X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

บทความ 5 นาที
เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

บ่อยครั้งที่เด็ก ๆ มักเล่นซนจนเกิดอุบัติเหตุ หากลูกเล่นเบาก็อาจมีแค่รอยแผลฟกช้ำทั่วไป แต่ถ้าหากถึงขั้นรุนแรง ก็อาจทำให้เด็กกระดูกหักได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้ลูกน้อยปลอดภัย และปกป้องอันตรายที่อาจเกิดขึ้น วันนี้ theAsianparent Thailand จะพามาดูกันว่า เด็กกระดูกหัก พ่อแม่รับมืออย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกเมื่อกระดูกหักค่ะ มาติดตามกันเลย

 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกกระดูกหัก เด็กกระดูกหัก

เมื่อลูกได้รับบาดเจ็บจนกระดูก เขาอาจไม่สามารถบอกความรู้สึก หรืออาการผิดปกติของตัวเองได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังพูดไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจมีความกังวลใจอย่างมาก เรามาดูวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น เมื่อลูกกระดูกหักกันค่ะ

  • กระดูกบิดเบี้ยว ผิดรูปไปจากเดิม หรือออกมาจากผิวหนัง
  • เกิดเสียงดังกร๊อบแกร๊บบริเวณที่กระดูกหักขณะเกิดอุบัติเหตุ
  • รู้สึกเจ็บเมื่อมีคนมาจับหรือแตะโดน หากเป็นเด็กเล็กจะร้องไห้งอแงเป็นอย่างมาก
  • มีอาการปวด บวมแดง ฟกช้ำ มีรอยห้อเลือด และมีสีผิวบริเวณที่บาดเจ็บเปลี่ยนไป
  • รู้สึกชาบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ เพราะเส้นประสาทบริเวณกระดูกหักได้รับความเสียหาย
  • เด็กไม่ยอมขยับส่วนที่บาดเจ็บ เช่น เดินไม่ได้ หรือไม่สามารถเหยียดข้อศอกให้ตรงได้

อย่างไรก็ตาม อาการข้างต้นอาจเป็นเพียงสัญญาณที่พบได้บ่อยเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีหากสงสัยว่าลูกกระดูกหัก เพราะเด็กบางคนก็อาจสังเกตได้ยาก บางคนอาจมีอาการเล็กน้อย หรือบิดเบี้ยวไม่ถึงกับหัก หากปล่อยไว้ ก็อาจส่งผลต่อพัฒนาการร่างกายของเขาตอนโตได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูก เวลาเขาเกิดอุบัติเหตุค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปฐมพยาบาลเบื้องต้น กับ 5 อาการที่เกิดบ่อยของลูกวัยซน

 

เด็กกระดูกหัก

 

กระดูกหักมีกี่ประเภท

แม้ว่ากระดูกของเด็ก จะสามารถรองรับแรงกระแทกได้ดีกว่าของผู้ใหญ่ เพราะมีความยืดหยุ่นกว่า แต่ก็ยังเป็นกระดูกอ่อนที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่ อาจส่งผลให้มีความเปราะบาง และแตกหักได้ง่าย โดยทั่วไปแล้ว อาการกระดูกหัก สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • กระดูกเดาะ : เป็นภาวะที่กระดูกหักเฉพาะด้านที่เกิดแรงปะทะด้านเดียว ส่วนอีกด้านโก่งออกไปตามแรงกด และมีลักษณะเหมือนกิ่งไม้ที่โดนหัก
  • กระดูกหักแบบยู่หรือย่นด้วยแรงอัด : เป็นภาวะที่กระดูกถูกแรงอัดจนย่นเข้าหากัน แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ออกจากกัน
  • กระดูกโก่งงอไม่มีรอยหัก : เป็นภาวะที่กระดูกโก่งงอผิดรูปไปจากเดิม โดยไม่มีรอยแตกหัก ซึ่งมักพบได้บ่อยในวัยรุ่นมากกว่าเด็กเล็ก
  • กระดูกหักบริเวณส่วนปลาย : เป็นภาวะที่กระดูกหักออกจากกันเป็นสองท่อน โดยเกิดขึ้นที่แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (Growth Plate) ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนบริเวณส่วนปลายที่ยังไม่เจริญเติบโต หากลูกเกิดกระดูกหักบริเวณส่วนนี้ และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจส่งผลให้กระดูกบริเวณนั้น เติบโตได้ช้ากว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

