X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่ เรื่องสุขภาพที่แม่ฟูลไทม์ต้องใส่ใจ

บทความ 5 นาที
5 โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่ เรื่องสุขภาพที่แม่ฟูลไทม์ต้องใส่ใจ5 โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่ เรื่องสุขภาพที่แม่ฟูลไทม์ต้องใส่ใจ

5 โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่ เรื่องสุขภาพที่แม่ฟูลไทม์ต้องใส่ใจ

5 โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่ เรื่องสุขภาพที่แม่ฟูลไทม์ต้องใส่ใจ

5 โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่ เรื่องสุขภาพที่แม่ฟูลไทม์ต้องใส่ใจ

การเลี้ยงลูกด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนใฝ่ฝัน เพราะจะได้อยู่ดูแลลูกตลอดเวลา ได้เห็นพัฒนาการของลูกรักทุก ๆ ขั้น ทุก ๆ เรื่องราวอย่างใกล้ชิด แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณแม่ฟูลไทม์ต้องเผชิญก็คือปัญหาเรื่องสุขภาพของตัวคุณแม่เอง เราเลยรวบรวมวิธีการดูแลสุขภาพสำหรับคุณแม่ฟูลไทม์มาฝากกันค่ะ

#1 ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะจากความเครียดในการเลี้ยงลูกหรือการนอนหลับไม่เพียงพอนี้ คุณแม่มือใหม่น่าจะเคยเป็นกับเกือบทุกคน บางคนอาจปวดหัวพาลไปถึงการปวดหัวข้างเดียวหรือไมเกรน หรืออย่างที่ดิฉันเป็นคือปวดร้าวไปถึงกระบอกตา ยิ่งคุณแม่ท่านไหนที่เลี้ยงลูกเพียงลำพัง ไม่มีคนอื่นช่วยเลยจริง ๆ ย่อมทำให้เกิดความเครียดได้ แถมเมื่อประสบปัญหาที่แก้ไม่ตก ยิ่งจะพาลว้าวุ่นใจจนเครียดไปกันใหญ่ ช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือ ช่วงหลังคลอดที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายยังสูงอยู่ รวมไปถึงช่วงวัยเปลี่ยนผ่านของลูก เช่น ลูกอายุ 6 เดือน เริ่มกินอาหารเสริม หรือลูกเริ่มหัดเดิน เนื่องจากคุณแม่ต้องพบกับความท้าทายใหม่ ๆ ในการเลี้ยงลูก

วิธีการดูแลตัวเอง : หากเกิดความวิตกกังวลเครียดเรื่องใดเป็นพิเศษ อย่าเก็บไว้คนเดียวนะคะ จะยิ่งทำให้หงุดหงิดวุ่นวายใจ เผลอ ๆ อาจจะไปลงกับลูกหรือสามีโดยไม่รู้ตัว ทางที่ดีความหาที่ปรึกษาพูดคุย ปรับทุกข์ ขอคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูก ถ้าสามีไม่สะดวกก็เพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัว หรือสมัยนี้มีอินเทอร์เน็ตก็หาข้อมูลเรื่องที่กังวลใจในโลกออนไลน์ก็ช่วยได้ค่ะ แต่ถ้าเกิดปวดหัวขึ้นมาแล้วเบื้องต้นก็ควรจะกินยาพาราเซ็ทตามอล (คุณแม่ที่ให้นมลูกเองสามารถกินได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดค่ะ) หากปวดกระบอกตาให้ประคบเย็นช่วยได้ค่ะ

โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่

ปวดศีรษะ

 

#2 ปวดแขนและปวดหลัง

อาการปวดแขนและปวดหลังเกิดจากการอุ้มลูกเป็นเวลานานๆ คุณแม่หลายคนต้องเคยประสบปัญหาลูกไม่ยอมนอนเลย วิธีการเดียวที่จะกล่อมลูกให้หลับได้คือการอุ้มเดินไปเรื่อยๆ ซึ่งถึงแม้จะเป็นลูกแรกเกิดหรือยังน้ำหนักไม่มาก แต่หากอุ้มติดต่อกันเป็นชั่วโมงก็ทำให้แขนเมื่อยล้า ลามไปถึงอาการปวดหลังด้วยค่ะ หรือการไปเที่ยวหรือไปช้อปปิ้งการต้องกระเตงลูกอุ้มไปด้วยนานๆ ก็เป็นการทำร้ายแขนและหลังของคุณแม่อย่างโหดร้ายเชียวค่ะ

