X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โครโมโซมผิดปกติ อันตรายต่อทารกในครรภ์มากน้อยแค่ไหน คุณแม่ควรรู้!

บทความ 5 นาที
โครโมโซมผิดปกติ อันตรายต่อทารกในครรภ์มากน้อยแค่ไหน คุณแม่ควรรู้!

ช่วงตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องดูแลตัวเองให้ดี เพราะหากเจ็บป่วยไป ลูกในท้องอาจได้รับผลกระทบไปด้วย เด็กหลายคน สามารถคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย และมีร่างกายที่สมบูรณ์ แต่ว่าเด็กบางคน ก็เกิดมาพร้อมกับความพิการบางอย่างเนื่องจากมีโครโมโซมที่ผิดปกติ ภาวะทางสุขภาพที่เรียกว่า โครโมโซมผิดปกติ เกิดจากอะไร สามารถป้องกันได้ไหม หากลูกเรามีโครโมโซมผิดปกติ รักษาได้หรือไม่ มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน

 

โครโมโซมผิดปกติ คืออะไร

ภาวะโครโมโซมผิดปกติ คือ ปัญหาทางสุขภาพที่เกิดจากพันธุกรรม เด็กที่มีภาวะความผิดปกตินี้ อาจจะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ หรืออาจจะเกิดมาพร้อมกับความพิการบางอย่าง มีร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง หรือเป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้และสติปัญญา เช่น

  • ดาวน์ซินโดรม เด็กที่เป็นโรคนี้ จะมีจมูกแบน ดวงตาเฉียงขึ้น นิ้วสั้น มีสติปัญญาที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป ได้ยินเสียงไม่ค่อยชัด มีความผิดปกติทางสายตา และมีโอกาสเป็นโรคไทรอยด์
  • เอ็ดเวิร์ดซินโดรม เด็กอาจเป็นโรคเท้าปาก มีเท้าโค้งเหมือนท้องเรือ หูเล็ก ไม่มีรูทวาร หรือไตและหัวใจทำงานได้ไม่ดีเทียบเท่ากับคนทั่วไป
  • เทอร์เนอร์ซินโดรม เด็กที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่ มักจะเสียชีวิตจากการแท้งตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยอัตราการแท้งอยู่ที่ 98%
  • ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม เด็กที่เป็นโรคนี้มีพัฒนาการทางสมองที่ปกติเหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ว่าต่อมเพศจะไม่มีการเจริญเติบโต ไม่มีหนวดเครา ไม่มีขน จึงอาจต้องรับประทานฮอร์โมนเสริมเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
  • คริดูชาต์ซินโดรม เด็กที่เป็นคริดูชาต์ซินโดรม จะมีเสียงร้องเหมือนแมว ศีรษะเล็ก จมูกกว้าง เบ้าตาห่าง หน้ากลม หูต่ำ และมีปัญหาด้านการเรียนรู้และสติปัญญา
  • พราเดอร์วิลลี่ซินโดรม เด็กในกลุ่มนี้จะไม่ค่อยสูง มือและเท้ามีขนาดเล็ก กินเก่ง เป็นเบาหวาน รูปร่างท้วม ฮอร์โมนเพศต่ำ สติปัญญาต่ำ และเรียนรู้ช้ากว่าเด็กคนวัยเดียวกัน
  • แองเกลเเมนซินโดรม เด็กป่วยเป็นโรคนี้ จะพูดน้อย ชอบยิ้ม หัวเราะเก่ง ตื่นเต้นง่าย ชอบปรบมือ และอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ อาจชักบ่อย หรือมีท่าเดินที่ผิดปกติ
  • ดิจอร์จซินโดรม เด็กกลุ่มนี้ จะมีปากแหว่งเพดานโหว่ มีต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ และมีปัญหาทางการเรียนรู้

บทความที่เกี่ยวข้อง : การตรวจคัดกรองคนท้อง หาอาการดาวน์ซินโดรม 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 14

 

โครโมโซมผิดปกติ

 

ภาวะโครโมโซมผิดปกติ เกิดจากอะไร

การที่เด็กในท้องมีโครโมโซมผิดปกติ อาจเกิดจากการที่แม่เด็กมีอายุมากกว่า 35 ปี หรือมีโครโมโซมที่ผิดปกติที่ขาดหรือเกิน และส่งต่อมาให้ลูก รวมทั้ง หากแม่เด็กเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์ รับประทานยาบางชนิด หรือหากคนในบ้านเคยเป็นโรคเกี่ยวกับความพิการตั้งแต่กำเนิดมาก่อน ก็อาจทำให้เด็กทารกมีความผิดปกติดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ภาวะโครโมโซมผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน ดังนั้นจึงควรตรวจคัดกรองโครโมโซมของทารก เพื่อช่วยหาความเสี่ยงว่าลูกในครรภ์มีภาวะผิดปกติหรือไม่

