้อง สอนลูกคนโตให้ดูแลน้อง เทคนิคการเตรียมพี่ให้รักน้อง ประสบการณ์คุณหมอลูกสอง

บทความ 5 นาที
สอนพี่ให้รักน้อง สอนลูกคนโตให้ดูแลน้อง เทคนิคการเตรียมพี่ให้รักน้อง ประสบการณ์คุณหมอลูกสอง

หลาย ๆ บ้านที่กำลังจะเตรียมตัวมีลูกเล็กอีกคน คงมีความวิตกกังวลว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถป้องกันปัญหาพี่น้องทะเลาะกันได้ใช่ไหมคะ

สอนพี่ให้รักน้อง สอนลูกคนโตให้ดูแลน้อง

 

นโยบายมีลูกเพื่อชาติ

 

ประสบการณ์คุณหมอลูกสอง ทำอย่างไรที่จะ สอนพี่ให้รักน้อง สอนลูกคนโตให้ดูแลน้อง เทคนิคการเตรียมพี่ให้รักน้อง แก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เรื่องในบ้านที่พ่อแม่หลายคนปวดหัว จะสอนลูกอย่างไรให้รักและดูแลน้อง

 

เทคนิคการเตรียมพี่ให้รักน้อง

วันนี้หมอจะมาถ่ายทอดประสบการณ์เตรียมพี่ให้รักน้อง จากประสบการณ์ที่ปฏิบัติจริง เนื่องจากตอนที่ลูกสาวคนแรกของหมอจะมีน้อง เค้าอายุประมาณ 2 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองสูงและเอาแต่ใจตัวเองอย่างมาก ที่เราเรียกกันว่า terrible twos นั่นเองค่ะ หมอและครอบครัวจึงพยายามทุกๆ ทางที่จะเตรียมเค้าให้รักน้อง ตั้งแต่ก่อนน้องเกิดเพื่อให้มีปัญหาน้อยที่สุดมาดูกันนะคะว่าเราสามารถทำได้อย่างไรบ้าง

 

วิธีสอนพี่ให้รักน้อง

อวยลูกมากเกินไป

1. เริ่มจากตอนที่น้องยังอยู่ในท้อง

หลักการคือ ทำให้พี่ตระหนักว่า กำลังจะ มีน้อง และ เสริมสร้างความรัก ความผูกพัน ให้พี่มีแต่น้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้องคุณแม่เลยค่ะ คุณพ่อ คุณแม่ สามารถลองทำตามวิธีต่าง ๆ เหล่านี้ ยิ่งทำบ่อย ก็ยิ่งดีค่ะ

  1. บอกกับพี่ว่า “ พี่..กำลังจะมีน้อง ” พร้อมกับชี้ ท้อง ของ คุณแม่ ให้ดู บอกว่าน้องอยู่ในนี้
  2. ให้พี่ช่วยหยิบซองยาวิตามิน บำรุงครรภ์ ส่งให้คุณแม่กินทานวัน และ บอกว่าเค้าเป็นพี่ที่ดี ช่วยดูแลให้น้องให้เติบโต ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้องคุณแม่ แล้วให้เค้า จับท้อง คุณแม่ ที่โตขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน
  3. ให้พี่กอดท้อง คุณแม่ เหมือนกับกอดน้องอยู่ แล้วบอกรักน้องเหมือนกับ คุณพ่อ คุณแม่ บอกรักพี่ ทุกๆ วัน
  4. เวลาคุณแม่ไป ฝากครรภ์ ก็เอาพี่ไปด้วย เพื่อให้เค้าได้ยินเสียงหัวใจน้อง หรือ เห็นภาพน้องผ่าน อัลตราซาวด์
  5. หานิทานเรื่องเกี่ยวกับการมีน้อง พี่รักน้อง มาอ่านให้ฟังก่อนเข้านอนทุกวัน
  6. เวลา คุณพ่อ คุณแม่ เล่านิทานให้พี่ฟัง ก็ให้เค้าจับท้องคุณแม่ และ บอกว่าเราเล่านิทานให้น้องฟังด้วยกัน

 

2. สอนลูกคนโตให้ดูแลน้อง หลังจากน้องได้เกิดมาแล้ว

เหตุผลที่การเล่นต่อบล็อก

 

หลักการคือ ทำให้พี่ทราบว่าน้องได้เกิดมาแล้ว พี่ก็ยังเป็นที่รัก และ ได้รับการเอาใจใส่เหมือนเดิม ทุกคนในบ้านรักพี่กับน้องเท่ากันเสมอ

