X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF

บทความ 5 นาที
สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF

สอนลูกให้มีวินัย เก่ง ฉลาดสมวัย สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พ่อแม่ต้องเลือกใช้วิธีแบบ EF วิธีนี้ดีอย่างไร สามารถเริ่มสอนลูกได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ มาดูกันเลย

สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF

สอนลูกให้มีวินัย พ่อแม่เริ่มสร้างได้ตั้งแต่เล็กๆ โดยใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ EF (Executive Function) ที่หมายถึง ความสามารถระดับสูงของสมองที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งต้องเป็นเป้าหมายของลูกไม่ใช่ของพ่อแม่ ตามสไตล์ของนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ คืออะไร สำคัญต่อการเลี้ยงลูกอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ

หลักการของ EF

1. ดูแลตัวเองได้

คือ การให้เด็กได้ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางเพื่อพัฒนาและฝึกฝนตนเองให้สามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ โดยไม่ต้องมีใครมาคอยบอก มีหลักการ 4 อย่าง ดังนี้

  • การดูแลร่างกายของตัวเอง เช่น การกินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว ปัสสาวะ หรืออุจจาระเองได้ ซึ่งพ่อแม่สามารถฝึกลูกน้อยได้ตั้งแต่ 2-3 ขวบ สำหรับการกินข้าวเอง จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทุกอย่างเป็นชุด หากพ่อแม่ยังคอยป้อนข้าวลูกน้อยอยู่ ก็จะทำให้เด็กไม่เกิดเป็น EF
  • การดูแลรอบๆ ร่างกายของตัวเอง สามารถเริ่มกับลูกน้อยที่มีอายุ 3-5 ขวบ เช่น การเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ การเก็บที่นอนให้เข้าที่หลังจากตื่นนอน
  • การดูแลงานบ้าน พ่อแม่สามารถเริ่มฝึกให้กับลูกน้อยตั้งแต่อายุ 6-7 ปีขึ้นไป เช่น ล้างจาน ตากผ้า เก็บขยะ กวาดบ้าน ถูบ้าน ซึ่งพื้นฐานของการทำงานบ้านแบบ EF นั่นเป็นการทำให้เด็กได้ขยับนิ้วมือ ขยับสมองมากกว่าการทำให้บ้านสะอาด
  • การดูแลนอกบ้าน หรือการทำตามกฎของสังคม เช่น กินข้าวในร้านอาหาร การวิ่งเล่นตามในห้าง และการเข้าคิว

2. เอาตัวรอดได้ จากสถานการณ์เสี่ยงอันตรายต่างๆ

เช่น เป้าหมาย คือ อยากซิ่งมอเตอร์ไซค์ ดังนั้น EF คือขี่มอเตอร์ไซค์อย่างไรให้ปลอดภัย ต้องควบคุมความคิด อารมณ์ การกระทำที่ดี หรือ เป้าหมาย คือมีเซ็กส์ในคืนวันวาเลนไทน์ ดังนั้น EF คือ การมีเซ็กส์แบบสวมถุงยางอนามัย โดยผ่านการควบคุมความคิด อารมณ์ การกระทำที่ดีและมีสายสัมพันธ์กับแม่ที่แข็งแรง เพราะสายสัมพันฑ์ของแม่จะดึงรั้งสติของลูกไว้เสมอ เช่น หน้าแม่ลอยมา

3. มีอนาคตที่สร้างได้

Advertisement
  • #มองไปข้างหน้า การมีแรงจูงใจ มีความมุ่งมั่น ความหลงใหลในความชอบ
  • #วางแผน
  • #ลงมือทำ
  • #รับผิดชอบ
  • #ยืดหยุ่น ปรับเป้าหมาย ปรับแผนได้ตลอดเวลา ไม่โทษตัวเอง ไม่โทษผู้อื่น
สอนลูกให้มีวินัย

สอนลูกให้มีวินัย

องค์ประกอบของ EF

1. การควบคุมตัวเอง (self control)

สำคัญที่สุด จะทำได้ต้องผ่านกระบวนการ 3 ส่วนคือ

  1. จดจ่อได้นาน (focus)
  2. ไม่วอกแวก (distraction)
  3. รู้จักประวิงเวลามีความสุข (delayed gratification) หรืออดเปรี้ยวไว้กินหวาน ลำบากแค่ไหนก็จะทนให้ผ่าน

