X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง จะดูแลครรภ์อย่างไรให้ปลอดภัย ?

บทความ 5 นาที
ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง จะดูแลครรภ์อย่างไรให้ปลอดภัย ?

เมื่อมีครรภ์แฝดครั้งแรก คุณแม่อาจตื่นเต้นมาก แต่ต้องระวังให้ดีโดยเฉพาะ ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด ที่มีอยู่หลายอย่าง หากไม่ได้รับการดูแลครรภ์ที่ดีมากพอ อาจทำให้เกิดภาวะอันตรายได้หลายอย่าง บทความนี้จะมาบอกในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ระวัง และการดูแลครรภ์แฝดแบบเบื้องต้นให้

 

ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง ?

การเกิดครรภ์แฝดหากเป็นคุณแม่มือใหม่ที่อยากมีลูกคงจะยินดีมาก แต่ต้องระวังให้ดี เพราะการมีครรภ์แฝดนั้นทำการดูแลยากมากกว่าครรภ์ทั่วไป และมีความเสี่ยงต่อภาวะความผิดปกติต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิมด้วย เดิมทีหากแค่ดูแลครรภ์พอผ่าน ๆ อาจไม่สามารถช่วยรักษาครรภ์แฝดเอาไว้ได้ และยิ่งจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะร้ายจนทำให้แท้งบุตรได้ ดังนั้นคุณแม่ควรจะต้องศึกษาให้ดีว่าภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝดมีอะไรบ้าง ซึ่งมีทั้งในช่วงที่ระหว่างตั้งครรภ์ ไปจนถึงช่วงหลังคลอด อันตรายเหล่านี้เกิดขึ้นได้ต่อทั้งคุณแม่ และทารกน้อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : คันขา ยุบยิบขา ก้มไปดูไม่มีอะไร กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข คนท้องเสี่ยงไหม ?

 

วิดีโอจาก : RAMA Channel

 

ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝดขณะตั้งครรภ์

จุดที่สังเกตจากภาวะแรกที่เด่นชัด คือ การที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงมากกว่าปกติ สังเกตจากการคลื่นไส้อาเจียนหนัก และเกิดขึ้นบ่อย หรือมีอาการแสบร้อนกลางอกบ่อย ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือช่วงก่อนคลอด ดังนี้

 

  • ครรภ์เป็นพิษ : การเกิดครรภ์เป็นพิษช่วงครรภ์แฝด เกิดจากความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงมากขึ้นของแม่ท้องแฝด ซึ่งเป็นภาวะอันตราย หากมีความดันสูงประกอบกับปริมาณโปรตีนที่มากในปัสสาวะร่วมด้วย จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่ไม่มีแม่ท้องคนไหนอยากเสี่ยงแน่นอน แต่ถ้าหากแม่ท้องทำการฝากครรภ์ไว้จะเพิ่มความปลอดภัยได้เช่นกัน
  • เพิ่มโอกาสเสียบุตร : แม้การมีลูกแฝดจะเห็นได้ทั่วไปหลายครั้ง แต่แม่ท้องรู้หรือไม่ว่า การมีลูกแฝด จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งบุตร เสี่ยงต่อการสูญเสียทารกในครรภ์ไปมากกว่าปกติด้วยเช่นกัน
  • เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ : แม่ท้องหลายคนอาจกังวลเกี่ยวกับบางโรคที่มักพบเจอในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และภาวะโลหิตจาง ซึ่งการมีลูกแฝดเอง หากดูแลไม่ดี ก็เสี่ยงทำให้คุณแม่เสี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน
  • คลอดก่อนกำหนด : โดยทั่วไปแล้วครรภ์แฝดจะช่วยเพิ่มโอกาสเกิดการคลอดก่อนกำหนด ยิ่งมีทารกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงมากเท่านั้น ซึ่งการที่ทารกคลอดก่อนกำหนด จะทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการ และการเติบโตได้
  • อันตรายจากการคลอด : โดยทั่วไปแล้วการคลอดครรภ์แฝด แพทย์จะต้องใช้เครื่องมือช่วยมากกว่าปกติ นอกจากนี้การคลอดครรภ์แฝด ยังมีสถิติระบุว่ามีโอกาสทำให้คุณแม่เสียชีวิตมากกว่าการคลอดครรภ์ทั่วไปถึง 2.5 เท่า

 

ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด

 

