การแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) คือ การแท้งบุตรประเภทหนึ่ง ซึ่งทำให้มีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ โดยที่ปากมดลูกยังไม่ออก ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงอายุครรภ์ ไม่เกิด 20 สัปดาห์ และส่งผลให้แม่ท้องเสี่ยงต่อการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หรือ แท้งลูก theAsianparent พามาดู 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 40 ภาวะแท้งคุกคามอันตรายไหม มีอะไรควรรู้บ้าง!
ภาวะแท้งคุกคาม
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 40 ภาวะแท้งคุกคาม อันตรายไหม?
อาการของแท้งคุกคาม
- ในช่วงการตั้งครรภ์จะสังเกตได้ว่ามีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจจะออกน้อยหรือมากก็แล้วแต่คน
- ตกขาวมีสีน้ำตาลจากเลือดปน
- มีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยหรือปวดหลังช่วงล่าง
- ปวดท้องน้อยแบบบีบๆ
- มีเนื้อเยื่อหรือลิ่มเลือดหลุดจากช่องคลอด
โดยหากแม่ท้องมีอาการผิดปกติในลักษณะนี้ควรพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์ โดยภาวะนี้พบได้ประมาณร้อยละ 20-30 และมีประมาณ 50 ของภาวะนี้สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติจนกระทั่งคลอดลูก
สาเหตุของภาวะแท้งคุกคาม
แท้งคุกคาม
- มีติ่งเนื้อ เนื้องอกที่มดลูก หรือถุงน้ำในมดลูก
- การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ไวรัสบริเวณช่องคลอด
- ความผิดปกติของทารกในครรภ์
- การใช้สารเสพติดบางชนิด
- ตำแหน่งและลักษณะของรกที่เกาะติดอยู่บนผนังมดลูก
- ท้องนอกมดลูก
- การได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่ช่องท้อง
- แม่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
- แม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน อ้วน SLE ความดันโลหิตสูง
- การขาดฮอร์โมนเพศที่ช่วยการตั้งครรภ์ ทำให้เยื่ยบุโพรงมดลูกไม่หนาพอสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก
สำหรับใครที่วางแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะแท้งคุกคามหรือไม่
การตรวจภาวะแท้งคุกคาม
- การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจบริเวณช่องท้อง หรือ ช่องคลอด ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูการเต้นหัวใจและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นการตรวจที่บอกได้ว่าลูกในครรภ์ ยังมีชีวิตหรือไม่ ซึ่งบางครั้งก็จะช่วยทราบปริมาณเลือดที่ไหลออกมาจากช่องคลอดได้ โดยทั่วไปจะตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเป็นหลัก โดยได้ผลที่แม่นยำในการตรวจอายุครรภ์อ่อนๆ โดยแพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด 2-3 นิ้ว เพื่อปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง
- การตรวจเลือด การตรวจเลือดดูสารเคมีชนิดต่างๆ ในเลือดและปริมาณฮอร์โมนจากตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย ซึ่งจะตรวจดูฮอร์โมนฮิวแมน คอริโอนิก โกนาโดโทรฟิน (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) ซึ่งถูกสร้างในช่วงการตั้งครรภ์และฮอร์โมนโพสเจสเทอโรน (Progesterone) ที่จะมีปริมาณสูงขึ้นในช่วงท้อง ซึ่งระดับฮอร์โมนจะสามารถบอกได้ว่าการตั้งครรภ์เป็นปกติ หรือ เป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก
- การตรวจภายใน โดยการตรวจภายในจะใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติการบาดเจ็บรุนแรง โดยตรวจดูอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกรานและระบบสืบพันธ์ุต่างๆ เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก และตรวจดูว่าถุงน้ำคร่ำเกิดการฉีกขาดหรือไม่
การรักษาแท้งคุกคาม
แท้งคุกคาม
ภาวะแท้งคุกคาม ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่จะเป็นการดูแลแบบประคับประคองตามสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละคน โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อน ให้เพียงพอ ลดการทำกิจกรรมที่กระทบต่อท้อง งดการทำงานหนัก ไม่ควรยืนหรือเดินนานๆ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ งดดื่มและสูบบุหรี่ และ ลดความเครียด
สำหรับแม่ท้องบางคนที่โรคเรื้อรัง และ ความผิดปกติที่จะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน แพทย์จำเป็นต้องรักษาที่ต้นเหตุร่วมด้วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาฮอร์โมนโปสเจสเตอโรนเสริมในบางรายที่รู้จักกันในชื่อ ยากันแท้ง เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมน
พฤติกรรมเสี่ยงแท้ง ของคนท้องอ่อนๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่ไม่สุก, ชีสหรือเนยแข็ง, ไส้กรอกและแฮม, ชาและกาแฟ, น้ำอัดลม
- ระวังการติดเชื้อบางโรคระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน โดยการหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีคนแออัด โดยเฉพาะคุณแม่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรค
- งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่ใช้สารเสพติด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี หรือสิ่งที่อันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง, สารระเหย, โลหะหนักที่ผสมในสารเคมี หรือรังสีจากที่ทำงาน เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกีฬาที่อาจมีการกระแทก, การกระโดด และการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมาก อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, เต้นแอโรบิค หรือเล่นโยคะได้ แต่ต้องไม่หักโหมจนเกินไป
ส่วนในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์นั้น คุณหมอให้คำแนะนำไว้ว่า ในการตั้งครรภ์ที่ปกติ การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ดังนั้น ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อน สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย
การเตรียมตัวคุณแม่เพื่อป้องกันการแท้งบุตร
- ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
- ควรรักษาโรคประจำตัวให้เป็นปกติหรือควบคุมโรคได้ก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันเลือดสูง, เบาหวาน, ภูมิคุ้มกันผิดปกติ (SLE และ antiphospholipid syndrome) เป็นต้น
- ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
- ควรลดน้ำหนักตัวให้เป็นปกติก่อนการตั้งครรภ์
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
คุณนิธินันท์ อัศวทร อดีตผู้บริหาร M17 ร่วมนำทีม theAsianparent Thailand
ทารกกินปลาได้ไหม ลูกเริ่มกินปลาได้เมื่อไหร่ พร้อมเมนูปลาสำหรับทารก
100 เมนู ฟิตหุ่นคุณแม่หลังคลอด อิ่มนี้ไม่เกิน 200 แคล ชื่อเมนู: แกงไตปลา
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!