  1. บอกพี่ทันทีที่ได้เห็นน้องครั้งแรกว่า " น้องออกมาจากท้องคุณแม่แล้วนะคะ/ครับ " และ นี่คือน้องที่เค้าช่วยดูแลมาตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่
  2. ให้พี่ได้สัมผัสน้องตัว โดยมีผู้ใหญ่อยู่ใกล้ๆ
  3. ชี้ให้พี่ได้ดูอวัยวะต่างๆ เช่น มือ แขน ขา นิ้ว ของน้องที่เล็กกว่าเค้ามาก เพื่อย้ำว่า น้องยังเล็กมากจึงต้อง ทะนุถนอม อาจบอกเค้าว่า " จับน้องเบา เบา เพราะน้องยังเล็กอยู่ค่ะ/ครับ "
  4. สอนวิธีอุ้มน้องที่ถูกต้องภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้ใหญ่
  5. ให้พี่มีส่วนร่วมในการดูแลน้อง เช่น ช่วยหยิบของใช้น้องส่งให้ คุณแม่ หยิบ ผ้าอ้อม ป้อนอาหาร เพื่อให้พี่รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยดูแลน้อง
  6. ชมเชย พี่ ที่ช่วย คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลน้องได้
  7. หาเวลาทำกิจกรรมเดิมที่ คุณพ่อ คุณแม่ เคยทำร่วมกับพี่ก่อนที่น้องจะเกิดมา เช่น ไปเที่ยว เล่นกัน เล่านิทานก่อนนอน โดยหาก คุณแม่ ต้องดูแลน้อง ก็อาจให้คุณพ่อช่วยทำแทน
  8. คุณแม่ควรหาเวลาเพื่อชดเชย ให้ความสนใจ และ ทำกิจกรรมร่วมกับพี่อย่างเต็ม และ ให้ผู้อื่นช่วยดูแลน้องแทน เพื่อมิให้พี่รู้สึกไม่ดีว่า เมื่อมีน้องแล้วทำให้คุณเเม่ไม่มีเวลาให้กับพี่ หรือ ไม่รักพี่เหมือนเดิม
  9. เมื่อน้องเริ่มโต ก็ค่อย ๆ สอนให้พี่รู้จักการแบ่งปัน ทั้งขนม และ ของเล่น ให้กับน้อง เพื่อป้องกันการ ทะเลาะ แย่งของกันระหว่างพี่น้อง

 

ในทางปฏิบัติ แม้หมอเองจะทำทุกอย่างที่ได้เล่ามาแล้ว ก็ยังสังเกตได้ว่า เมื่อน้องเกิดมา พี่ก็มีความรู้สึกไม่พอใจบ้าง เวลาเห็น คุณพ่อ คุณแม่ อุ้มน้องนาน ๆ หรือ ใส่ใจน้องเยอะ ๆ ซึ่งสมาชิกทุกคนในบ้านควรจะคอยสังเกตอารมณ์ และ พฤติกรรมของพี่ พูดคุย ทำความเข้าใจกับพี่เป็น ระยะ เพื่อให้พี่มั่นใจว่าเค้ายังเป็นที่รักของทุกคนในบ้านอยู่เสมอ เมื่อพี่รู้สึกเป็นที่รัก เค้าก็จะสามารถให้ความรักแก่น้อง และ ค่อย ๆ ยอมรับน้องเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวได้อย่างมีความสุขค่ะ

ที่มาจาก : https://www.parentsone.com/how-to-teach-kids-love-each-other/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 วิธีสอนลูกให้รู้จักหน้าที่ กิจกรรมฝึกความรับผิดชอบ ทำได้ตั้งแต่เด็กเล็ก

พ่อแม่ สอนลูกให้ทำงานบ้าน ปูทางสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต

สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF

โรคสำลักความรัก เมื่อพ่อแม่รังแกฉัน ลูกคือผลพวงของการแสดงความรักที่ผิดวิธี

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • สอนพี่ให้รักน้อง สอนลูกคนโตให้ดูแลน้อง เทคนิคการเตรียมพี่ให้รักน้อง ประสบการณ์คุณหมอลูกสอง
แชร์ :
  • เลี้ยงลูกวัยอนุบาลให้รักน้อง สอนลูกวัยอนุบาลให้รักน้องต้องทำอย่างไร

    เลี้ยงลูกวัยอนุบาลให้รักน้อง สอนลูกวัยอนุบาลให้รักน้องต้องทำอย่างไร

  • ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

    ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • เลี้ยงลูกวัยอนุบาลให้รักน้อง สอนลูกวัยอนุบาลให้รักน้องต้องทำอย่างไร

    เลี้ยงลูกวัยอนุบาลให้รักน้อง สอนลูกวัยอนุบาลให้รักน้องต้องทำอย่างไร

  • ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

    ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