2. ความจำพร้อมใช้ (working memory)

เมื่อถึงสถานการณ์ ความจำต้องพร้อมใช้เสมอๆ โดยที่พ่อแม่สามารถช่วยพัฒนาลูกน้อยด้วยการปล่อยให้ลูกได้เล่นและฝึกทำงานบ้าน เพราะทั้งสองกิจกรรมจำเป็นต้องบริหารความจำตลอดเวลา เนื่องจากความจำใช้งานจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการลงมือทำ ไม่ได้เกิดจากการนั่งเรียนตามทฤษฎี

3. การคิดวิเคราะห์ยืดหยุ่น (cognitive flexibility)

เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผ่านการเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนตัวแปร เปลี่ยนกระบวนการคิด เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งพ่อแม่สามารถช่วยลูกได้ด้วยการส่งเสริมให้ลูกๆ เล่นตั้งแต่ช่วง 2-7 ขวบ และในช่วง 8-12 ปี เนื่องจากทั้งสองช่วงนี้สมองของเด็กจะวางโครงสร้างด้านตรรกะ การใช้เหตุผล แล้วจึงนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่นพลิกแพลงต่อไป

สอนลูกให้มีวินัย

สอนลูกให้ฉลาดและมีวินัย

นอกจากนี้ คุณหมอยังได้แนะนำกิจกรรมของลูกน้อยหลังจากกลับมาจากโรงเรียน เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่จะกลับถึงบ้านประมาณ 17:30 น. ทำให้ลูกน้อยมีเวลาในการทำกิจวัตรประจำวันให้เสร็จ ตั้งแต่เวลา 18.00-21.00 น. รวม 3 ชั่วโมง ตามลำดับ ดังนี้

  1. งานบ้าน : เป็นอันดับแรกๆ ที่พ่อแม่ควรจะบอกให้ลูกน้อยได้ทำ เพราะการให้เด็กได้ทำงาน้านนั้นจะเป็นการปลูกฝั่งให้เด็กนึกถึงส่วนรวมมากกว่าตนเอง
  2. การบ้าน : สำหรับวันไหนที่ลูกน้อยไม่มีการบ้าน พ่อแม่อาจหาแบบฝึกหัดเสริมมาให้ล๔กได้ทำก็ได้ ส่วน 2 อย่างนี้ ทั้งงานบ้านและการบ้าน ต้องบอกให้เด็กทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะไปเล่น เพื่อฝึกความรับผิดชอบ และยอมลำบากก่อนสบายทีหลัง
  3. การเล่น : เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในวัยเด็ก เพราะเขาจะได้รู้สึกถึงความผ่อนคลาย พ่อแม่สามารถให้การเล่นที่ลูกน้อยอยากจะทำเป็นรางวัลหลังจากที่ยอมฝืนทำในสิ่งที่ตนไม่สนุกมาก่อนแล้วจนเสร็จ
  4. อ่านนิทานก่อนนอน : ก่อนที่ลูกจะนอน พ่อแม่อาจใช้กิจกรรมนี้เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ และลูก ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ไม่ค่อยตื่นเต้นมากนัก เพื่อเตรียมส่งลูกเข้านอน

ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกรู้จักบริหารเวลาทำกิจวัตรเหล่านี้ด้วยตนเอง พ่อแม่ต้องไม่บอกว่าเวลาไหนควรทำอะไร ปล่อยให้เขาได้บริหารจัดการเวลาเอาเอง ซึ่งปกติเด็กมักจะรบทำงานบ้านและการบ้านให้เสร็จเร็วๆ เพราะจะไปเล่นได้นานขึ้น โดยเด็กจะเริ่มลูกรู้จักบริหารเวลาเมื่อมีอายุได้ 2-8 ขวบ

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ

ที่มา: thepotential

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

รวมค่าเทอมโรงเรียนอนุบาล ปี 2561

ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน “สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง” งานนี้ต้องรอด!

5 ที่มา ปัญหา “ปวดหลัง” ในวัยอนุบาล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว