X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เท้าแบน ลูกเราเท้าแบนหรือเปล่า ลูกเท้าแบนต้องพาไปหาหมอไหม

บทความ 5 นาที
เท้าแบน ลูกเราเท้าแบนหรือเปล่า ลูกเท้าแบนต้องพาไปหาหมอไหมเท้าแบน ลูกเราเท้าแบนหรือเปล่า ลูกเท้าแบนต้องพาไปหาหมอไหม

ในช่วงที่เด็ก ๆ กำลังเติบโต พวกเขาอาจต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากมาย ซึ่งภาวะ เท้าแบน เป็นสิ่งที่เด็กเล็กทั่วไปเป็นกันได้ และความผิดปกตินี้ มักหายไปตอนเด็กอายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนที่โตแล้ว อาจจะยังเท้าแบนอยู่ มาดูกันว่าเมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปหาหมอ อาการเท้าแบนแบบไหน ที่เรียกว่าผิดปกติ

 

เท้าแบน คืออะไร

เท้าแบน เป็นภาวะที่เท้าเกิดความผิดปกติ เมื่อลองเอาเท้าแนบติดกับพื้น จะมองไม่เห็นส่วนโค้งเว้าใต้เท้า ความจริงแล้วภาวะนี้ เกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วไปที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1-5 ขวบ เกิดจากการที่กระดูกและข้อต่อของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งความผิดปกตินี้ มักจะหายไปเมื่อเด็กอายุได้ 6 ขวบ อย่างไรก็ตาม อาจมีเด็กบางคนที่ไม่หายขาดจากภาวะเท้าแบน ทำให้ต้องเข้ารับการรักษา เพื่อให้กลับมามีเท้าที่ปกติ และใช้งานได้เหมือนคนทั่วไป ส่วนสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่หายขาดจากโรคนี้นั้น อาจมาจากภาวะกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติ และมีกระดูกข้อเท้าที่ผิดรูป

เด็กเท้าแบนส่วนใหญ่ สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ และเล่นกีฬาได้เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคน อาจรู้สึกเจ็บหรือมีอาการปวดที่เท้า เพราะกระดูกมีการเติบโตผิดรูป จนส่งผลต่อการใช้ชีวิต และเดินได้ไม่สะดวกเหมือนคนอื่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคนิ้วล็อกในเด็ก พบได้ตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่จะมีวิธีสังเกตอาการลูกน้อยได้อย่างไร

 

วิดีโอจาก : Baby Matters by หมอเหมี่ยว

 

ลักษณะของโรคเท้าแบน

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท้าแบบไหม หรือถ้าเท้าของเขามีลักษณะแบบนี้ถือว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท้าแบบหรือเปล่า เรามาดูไปพร้อม ๆ กันได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ลูกป่วยเป็นอะไรได้บ้างในฤดูกาลต่างๆ

 

1. ยืนเขย่งขาไม่ได้

ก่อนที่เราจะดูได้ว่าลูกของเราเป็นหรือเปล่านั้น แน่นอนว่าเด็กจะไม่สามารถเขย่งขาได้ หรือเขาจะทรงตัวลำบาก ทำให้ในช่วงการเคลื่อนไหวของเขาทุกครั้ง เราจะรู้สึกเคลื่อนไหวตัวลำบาก รวมถึงเดินขึ้นลงบันไดลำบากไปด้วย เพราะฉะนั้นหากลูกของเรามีอาการเหล่านี้อยู่แล้วล่ะก็ เราอาจจะต้องพาลูกมาปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำหรือทำการรักษานั่นเอง

 

2. ไม่สามารถสวมรองเท้าได้

หากลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ เขาอาจจะใส่รองเท้าค่อนข้างลำบาก ยิ่งถ้ารองเท้าคู่ไหนที่เขาไม่เคยใส่แล้วไปใส่ เขาจะใส่ไม่ได้แน่นอน เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้องทำการสังเกตบริเวณเท้าของลูกด้วยว่าอุ้งเท้าของเขาแบนไหม เพื่อที่เราจะได้ทำการพาลูกไปรักษาได้อย่างถูกวิธีนั่นเอง

 

3. รู้สึกชาฝ่าเท้า

ถ้าลูกของเรามีอาการชาบริเวณฝ่าเท้า หรือรู้สึกอ่อนแรงบริเวณนิ้วเท้า สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกเราว่าลูกของเรามีลักษณะอุ้งเท้าที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเท้าแบน เมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วก็ไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลยเรื่องเหล่านี้ไป อาจจะต้องขอคำแนะนำจากคุณหมอและพาลูกไปทำการรักษาจะดีที่สุด

 

4. ฝ่าเท้าเริ่มบวมแดง

อีกหนึ่งข้อที่จะกำลังบ่งบอกว่าลูกของเราเป็นโรคเท้าแบนหรือไม่ นั่นคือบริเวณฝ่าเท้าด้านในจะมีลักษณะบวมแดงขึ้นมา หรือบางคนถ้าเป็นหนักมาก ๆ ก็อาจจะทำให้ฝ่าเท้ามีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นบริเวณรอบ ๆ ได้เลย ดังนั้นหากลูกของเราไม่จะสบายหรือกำลังมีอาการแบบนี้อยู่ เราจะต้องรีบทำการรักษาให้เร็วที่สุดค่ะ