 

เด็กกระดูกหัก พ่อแม่รับมืออย่างไร

เมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกหัก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตกใจเกินไปนะคะ ควรพาลูกไปโรงพยาบาลทันที โดยให้ลูกอยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไว้ และสามารถใช้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  • นำน้ำแข็งห่อด้วยผ้าสะอาด แล้วนำไปประคบเย็นบริเวณที่คิดว่ากระดูกหัก จากนั้นยกอวัยวะส่วนนั้นให้สูงขึ้น เพื่อบรรเทาอาการปวดบวม อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรประคบน้ำแข็งกับเด็กทารกนะคะ เพราะความเย็นของน้ำแข็งอาจทำลายผิวหนังของลูกได้
  • หากต้องถอดเสื้อผ้าลูก พยายามไม่ถอดด้วยวิธีปกติ เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น ควรใช้กรรไกรตัด หรือใช้วิธีฉีกเสื้อผ้าออกดีกว่า
  • หากลูกกระดูกหักที่แขนหรือขา ให้นำวัสดุที่แข็งแรงมาดาม เช่น ไม้ ลังกระดาษ หรือหนังสือพิมพ์ม้วน เป็นต้น โดยพยายามเลือกความยาวของวัสดุให้เลยว่าบริเวณที่ลูกบาดเจ็บ แล้วใช้ผ้าพันรอบ ๆ ไม่ต้องแน่นจนเกินไป เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดการเคลื่อนไหว
  • หากลูกต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรให้ลูกงดรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และกินยาทุกชนิด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกหกล้ม หัวโน ดูแลอย่างไร ควรปล่อยให้ลูกลุกด้วยตัวเองดีไหม?

 

เด็กกระดูกหัก

 

การรักษาอาการกระดูกหัก

การรักษาอาการกระดูกหักของเด็ก สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ลักษณะของกระดูกที่หัก และอายุของลูก โดยเมื่อคุณพ่อคุณแม่นำตัวลูกส่งโรงพยาบาลแล้ว แพทย์จะสอบถามข้อมูลทั่วไป เช่น สาเหตุที่กระดูกหัก อาการผิดปกติ หรือประวัติทางการแพทย์ จากนั้นจะตรวจการเคลื่อนไหวบริเวณที่ลูกบาดเจ็บก่อนจะส่งตัวไปเอกซเรย์ เพื่อทำการรักษา ซึ่งการรักษากระดูกหักนั้น จะใช้อุปกรณ์พยุง การใส่เฝือก หรือการผ่าตัด หากลูกกระดูกหักไม่รุนแรง ก็อาจจะใช้อุปกรณ์พยุงชั่วคราว หรือใส่เฝือก แต่หากลูกกระดูกหักอย่างรุนแรง ก็อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อใส่โลหะยึดกระดูกไว้

สำหรับเด็กที่มีอาการกระดูกหักไม่รุนแรง แพทย์จะให้กลับไปพักฟื้นที่บ้านทันทีหลังรักษา แต่สำหรับเด็กที่มีอาการรุนแรง ก็อาจต้องนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลเพื่อตรวจดูอาการ อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะหายสนิทภายใน 1 เดือน เพราะกระดูกของเด็กสามารถซ่อมแซมเองได้ ในช่วงการพักฟื้นวันแรก ๆ ลูกอาจรู้สึกอึดอัด และเกิดอาการบวมบริเวณที่หัก คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกนอนพักผ่อนมาก ๆ และพยายามเอาหมอนมารองบริเวณที่กระดูก รวมทั้งพยายามไม่ให้ลูกเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของลูกได้ค่ะ

 

วิธีดูแลเมื่อลูกใส่เฝือก

สำหรับเด็กที่เข้ารับการใส่เฝือก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเขาเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันอาการปวดบวม และช่วยให้แผลสมานกันได้เร็วขึ้น เรามาดูวิธีดูแลเมื่อลูกต้องใส่เฝือกกันค่ะ