 

ตรวจความผิดปกติของโครโมโซม

การตรวจคัดกรองโครโมโซมของทารก หรือ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) เป็นการตรวจครรภ์ที่ช่วยหาความเสี่ยง ว่าทารกในท้องมีโครโมโซมผิดปกติ หรือเสี่ยงเป็นโรคพิการต่าง ๆ หรือไม่ รวมทั้งยังช่วยหาได้ว่าทารกในครรภ์มีเพศอะไรได้อีกด้วย คุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจ NIPT ได้ในช่วงสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ และสามารถทราบผลตรวจได้ภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย และปลอดภัยต่อเด็กในท้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจก่อนเจอก่อน! ตรวจคัดกรอง ดาวน์ซินโดรม แม่อายุน้อยลูกก็เป็นได้

 

โครโมโซมผิดปกติ

 

หากทารกมีโครโมโซมผิดปกติ สามารถรักษาได้ไหม

หากตรวจพบว่าลูกน้อยมีโครโมโซมผิดปกติก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะอาการบางอย่างที่เกิดจากโรคโครโมโซมบกพร่อง เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ ผนังหน้าท้องเปิด หรือกะบังลมรั่ว เป็นต้น สามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดตกแต่ง อย่างไรก็ตาม หากเด็กหัวใจพิการ หรือมีอาการรุนแรงจากโรคที่เป็น ก็อาจทำการรักษาได้ยาก และเด็กเองก็อาจมีชีวิตอยู่ต่อได้ไม่นานนัก

 

วิธีป้องกันภาวะโครโมโซมผิดปกติ

ก่อนการตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถชวนคุณสามีเข้ารับการตรวจร่างกายก่อนได้ เพื่อดูว่าตัวเองและสามีมีภาวะความผิดปกติอะไรหรือเปล่า หากไม่พบความผิดปกติใด ๆ คุณหมออาจฉีดวัคซีนกันโรคบางชนิดให้ และให้วิตามินมากินบำรุงครรภ์ล่วงหน้า แต่หากตรวจพบความผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับพันธุกรรม คุณหมอก็จะคำแนะนำในการตั้งครรภ์เป็นลำดับถัดไป

 

นอกจากนี้ หากคุณหมอตรวจพบความผิดปกติของทารกในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณหมอก็จะวินิจฉัยตามกลุ่มโรคที่เด็กเป็น และช่วยหาวิธีลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต รวมทั้งช่วยเลือกเวลาคลอด วิธีคลอด และสถานที่คลอดที่เหมาะสมให้กับคุณแม่ ซึ่งหากโรคที่เด็กเป็นไม่รุนแรงมากจนเกินไป เด็กจะสามารถคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย แต่ในทางกลับกัน หากเด็กมีอาการรุนแรงมาก ๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โอกาสที่จะรอดนั้นก็มีน้อย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เตรียมผนังมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน สำคัญอย่างไร? เรียนรู้ก่อนเป็นคุณแม่

10 ข้อต้องรู้ ขั้นตอนทำเด็กหลอดแก้ว เตรียมตัวฝังตัวอ่อนอย่างไรให้สำเร็จ

โรคดาวน์ซินโดรม โรคทางพันธุกรรมที่มักพบได้ในเด็ก ป้องกันและรักษาอย่างไร

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซมผิดปกติ ได้ที่นี่!

โครโมโซมผิดปกติ เกิดจากอะไรคะ อันตรายรึเปล่าคะ

ที่มา : 1 , 2 , 3

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • โครโมโซมผิดปกติ อันตรายต่อทารกในครรภ์มากน้อยแค่ไหน คุณแม่ควรรู้!
แชร์ :
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

    การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

  • 49 ชื่อเล่นลูกจาก Game-Show TV Series ชื่อเล่นลูกแบบรายการทีวี

    49 ชื่อเล่นลูกจาก Game-Show TV Series ชื่อเล่นลูกแบบรายการทีวี

  • วิตามิน D คนท้อง ขาดวิตามินดีอันตรายหรือไม่? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

    วิตามิน D คนท้อง ขาดวิตามินดีอันตรายหรือไม่? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

    การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่?

  • 49 ชื่อเล่นลูกจาก Game-Show TV Series ชื่อเล่นลูกแบบรายการทีวี

    49 ชื่อเล่นลูกจาก Game-Show TV Series ชื่อเล่นลูกแบบรายการทีวี

  • วิตามิน D คนท้อง ขาดวิตามินดีอันตรายหรือไม่? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

    วิตามิน D คนท้อง ขาดวิตามินดีอันตรายหรือไม่? ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