วิธีการดูแลตัวเอง : อย่าใช้แขนข้างที่ถนัดอุ้มลูกเพียงข้างเดียวค่ะ เพราะจะทำให้แขนล้าได้ ควรฝึกใช้แขนข้างที่ไม่ถนัดอุ้มบ้าง ถึงแม้แรกๆ อาจจะยังไม่ถนัด แต่นับรองว่าฝึกบ่อยๆ ก็จะเข้ามือเองค่ะ นอกจากนี้เป้อุ้มเด็ก หรือรถเข็นก็เป็นทางเลือกที่ดีหากจำเป็นต้องออกนอกบ้านไปทำธุระ เพราะไม่ว่าลูกจะหลับหรือไม่ คุณแม่ก็สามารถจะทำธุระอื่นไปด้วยได้ค่ะ

โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่

ปวดแขนและปวดหลัง

 

#3 โรคกระเพาะ

คุณแม่ฟูลไทม์ทุกคนที่ 24 ชั่วโมงในแต่ละวันคือเวลาของลูก ต้องระวังโรคกระเพาะไว้ให้ดีนะคะ ยิ่งถ้าอยู่กับลูกที่บ้านแค่ 2 คน ไม่มีคนช่วยด้วยล่ะก็ คุณแม่จะแทบหาเวลากินข้าวไม่ได้ และกินข้าวไม่ตรงเวลา เมื่อลูกหลับก็มีอะไรต้องทำเต็มไปหมด พอจะกินข้าวอีกที อ้าว! ลูกตื่นเสียแล้ว เลยยอมอด หรือบางทีมื้อเช้ากินค้างไว้ลากยาวมาถึงตอนเย็นกว่าจะได้กินหมดจาน 

วิธีการดูแลตัวเอง : พยายามกินข้าวให้ตรงเวลา แต่ความจริงอาจเป็นเรื่องที่ยากมาก ไม่เช่นนั้นให้เตรียมนม น้ำผลไม้ หรือของทานเล่นไว้ใกล้ๆ มือค่ะ อย่าปล่อยให้หิวจัด ถ้ารู้ตัวว่าเริ่มหิวดื่มนมเข้าไปเลยค่ะ นอกจากจะช่วยให้อยู่ท้องแล้วยังช่วยเคลือบกระเพาะด้วย หากลูกโตอยู่ในวัยกินอาหารเสริมได้แล้ว ให้กินข้าวพร้อมลูกเลยค่ะ นอกจากเป็นการกระตุ้นให้ลูกอยากกินข้าวแล้ว ยังเป็นการช่วยให้คุณแม่ได้กินอาหารตามเวลาอีกด้วยค่ะ

โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่

โรคกระเพาะ

 

#4 โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและโรคริดสีดวง

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและโรคริดสีดวงเกิดจากการกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไว้นานๆ เนื่องจากคุณแม่ต้องสาละวนวุ่นวายกับกิจวัตรประจำวันของลูกน้อยทั้งวันจนอาจจะบอกว่าเรื่องเข้าห้องน้ำ เอาไว้ก่อน! แต่ความจริงต้องเข้าทันทีนะคะ อย่ากลั้นไว้นานเด็ดขาด เพราะจะเกิดผลเสียที่อันตรายกว่าจะคาดคิดได้ค่ะ การกลั้นปัสสาวะนานๆ จะส่งผลเสียทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ อาการเบื้องต้น คือ เวลาปัสสาวะจนรู้สึกว่าหมดแล้ว ผ่านไปอีกเพียงไม่กี่นาทีก็จะกลับมาปวดปัสสาวะอีก ยิ่งไปกว่านั้นหากทิ้งไว้นาน อาจทำให้มีอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย หรือขัดเบา และแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือกระทั่งปัสสาวะขุ่นมีเลือดเจือปนเลยก็เป็นได้ ส่วนการอั้นอุจจาระนานๆ น้ำจากอุจจาระจะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในเส้นเลือด ทำให้อุจจาระแข็งถ่ายยาก หรือท้องผูกนั่นเอง และอาจเกิดโรคริดสีดวงทวารตามมา นอกจากนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียด้วย เนื่องจากอุจจาระที่อั้นไว้นานจะถูกแบคทีเรียในลำไส้เข้าไปกินและขับสารพิษออกมาก

