X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

บทความ 5 นาที
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

คุณแม่อาจสงสัยว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่ และผลที่ได้ มีมากกว่าความเสี่ยงหรือเปล่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองจากมะเร็งปากมดลูก จากผู้หญิง 800 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกในแต่ละปี 1 ใน 5 ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรอง หรือไม่ได้ตรวจคัดกรองอย่างเป็นประจำทุก 3 ปี

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นวิธีง่าย ๆ ในการตรวจสุขภาพปากมดลูกของคุณ ปากมดลูกคือช่องที่อยู่ด้านบนของช่องคลอด การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะค้นหาไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา (HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ในปากมดลูกของคุณ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะใช้วิธีการการตรวจที่เรียกว่า แปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test)

 

ในระหว่างการตรวจคัดกรองปากมดลูก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า speculum จะถูกสอดเข้าไปในช่องคลอดอย่างเบามือ เพื่อให้แพทย์ที่ทำการตรวจคัดกรอง สามารถมองเห็นปากมดลูกของคุณได้ จากนั้นจะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ ขั้นตอนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อาจรู้สึกอึดอัดเล็กน้อย แต่จะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

 

ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกบ่อยแค่ไหน?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้ทุก ๆ 3 ปี หากผลการตรวจของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณควรเข้ารับการตรวจหาก :

  • คุณมีอายุระหว่าง 25  ถึง 74 ปี
  • คุณเคยมีเพศสัมพันธ์
  • คุณมีปากมดลูก

 

ช่วงอายุที่ดีที่สุดที่จะเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคืออายุ 25 ปี  ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองปากมดลูกเป็นประจำ หากคุณมีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออก หรือตกขาวผิดปกติใด ๆ คุณควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากคุณอายุต่ำกว่า 25 ปี และเคยตรวจคัดกรองมาแล้ว และผลตรวจผิดปกติ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง อันตรายถ้าไม่รีบตรวจ?

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์

 

วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่มีการบริการในประเทศไทย ในปัจจุบันนั้น มี 3 วิธีหลัก ๆ ได้แก่

  • การตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมดลูก แบ่งเป็น
    • 1. การตรวจแปปสเมียร์แบบสามัญ (Conventional Pap Smear)
    • 2. การเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว (Liquid-based cytology: LBC)
  • การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA แบ่งเป็นการตรวจร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยา และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เพียงอย่างเดียว
  • การตรวจด้วยน้ำส้มสายชู (Visual inspection with acetic acid: VIA)

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ทำได้หรือไม่?

  • หากครบกำหนดที่จะต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในขณะที่คุณตั้งครรภ์ คุณควรงดการตรวจจนกว่าจะคลอดทารก คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ เพื่อให้แพทย์เลื่อนการตรวจครั้งนี้ออกไป โดยปกติแล้วสามารถตรวจได้ 3 เดือนหลังจากคลอดทารก
  • หากไม่ใช่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ แต่เป็นการตรวจซ้ำหลังจากพบความผิดปกติจากครั้งก่อนหน้า ซึ่งคุณถูกเรียกตรวจในระหว่างตั้งครรภ์ คุณก็ควรตรวจในระหว่างตั้งครรภ์ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำคือระหว่าง 3 ถึง 6 เดือนของการตั้งครรภ์

 

มีอันตรายต่อทารก หรือไม่?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระหว่างตั้งครรภ์ นั้นไม่อันตราย ไม่ว่าผลการตรวจคัดกรองจะออกมาเป็นเช่นไร โดยทั่วไปก็ปลอดภัยที่จะตั้งครรภ์ต่อไป เนื่องจากการติดเชื้อ HPV ในระหว่างตั้งครรภ์มักไม่ส่งผลกระทบต่อทารก แม้ว่าจะมีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูก แต่หายากมากที่สิ่งนี้จะลุกลามกลายเป็นมะเร็งในระหว่างตั้งครรภ์ นั่นเป็นเหตุผลที่ในกรณีส่วนใหญ่ แพทย์จะรอจนกว่าลูกของคุณจะคลอด ค่อยทำการทดสอบซ้ำ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โครโมโซมผิดปกติ อันตรายต่อทารกในครรภ์มากน้อยแค่ไหน คุณแม่ควรรู้!

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์

 

หากคุณให้นมบุตร

คุณแม่สามารถตรวจคัดกรองได้ แม้คุณแม่ให้นมลูก การให้นมไม่ส่งผลต่อการทดสอบ คุณแม่อาจพบว่าการทดสอบนั้นอึดอัดเล็กน้อย เนื่องจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมน คุณสามารถถามแพทย์ หรือพยาบาลที่ทำการทดสอบ ถึงวิธีการที่ทำจะให้คุณรู้สึกสบายตัวมากขึ้นกับการทดสอบ คุณแม่ควรรออย่างน้อย 3 เดือนหลังคลอดเพื่อทำการทดสอบ

 

หากผลออกมาไม่ปกติ

หากการทดสอบของคุณแม่ แสดงว่าคุณแม่มีเชื้อ HPV แพทย์จะตรวจสอบการติดเชื้อ และมีแนวโน้มที่จะแนะนำให้ทดสอบเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกของคุณได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าผลจะแสดงการติดเชื้อ HPV แต่โดยปกติจะใช้เวลา 10 ปี หรือมากกว่านั้นในการพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก สตรีมีครรภ์ประมาณ 1 ใน 20 คนเท่านั้นที่จะมีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติหลังจากการตรวจสอบเพิ่มเติม

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้หญิงทุกคนไม่ควรละเลย หากคุณมีอายุ 25 - 74 ปี คุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี การตรวจนั้นไม่เจ็บ ไม่น่ากลัว และใช้ระยะเวลาตรวจไม่นาน จะทำให้คุณทราบความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดขึ้นได้ และเตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงที แม่คุณแม่ท้องไม่ต้องเกิดความกังวลใจไป เพราะหากคุณพลาดที่จะตรวจระหว่างตั้งครรภ์ ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้หลังจากคลอดบุตร 3 เดือนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

ที่มา : 1

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanjana Thammachai

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?
แชร์ :
  • คนท้องกินกล้วยทอดได้ไหม พลังงานสูงอ้วนง่าย แต่ยังพอมีประโยชน์

    คนท้องกินกล้วยทอดได้ไหม พลังงานสูงอ้วนง่าย แต่ยังพอมีประโยชน์

  • โรคไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน รักษาได้ไหม ?

    โรคไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน รักษาได้ไหม ?

  • คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ

    คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ

  • คนท้องกินกล้วยทอดได้ไหม พลังงานสูงอ้วนง่าย แต่ยังพอมีประโยชน์

    คนท้องกินกล้วยทอดได้ไหม พลังงานสูงอ้วนง่าย แต่ยังพอมีประโยชน์

  • โรคไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน รักษาได้ไหม ?

    โรคไส้เลื่อนขาหนีบ เกิดจากอะไร มีอาการแบบไหน รักษาได้ไหม ?

  • คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ

    คนท้องกินน้ำแร่ได้ไหม ดีกว่าน้ำเปล่าแน่ไหม กินมาก ๆ ดีจริงหรือ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