ผลกระทบหลังคลอดครรภ์แฝดต่อคุณแม่ และทารก

นอกจากระหว่างการตั้งครรภ์ หรือในขณะคลอด ในช่วงหลังจากที่คุณแม่คลอดครรภ์แฝดออกมาแล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมาได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังจากคลอด หรือการเกิดภาวะตกเลือดที่สามารถพบได้ทั้งในช่วงก่อนคลอด และหลังคลอด ในส่วนของทารกนั้น ก็ได้รับผลกระทบ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอันตรายต่าง ๆ เยอะไม่ต่างจากคุณแม่ ดังนี้

 

  • ทารกจะมีความเสี่ยงต่อภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า หรือ IUGR คือทารกมีลักษณะตัวที่เล็ก แต่ยังสามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงได้ หากได้รับการดูแลจากแพทย์ หากมีการตรวจเจอในขณะตั้งครรภ์แพทย์จะพิจารณาทำการผ่าคลอดก่อนกำหนด
  • ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ อาจมีการถ่ายเลือดให้กัน ทารกที่สูญเสียเลือดจะทำให้มีขนาดตัวเล็ก และเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง ในขณะที่ทารกอีกคนอาจรับเลือดปริมาณมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายได้
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิการแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเป็นโรคร้ายแรง ที่สามารถพบได้ในทารกจากครรภ์แฝดมากกว่าครรภ์ทั่วไปถึง 2 เท่า
  • เสี่ยงต่อการเกิดภาวะความผิดปกติหลังจากคลอดไปแล้วในระยะยาว โดยอาการเหล่านี้ไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นทันทีหลังคลอด เช่น ปัญหาด้านการสื่อสาร การแสดงออกผ่านพฤติกรรม และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ผิดปกติ เป็นต้น
  • การมีทารกที่เกิดจากครรภ์แฝดนั้น จะทำให้เสี่ยงต่อการรับสารอาหารที่ไม่พอดี เพราะคุณแม่ต้องให้นมทารกมากกว่า 1 คนนั่นเอง โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย ที่ทารกควรได้รับแต่เพียงนมของคุณแม่เท่านั้น

 

ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด 2

 

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด

การเกิดขึ้นของครรภ์แฝดมักมาจากความไม่ได้ตั้งใจ เพราะนอกจากความสวยงามของคู่แฝดที่เกิดออกมาแล้ว ทำให้มีผู้คนสนใจอยากติดตาม แต่เบื้องหลังนั้นมีความเสี่ยงมากมาย ดังนั้นหากคุณแม่พบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์แฝดอยู่ ควรดูแลตนเองเบื้องต้น ดังนี้

 

  • การมีครรภ์แฝดที่ปลอดภัยมากที่สุดควรเริ่มจากการไปฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพราะการฝากครรภ์ครอบคลุมไปถึงการตรวจครรภ์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถตรวจพบภาวะความผิดปกติต่าง ๆ ได้
  • คอยสังเกตอาการของตนเองอยู่ตลอดเวลา หากพบความผิดปกติ เช่น มีอาการอาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง ใบหน้ามือ และเท้าบวมเฉียบพลัน เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาการอื่น ๆ ที่คุณแม่อาจไม่สบายใจ หรือมีความสงสัย ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน
  • ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด นอกจากนี้ควรงดแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เล่นโยคะ หรือการว่ายน้ำ ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ
  • ระมัดระวังเรื่องของการทานอาหารจะต้องทานให้ครบ 5 หมู่ อะไรที่แพทย์ห้ามทานก็ต้องไม่กินจริง ๆ ประกอบกับการกินยาต่าง ๆ แม้จะกินเป็นปกติก่อนตั้งครรภ์ แต่การกินยาทุกชนิดในตอนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • ควรห่างจากบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าหากแม่ท้องมีพฤติกรรมติดบุหรี่ ไม่ใช่แค่ครรภ์แฝดเท่านั้น แต่ครรภ์ทั่วไปก็จะได้รับผลกระทบ จากการที่รกจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อส่งออกซิเจนไปให้ทารก

 

การฝากครรภ์ถือเป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม การดูแลครรภ์แฝดโดยแพทย์เป็นทางเลือกที่สามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ดี หากคุณแม่มีข้อสงสัยเรื่องไหนเกี่ยวกับครรภ์แฝดยังสามารถสอบถามแพทย์ได้อีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องเลือดออกใต้ผิวหนัง จุดแดง จุดม่วงใต้ผิว มาจากไหน อันตรายมากไหม ?

คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ที่มา : 1, 2, 3

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง จะดูแลครรภ์อย่างไรให้ปลอดภัย ?
แชร์ :
  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

    สัญญาณเตือนออทิสติก มีอะไรบ้าง สังเกตได้จากเพลงกล่อมเด็กจริงไหม?

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