วิธีการดูแลตัวเอง : ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ห้ามกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระเลยค่ะ หากจำเป็นต้องกลั้นไว้เมื่เสร็จธุระแล้วก็ต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที อย่าอ้อยอิ่งหรือผัดผ่อนเด็ดขาดค่ะ

โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่
บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบและโรคริดสีดวง

 

#5 ปวดขาและปวดส้นเท้า

คุณแม่ฟูลไทม์ที่มีลูกวัยเตาะแตะอาจจะเสี่ยงมากหน่อยที่จะเกิดอาการปวดขา เนื่องจากลูกน้อยเริ่มเดินเก่ง ไม่ยอมให้อุ้ม และอาจต้องวิ่งไล่จับทั่วบ้าน เท่านั้นไม่พอยังทำข้าวของกระจัดกระจายตามมุมต่างๆ ในบ้าน ทำให้คุณแม่ต้องเดินตามเก็บและทำความสะอาดอีกด้วยค่ะ การเดินเยอะๆ ทำให้เกิดอาการปวดขา และหากคุณแม่คนไหนเดินลงส้นเท้าอยู่แล้ว จะยิ่งเสี่ยงต่ออาการปวดส้นเท้า ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตของคนสมัยนี้ที่เรียกว่า โรครองช้ำ ได้ค่ะ 

วิธีการดูแลตัวเอง : ให้คุณแม่นั่งแช่เท้าในน้ำอุ่นทุกวัน วันละประมาณ 10 – 15 นาที จะช่วยลดอาการปวดขาและปวดส้นเท้าได้ค่ะ นอกจากนี้สำหรับคุณแม่ที่เดินลงส้นเท้าควรสวมรองเท้าใส่ในบ้านให้ติดเท้าไว้เดินในบ้านก็จะช่วยลดอาการปวดส้นเท้าได้ดีค่ะ

โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่

ปวดขาและปวดส้นเท้า

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความที่เกี่ยวข้อง :

Generali.co.th – 5 โรคฮิตกับภัยเงียบของเหล่าแม่บ้านที่ต้องระวัง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 อุปกรณ์ ออกกำลังกายแม่ อยู่บ้านก็ ออกกำลังได้ สุขภาพดี ไม่ต้องออกนอกบ้าน

“ซุปเปอร์ฟู๊ดส์” สุดยอด อาหารดี มีประโยชน์ ยิ่งกินย่ิงดี ร่างกายแข็งแรง

วิธีออกกำลังกาย แม่หลังคลอด หุ่นเป๊ะปัง น้องสาวฟิต จนสามีไปไหนไม่รอด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ธิดา พานิช

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 5 โรคอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่ เรื่องสุขภาพที่แม่ฟูลไทม์ต้องใส่ใจ
แชร์ :
  • 7 ข้อแม่ต้องรู้ เมื่อหนูถ่ายเหลวและอาเจียน

    7 ข้อแม่ต้องรู้ เมื่อหนูถ่ายเหลวและอาเจียน

  • 16 สิ่งที่แม่ฟูลไทม์เท่านั้นจะเข้าใจ

    16 สิ่งที่แม่ฟูลไทม์เท่านั้นจะเข้าใจ

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • 7 ข้อแม่ต้องรู้ เมื่อหนูถ่ายเหลวและอาเจียน

    7 ข้อแม่ต้องรู้ เมื่อหนูถ่ายเหลวและอาเจียน

  • 16 สิ่งที่แม่ฟูลไทม์เท่านั้นจะเข้าใจ

    16 สิ่งที่แม่ฟูลไทม์เท่านั้นจะเข้าใจ

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