X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ระวัง! แม่ท้องขาดแคลเซียม อาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
ระวัง! แม่ท้องขาดแคลเซียม อาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

แม่ท้องขาดแคลเซียม เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจส่งผลที่เป็นอันตรายต่อแม่หลายอย่าง รวมทั้งมีผลกระทบต่อพัฒนาการด้านร่างกายของลูกด้วย

แม่ท้องขาดแคลเซียม อาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง และลูกในครรภ์ เพราะเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มาก เนื่องจากทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ  แต่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอยู่เป็นประจำ หรือรับประทานอาหารเสริม เพื่อให้ร่างกายได้รับอย่างครบถ้วน โดยปกติแล้ว แม่ท้องควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,200 – 1,500 มิลลิกรัม เพื่อให้เพียงพอต่อตัวเองและสำหรับทารกในครรภ์ 

 

แม่ท้องขาดแคลเซียม

 

แม่ท้องขาดแคลเซียม กับความเสี่ยงต่อสุขภาพของตนเอง 

ทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากแม่ท้องไปใช้ประมาณ 2.5% ของแคลเซียมในตัวแม่ โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 2 แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ไม่ได้ทานแคลเซียมบำรุง ร่างกายก็จะยังมีแคลเซียมเพียงพอต่อการสร้างกระดูกของลูกในท้อง เพราะ 90% ของร่างกายคนเราจะมีแคลเซียมสะสมในกระดูกอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อย ก็จะมีผลกระทบต่อตัวเองในระยะยาว เช่น ฟันผุง่ายขึ้น กระดูกเปราะบาง หรือกระดูกพรุนง่ายกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในระยะสั้น ซึ่งพบได้บ่อย คือ

  • ความดันโลหิตสูง วัดความดันโลหิตได้สูงกว่า 140/90 มม. ซึ่งอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรืออาจเป็นอันตรายถึงขั้นคลอดก่อนกำหนดได้
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ เกี่ยวเนื่องมาจากความดันโลหิตสูง หรือความดันไม่ปกติ
  • อาการปวดกระดูก เช่น เอว และกระดูกเชิงกราน รวมถึงมีอาการปวดหลังง่ายขึ้น
  • เป็นตะคริวบ่อย ๆ ยิ่งหากเป็นตะคริวช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น เช่น เดินสะดุด หรือหกล้ม 

 

แม่ท้องขาดแคลเซียม กับความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์

แคลเซียม เป็นสารอาหารที่ช่วยต่อมวลกระดูก และการขยายตัวของกระดูก ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับทารก นับตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ อาจส่งผลให้พัฒนาการด้านร่างกายของลูกไม่ดี และส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรงอีกด้วย

 

ความจำเป็นของแคลเซียมสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร

สำหรับคุณแม่ให้นมบุตร การที่คุณแม่รับประทานอาหารอะไร ลูกก็มีส่วนได้รับอาหารเหล่านั้นเช่นกัน ซึ่งสารอาหารอย่าง แคลเซียม ก็ยังมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดไปจนกระทั่งเติบโต โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรก แคลเซียมจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการโครงสร้างกระดูกให้เติบโตได้ดี มีความแข็งแรง ช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูก และเพิ่มโอกาสด้านความสูงในอนาคตได้อีกด้วย นอกจากนี้ หากคุณแม่รับประทานแคลเซียมอย่างต่อเนื่องในขณะให้นมลูก หรือทานต่อเนื่องในทุก ๆ วันภายหลังหยุดให้นมบุตร ยังเป็นการฟื้นฟูร่างกายตัวเอง ช่วยรักษามวลกระดูกให้มีความหนาแน่นอยู่เสมอ และช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในระยะยาวได้

โดยคำแนะนำที่ดีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการบำรุงร่างกาย ให้ทานคู่กันกับ น้ำมันปลา (Fish Oil) เพราะน้ำมันปลามีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์ต่อทั้งตัวคุณแม่เอง และอาจมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมอง สายตา และเสริมภูมิคุ้มกันของลูกน้อยด้วย

 

ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียม ของแคลเซียมแต่ละประเภท

แคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารเสริม หลัก ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งมีการดูดซึมแตกต่างกัน ได้แก่  

  • Calcium Carbonate ควรกินพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที เพราะต้องอาศัยกรดในการดูดซึม โดยต้องทานคู่กับวิตามิน D สามารถดูดซึมได้ 10% อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ท้องผูก หรือท้องอืด
  • Calcium Citrate ต้องทานคู่กับวิตามิน D ดูดซึมได้ 50% ต้องทานพร้อมอาหาร เพราะต้องอาศัยกรดในกระเพาะช่วยในการดูดซึม
  • Calcium L-Threonate ดูดซึมได้ถึง 90 – 95% สามารถทานในขณะท้องว่างได้ และไม่มีอาการข้างเคียง

