ลูกชักจากไข้สูง ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก แต่เมื่อเกิดขึ้น โดยเฉพาะครั้งแรก คุณพ่อ คุณแม่มักจะมีความเครียด วิตกกังวลสูง และทำอะไรไม่ถูก เรามาทำความรู้จักกับภาวะนี้ และเตรียมพร้อมรับมือหากเกิดขึ้น กันดีกว่าค่ะ
อาการชักจากไข้สูง เกิดจากการที่สมองของเด็กเล็ก ยังพัฒนาเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีอุณหภูมิร่างกายสูงมาก อาจทำให้เกิดอาการชักได้ จึงมักเกิดในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี อาการนี้ สามารถพบได้ในเด็กเล็ก คืออายุตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนกระทั่ง 5 ปี ช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุดคืออายุ 1 – 2 ปี
อาการชักจะเกิดขึ้น หลังจากมีไข้สูง (อุณหภูมิสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) ภายในไม่เกิน 24 – 48 ชั่วโมง หลังจากที่มีไข้สูง ลักษณะอาการชักจะเป็นชักแบบเกร็ง กระตุกทั้งตัว เป็นทั้งข้างซ้าย และขวาเท่า ๆ กัน ระยะเวลาที่ชักมักเป็นช่วงสั้น ๆ ไม่นานกว่า 15 นาที อาการชักมักจะหยุดได้เองภายในเวลา 3 – 5 นาที หลังจากชักเด็กจะรู้สึกตัวดี
ลักษณะอาการชักจะเป็นชักแบบเกร็ง กระตุกทั้งตัว เป็นทั้งข้างซ้าย และขวาเท่า ๆ กัน ระยะเวลาที่ชักมักเป็นช่วงสั้น ๆ ไม่นานกว่า 15 นาที และมักหยุด ๆ ได้เอง
อาการชักจากไข้สูงในเด็ก อันตรายแค่ไหน ?
โดยทั่วไปภาวะนี้จะไม่มีอันตรายร้ายแรง ไม่ส่งผลต่อระดับสติปัญญา พัฒนาการหรือการเรียนรู้ของเด็ก ยกเว้นในบางรายที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะชักต่อเนื่องกันนานมากกว่า 30 นาที จนมีภาวะตัวเขียว เนื่องจากขาดออกซิเจน กรณีนี้อาจส่งผลต่อสมองได้
***ข้อควรระวัง คือ เด็กที่เคยชักจากไข้สูง มีความเสี่ยงต่อการชักซ้ำ ประมาณ 30% หากมีไข้สูงอีก จนกว่าจะอายุมากกว่า 5 ปี ก็มักจะหายไป หากไม่ได้เป็นโรคลมชัก
**สิ่งที่หมอมักจะย้ำเตือนกับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกมีอาการชักจากไข้สูงก็คือ เมื่อลูกมีไข้สูงควรรีบเช็ดตัวลดไข้ และให้ยาลดไข้พาราเซตามอลทันที อย่าปล่อยให้ไข้สูงนาน เพราะลูกอาจเกิดอาการชักขึ้นมาได้อีก***
เด็กที่เคยชักจากไข้สูง มีความเสี่ยงต่อการชักซ้ำ ประมาณ 30% หากมีไข้สูงอีก จนกว่าจะอายุมากกว่า 5 ปี ก็มักจะหายไป หากไม่ได้เป็นโรคลมชัก
เด็กที่มีอาการชักจากไข้สูง ไม่ได้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคลมชักในอนาคต สูงกว่าเด็กปกติทั่วไป ยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้คือ มีอาการชักนานกว่า 15 นาที มีอาการชักซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง มีความผิดปกติทางสมอง และพัฒนาการก่อนมีอาการชัก หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมชัก ก็จะมีโอกาสเป็นโรคลมชักสูงกว่าเด็กปกติได้
สิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นอันดับแรก หากมีอาการชักจากไข้สูงคือ “ควบคุมสติ” อย่าตกใจ แล้วรีบจับให้ลูกนอนท่าตะแคง หัวต่ำ เพื่อป้องกันการสำลัก ห้ามใช้นิ้ว หรือวัสดุใด ๆ เช่น ช้อน ไปล้วง หรืองัดปากลูกโดยเด็ดขาด และควรรีบพาลูกโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาในทันที หากมีอาการชักนานมากกว่า 5 นาที หรือรอบปากมีรอยเขียวคล้ำ
***ทั้งนี้ หากลูกมีอาการชักเป็นครั้งแรก ไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด ไม่ว่าจะมีไข้ หรือไม่ ก็ควรพาลูกไปโรงพยาบาล เพื่อจะได้สาเหตุของอาการชักให้ชัดเจน และได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
หากลูกมีอาการชักเป็นครั้งแรก โดยไม่ทราบสาเหตุ คุณพ่อ คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์จะดีที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ระวังเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก กรมควบคุมโรคเตือนพ่อแม่ ดูแลลูก 1-3 ปี สังเกตอาการโรคมือเท้าปาก
โรคที่เกิดขึ้นในวัยทารก โรคยอดฮิตในหมู่เด็กมีอะไรบ้าง พ่อแม่จะรู้ได้ไงว่าลูกป่วย
ระวังป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ คนท้อง ทารก เด็กเล็ก วัยเรียน กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ โรคร้ายเสียชีวิตได้
ที่มา : mayoclinic.org, mamastory.net
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!