เด็กเท้าแบน มีอาการเป็นยังไง

เด็กที่เท้าแบน อาจรู้สึกไม่สบายเท้าเมื่อต้องเดินหรือวิ่ง เคลื่อนไหวเท้าได้ลำบาก มีเท้าผิดรูป มีอาการปวดตั้งแต่เข่าลงไปถึงเท้า ใส่รองเท้าได้ลำบาก ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ไม่สะดวก เหนื่อยง่าย ซุ่มซ่ามตอนเดิน และมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น หากไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น เอ็นร้อยหวายอักเสบ ข้อเท้าอักเสบ เอ็นในฝ่าเท้าอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดบริเวณรอบ ๆ เท้า ปวดหลัง ปวดสะโพก เจ็บตาปลา และปวดนิ้วหัวแม่เท้า เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้ อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเด็ก และส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กได้

 

เท้าแบน

 

โรคเท้าแบน รักษายังไง

หากเด็กอายุมากกว่า 5 ขวบแล้วยังเท้าแบนอยู่ คุณหมออาจแนะนำให้เด็กใส่เสริมส้นในรองเท้า เพื่อช่วยในการรักษาอาการปวด หรือใช้แผ่นรองเท้าเพื่อช่วยให้สบายเท้ามากยิ่งขึ้นเวลาเดิน นอกจากนี้ เด็ก ๆ อาจต้องทานยาแก้ปวด และหมั่นออกกำลังยืดกล้ามเนื้อเท้าด้วย และในบางกรณี คุณหมออาจแนะนำให้เด็กเข้ารับการผ่าตัด หากว่าภาวะเท้าแบนของเด็กรุนแรง หรืออาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ในอนาคต

 

วิธีดูแลลูกที่มีภาวะเท้าแบน โรคเท้าแบน

คุณแม่สามารถดูแลลูก ๆ ที่มีภาวะเท้าแบนได้ง่าย ๆ ที่บ้าน ดังนี้

  • เมื่อเด็กรู้สึกปวดเท้า ให้เด็กนอนพัก หยุดการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกาย หรืองดเว้นจากการทำกิจกรรม เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ การกระโดด เป็นต้น เพราะกิจกรรมเหล่านี้ ต้องอาศัยการขยับเท้าและข้อเท้า ซึ่งอาจทำให้อาการปวดเท้าของเด็กแย่ลงมากกว่าเดิม
  • ซื้อแผ่นรองเท้าตามร้านขายยาให้เด็กใส่ตอนที่เดิน อาจช่วยให้เด็กเดินได้สบายมากขึ้น และปวดเท้าน้อยลง
  • หากเด็กมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ควรให้เด็กลดน้ำหนัก เพราะการที่เด็กน้ำหนักเยอะ อาจทำให้น้ำหนักกดทับเท้าตอนที่เดิน จนปวดเท้ามากขึ้นได้
  • หากเด็กมีอาการปวดเท้า ให้ลองประคบเย็นที่เท้าของเด็ก หรืออาจจะให้เด็กรับประทานยาแก้ปวดไอบูโพรเฟนก็ได้ แต่ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะให้เด็กรับประทานยาทุกชนิด
  • ให้เด็กใส่รองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าของเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กเกิดอาการปวดตอนที่เดินอยู่
  • ลองปรึกษาแพทย์ดูว่า มีกิจกรรมไหนที่เด็ก ๆ ทำได้บ้าง และมีกิจกรรมไหนที่ควรเลี่ยง
  • ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เด็กเป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง
  •  ไม่ให้เด็กเล่นกีฬาที่อาจทำให้เกิดแรงกระแทกที่เท้า เช่น ฟุตบอล เทนนิส ฮอกกี้ หรือบาสเกตบอล เป็นต้น
  • หากอาการของเด็กแย่ลง ให้พาเด็กเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจ

 

พาลูกไปหาหมอตอนไหนดี

หากตอนนี้ คุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยเท้าแบน ก็อย่าเพิ่งตกใจ หากลูก ๆ เราอายุอยู่ในช่วง 1-5 ขวบ ก็ยังถือว่าไม่มีความผิดปกติอะไร เพราะเด็ก ๆ ที่ยังอายุน้อยมักจะเท้าแบน แต่หากลูกอายุมากกว่า 5 ขวบแล้วเท้ายังไม่หายแบน ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาค่ะ ส่วนวิธีสังเกตว่าลูกเท้าแบนไหม ทำได้ง่าย ๆ โดยให้ลูกยืน และลองเอาเท้าแนบพื้นดู หากใต้เท้าของเด็กไม่มีส่วนโค้งเว้า ก็เท่ากับลูกมีภาวะเท้าแบนค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร”
Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก คุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร”
5 ปัจจัยที่ทำให้เกิด “ผดผื่นทารก”
5 ปัจจัยที่ทำให้เกิด “ผดผื่นทารก”

เมื่อคุณแม่พาลูกที่มีภาวะเท้าแบนไปพบหมอ หมอจะตรวจดูเท้าของเด็กในขณะที่เด็กนั่งหรือยืน และตรวจดูการเคลื่อนไหวของเด็กตอนที่เดิน รวมทั้งอาจจะเช็กดูที่ขาท่อนล่างหรือสะโพกของเด็ก ๆ ด้วย ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า ซึ่งอาจทำโดยการเอกซเรย์ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

โรคคอพอก เด็กและคนท้องเป็นกันได้ เกิดจากร่างกายขาดไอโอดีนจริง ๆ หรือไม่

โรคตับอักเสบ และโรคตับแข็งในเด็ก เกิดได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไร

ที่มาข้อมูล : 1 , 2 , 3 , 4 , 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • เท้าแบน ลูกเราเท้าแบนหรือเปล่า ลูกเท้าแบนต้องพาไปหาหมอไหม
แชร์ :
  • ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

    ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

  • การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
    บทความจากพันธมิตร

    การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป

  • จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
    บทความจากพันธมิตร

    จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

app info
get app banner
  • ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

    ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

  • การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
    บทความจากพันธมิตร

    การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป

  • จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
    บทความจากพันธมิตร

    จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