การรับประทานแคลเซียม ควรเลือกแบบที่ดูดซึมง่าย ผลข้างเคียงน้อย เพราะหากกินแคลเซียมที่ดูดซึมได้น้อยในปริมาณที่มากเกินไปจนเกิดการสะสม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต หินปูนในเต้านม มะเร็งเต้านม หินปูนในหลอดเลือด และหลอดเลือดตีบตันได้ โดยแคลเซียมแอลทรีโอเนตนอกจากไม่จำเป็นต้องทานกับวิตามินดี แล้วยังสามารถดูดซึมได้ดีที่สุดกว่าแคลเซียมที่เคยมีมา เนื่องจากสกัดมาจากข้าวโพด จึงทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพราะสามารถแตกตัวละลายในน้ำได้ โดยไม่ต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แคลเซียมข้าวโพดไม่ก่อให้เกิดการตกตะกอนเป็นนิ่วในไต และไม่ทำให้ท้องผูก อีกทั้งช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูกอ่อน และชะลอการสลายตัวของกระดูกได้อีกด้วย

 

อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม 

เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมเองได้เอง แต่ก็สามารถบริโภคจากอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น นม โยเกิร์ต ชีส กุ้งแห้ง กะปิ ปลาตัวเล็กจัวน้อย ปลาสลิด หอยนางรม ผักใบเขียวที่มีลักษณะเนื้อใบค่อนข้างแข็ง เช่น คะน้า ใบยอ ใบชะพลู รวมถึงธัญพืช อย่าง งาดำ เป็นต้น

 

แม่ท้องขาดแคลเซียม

 

NUVO CALCIUM JELLY อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เคล็ดลับช่วยป้องกัน แม่ท้องขาดแคลเซียม

แม้ว่าแคลเซียมจะพบได้ในอาหารหลายชนิด แต่การจะรับประทานอาหารเหล่านั้นเพื่อให้ได้ปริมาณแคลเซียมเพียงพอต่อวันอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้น เลือกรับประทานอาหารเสริม ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้คุณแม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ ทั้งสำหรับตัวเอง และทารกในครรภ์ อย่าง Nuvo Calcium Jelly อาหารเสริมในรูปแบบเจลลี่เคี้ยวหนึบหนับ อุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นม ที่สำคัญ แคลเซียม ยังเป็นประเภท L-threonate ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้มากสุดถึง 95% และพร้อมด้วย วิตามินต่าง ๆ รวมแล้วกว่า 20 ชนิด หนึ่งในนั้น คือ วิตามินดี ที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ผลลัพธ์จากแคลเซียมดีมากขึ้น  

ส่วนผสม และคุณประโยชน์เด่นของ Nuvo Calcium Jelly

  • Calcium L-Threonate มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และซ่อมแซมการสึกหรอของกระดูก ฟัน ผิวหนัง เส้นผม และมีประโยชน์สำหรับทารกในครรภ์ที่ต้องการแคลเซียมในการพัฒนาโครงสร้างกระดูกทุกส่วนในร่างกาย
  • Fish Oil Powder ผงน้ำมันปลา ช่วยลดอาการอักเสบ อาการตึงแน่น และอาการข้อยึดตอนเช้า ในผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์ ทั้งยังมีส่วนช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม
  • Magnesium มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และการนำไฟฟ้าในเส้นประสาท เป็นแร่ธาตุที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ นอกจากนี้ แมกนีเซียม ยังมีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ มีส่วนช่วยในกระบวนการทำงานของแคลเซียม เนื่องจากแมกนีเซียมเป็นตัวช่วยในการนำแคลเซียมไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ดังนั้น แมกนีเซียมจึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นมากคุณแม่และทารกในครรภ์ไม่แพ้กัน
  • Folic Acid ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันการแท้งบุตร และลดความเสี่ยงในการพิการแต่กำเนิด
  • Ascorbic Acid หรือวิตามินซี ชนิดละลายในน้ำ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง มีบทบาทสำคัญในการสร้างคอลลาเจน ซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย ชะลอความแก่ คุณแม่ท้องที่รับประทาน กรดแอสคอร์บิก จะมีผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่โทรม ดูดีอยู่เสมอ

 

แม่ท้องขาดแคลเซียม

 

Nuvo Calcium Jelly เป็นแคลเซียมในรูปแบบของเจลลี่ รับประทานสะดวก เพียงฉีกซองแล้วบีบทานได้ทันที รสชาติถูกปาก อยู่ที่ไหนก็รับประทานได้ และยังพกพาง่าย ที่สำคัญ คุณแม่ยังมั่นใจในความปลอดภัย เพราะได้รับการรับรองระบบประกันคุณภาพจาก GMP และ HACCP สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารในระดับสากล 

 

สำหรับคุณแม่ท่านไหนสนใจ สามารถเข้าไปสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจ NUVO Life Care หรือสั่งซื้อทางช่องออนไลน์ได้ที่ 

NUVO Life Care

Lazada 

Shopee 

 

อ้างอิง: 1 

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพและโภชนาการ
  • /
  • ระวัง! แม่ท้องขาดแคลเซียม อาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
แชร์ :
  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

  • คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

    คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

  • โภชนาการที่แม่ท้องต้องรู้! โปรตีน คนท้อง ควรบริโภคเท่าไหร่ถึงจะดี

    โภชนาการที่แม่ท้องต้องรู้! โปรตีน คนท้อง ควรบริโภคเท่าไหร่ถึงจะดี

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

  • คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

    คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

  • โภชนาการที่แม่ท้องต้องรู้! โปรตีน คนท้อง ควรบริโภคเท่าไหร่ถึงจะดี

    โภชนาการที่แม่ท้องต้องรู้! โปรตีน คนท้อง ควรบริโภคเท่าไหร่ถึงจะดี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