  • ห้ามให้เฝือกโดยน้ำ
  • ห้ามถอดเฝือกออกเอง
  • ห้ามนำเฝือกไปโดนความร้อน
  • พยายามไม่ให้ลูกเคลื่อนไหวบริเวณที่ใส่เฝือก
  • หากลูกมีอาการคันบริเวณผิวหนังใต้เฝือก ไม่ควรนำวัสดุแข็งหรือแหลมเข้าไปเกา เพราะอาจทำให้เกิดแผลหรือเกิดการหักค้างอยู่ข้างในได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ เป็นสัญญาณของอันตรายหรือไม่? เกิดจากอะไร

 

เด็กกระดูกหัก

 

วิธีป้องกันลูกกระดูกหัก

คุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถปกป้องอุบัติเหตุจากลูกน้อยได้ทุกเมื่อ แต่ก็ควรรู้จักวิธีการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักของลูกน้อยค่ะ โดยวิธีป้องกันลูกกระดูกหักเบื้องต้น มีดังนี้

  • ระมัดระวังไม่ให้ลูกปืนป่ายเฟอร์นิเจอร์
  • สำหรับเด็กที่เริ่มเดินได้แล้ว พยายามให้ลูกอยู่ห่างจากบันได และควรปิดประตูห้องให้มิดชิด
  • อย่าให้ลูกอยู่คนเดียวบนที่สูง เช่น บนเตียง บนโต๊ะ บนเก้าอี้ เพราะอาจทำให้เด็กกลิ้งตกลงมาได้
  • หากคุณพ่อคุณแม่นอนกับลูก ให้นำหมอนข้างมากั้นระหว่างคุณกับลูกไว้ เพราะคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจกลิ้งไปทับลูกระหว่างนอนหลับได้

 

เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักวิธีการรับมือ และบรรเทาอาการของลูกเมื่อ เด็กกระดูกหัก รวมถึงควรสังเกตอาการของลูกหลังเกิดอุบัติเหตุ เพราะเด็กเล็ก ๆ อาจไม่สามารถบอกความผิดปกติของตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรปล่อยลูกให้เล่นคนเดียว ยิ่งโดยเฉพาะเด็กที่เริ่มหัดเดินนั้น ก็อาจมีความเสี่ยงในการกระดูกหักได้ง่าย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อันตรายในบ้าน ที่มักเกิดขึ้นกับลูกของคุณ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย

วิธีลดความเสี่ยงไม่ให้คุณแม่ กระดูกหัก ในช่วงตั้งครรภ์ อ่านก่อนจะสายเกินแก้!

โรคนิ้วล็อกในเด็ก พบได้ตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่จะมีวิธีสังเกตอาการลูกน้อยได้อย่างไร

ที่มา : 1, 2, 3

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?
แชร์ :
  • เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

    เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

  • อยากให้ลูกผิวดี ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้ลูกน้อยผิวสวย

    อยากให้ลูกผิวดี ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้ลูกน้อยผิวสวย

  • เตรียมอุปกรณ์ก่อนพาลูกออกนอกบ้าน ขั้นตอนง่าย ๆ ที่แม่ลูกอ่อนต้องรู้ !

    เตรียมอุปกรณ์ก่อนพาลูกออกนอกบ้าน ขั้นตอนง่าย ๆ ที่แม่ลูกอ่อนต้องรู้ !

  • เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

    เผยทริค! วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก สำหรับเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ

  • อยากให้ลูกผิวดี ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้ลูกน้อยผิวสวย

    อยากให้ลูกผิวดี ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้ลูกน้อยผิวสวย

  • เตรียมอุปกรณ์ก่อนพาลูกออกนอกบ้าน ขั้นตอนง่าย ๆ ที่แม่ลูกอ่อนต้องรู้ !

    เตรียมอุปกรณ์ก่อนพาลูกออกนอกบ้าน ขั้นตอนง่าย ๆ ที่แม่ลูกอ่อนต้องรู้ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