เมื่อลูกของคุณเข้าสู่วัยหัดเดิน คุณจะสังเกตได้ว่าในช่วงแรกพวกเขาจะมีอาการเดินเซ เดินไม่ตรง รักษาสมดุลไม่ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วพวกเขาจะเริ่มเดินได้มากขึ้น แต่สำหรับเด็กบางคนไม่เป็นเช่นนั้น เมื่ออายุมากขึ้นพวกเขาก็ยังเดินเซอยู่ มาร่วมหาคำตอบกันดีกว่าค่ะว่า ลูกเดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ เป็นสัญญาณของอันตรายหรือไม่? เกิดจากสาเหตุอะไร และสามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง
พัฒนาการในการเดินของเด็ก เป็นอย่างไรบ้าง?
การเดินของเด็กวัยหัดเดินมักจะไม่มั่นคงและมีลักษณะของขาที่โค้ง มือและแขนกางออกเพื่อทรงตัว และการก้าวเท้าอย่างรวดเร็วแต่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขามักจะเดินเซและหกล้มในที่สุด ทั้งนี้ขาของเด็กวัยหัดเดินจะเริ่มมีพัฒนาการในช่วงอายุ 18-18 เดือน พร้อมกับการแกว่งแขนและการวิ่งจะเริ่มเปลี่ยนทิศทางในการวิ่งได้หลังจากอายุ 2 ขวบหรือหลังจากที่หกล้มบ่อยครั้ง ซึ่งพวกเขาจะเดินได้เหมือนกับผู้ใหญ่หรือเด็กโตได้ประมาณ 6 ขวบ โดยพัฒนาการในการเดินของเด็กแต่ละช่วงวัยที่เป็นปกติมีดังต่อไปนี้
|
พัฒนาการการเดินของเด็กที่เป็นปกติ
|
พัฒนาการ |
อายุ |
นั่งโดยไม่ต้องพยุง |
6-8 เดือน |
คลานโดยใช้มือและเข่า |
9-11 เดือน |
เริ่มตั้งไข่ |
11-12 เดือน |
เดินได้อย่างอิสระ |
12-14 เดือน |
ขึ้นบันไดด้วยมือและเข่า |
15 เดือน |
วิ่งเล่นได้ แต่ยังควบคุมไม่ได้ |
16 เดือน |
ขึ้นลงบันไดทีละขั้น |
20-24 เดือน |
ขึ้นลงบันไดแบบสลับเท้า |
3 ปี |
กระโดดขาเดียว กระโดดไกล |
4 ปี |
กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง |
5 ปี |
ยืนกระต่ายขาเดียว |
6-7 ปี |
บทความที่น่าสนใจ : แพทย์ตอบข้อสงสัย ทำไมถึงไม่ควรใช้ รถหัดเดิน ในเด็กที่กำลังหัดเดิน
การเดินที่ผิดปกติ ลูกเดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ เกิดจากอะไร?
เดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ หรือการเดินผิดปกติโดยทั่วไปเป็นผลมาจากความแข็งแรงของขาที่ลดลง ระยะการเคลื่อนไหวลดลงหรือเพิ่มมากขึ้น ความคลาดเคลื่อนของความยาวของขา ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้หรือการรู้สึก ความเจ็บปวด ความสมดุล ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้การปรับตัว ทั้งนี้การเดินผิดปกติของลูกน้อยของคุณจะต้องได้รับการวินิจฉัยและการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะเด็กแต่ละคนอาจมีท่าเดินที่คล้ายคลึงกันและมาจากสาเหตุเดียวกัน แต่การรักษาต้องแตกต่างกันออกไป
ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเดินผิดปกติ มีอะไรบ้าง?
การที่ลูกของคุณเดินเซนั้นมีมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจมีผลมาจากภายในร่างกาย ระบบการทำงานของสมอง หรือแม้แต่สิ่งรอบข้างและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถทำให้พวกเขามีการเดินที่ผิดปกติได้ โดยปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเดินผิดปกติ มีดังต่อไปนี้
- อาการและการแสดงอาการ ความเจ็บปวด การเดินกะเผลก การสะดุดหกล้ม
- ท่าในการลุกหรือการนั่งที่ผิดท่า
- นิสัยในการนั่ง การบิดงอของกระดูกหน้าแข้งนั้นสัมพันธ์กับการนั่งบนเท่าในขณะที่การเคลื่อนตัวของกระดูกต้นขา
- การบิดเบี้ยวของเท้าจนเห็นได้ชัดเมื่อมีอาการเมื่อยล้า
- การบาดเจ็บที่ไม่คาดคิด การแตกหักของกระดูกขณะที่กำลังเล่น หรือได้รับอุบัติเหตุ นอกจากนี้อาจต้องพิจารณาจากโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก
- บาดเจ็บจากการใช้งานมากจนเกินไป ภาวะกระดูกหักจากความเครียด อาจเป็นแบบกึ่งเฉียบพลันหรือแบบเฉียบพลัน พบมากในเด็กที่มีพลังเหลือล้น ไม่อยู่นิ่ง
- อาการที่เกิดขึ้นเป็นระยะที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับหรือหลังการออกกำลังกาย
- การเจ็บปวดแบบเรื้อรัง โดยอาการจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน และจะแย่ลงในตอนเช้าหรือหลังจากที่มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดต่อกันหลายสัปดาห์
วิธีสังเกตการเดินที่ปกติของลูกน้อย ได้อย่างไรบ้าง
ลูกน้อยบางบ้านที่มีอาการคล้ายกับการเดินเซ หรือการทรงตัวไม่อยู่และหกล้มบ่อยครั้ง โดยคุณก็อาจสงสัยได้ว่าพวกเขามีการเดินที่ผิดปกติที่อาจมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เราลองดูวิธีสังเกตการเดินของลูกเราดีกว่าค่ะว่าผิดปกติหรือเปล่า โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- การลงน้ำหนักเท้าลงบนพื้นข้างที่มีปัญหา หรือส่วนที่มีปัญหาอย่างไม่เต็มแรง และการไม่ลงน้ำหนักบริเวณนั้น และก้าวในส่วนต่อไปอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ส่วนที่เจ็บปวดสัมผัสพื้นนานเกินไป
- โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก หรือ Juvenile idiopathic arthritis : JIA ซึ่งคุณอาจสังเกตได้ว่าข้อเท้าของลูกน้อยของคุณอาจมีการบวม แต่ไม่มีการได้รับบาดเจ็บก่อนหน้า หรือไม่ทราบสาเหตุของการบวม
- ลักษณะการเดินเซ โดยเวลาที่พวกเขาเดินมักจะขยับตัวและสะโพกไปพร้อมกับขาที่ก้าวเดินไปด้านหน้า เหมือนกับพยายามเหวี่ยงตัวเองให้ไปด้านหน้าด้วยการออกแรงทั้งตัว
- การเดินที่เหมือนคนกระตุก เดินอย่างไม่ต่อเนื่อง หรือมีลักษณะการเดินที่ด้วยท่าเดินที่ไม่คงที่ ก้าวเท้าไปด้านหน้าแบบกว้างแคบสลับกันไป หรือในบางครั้งอาจทำให้ข้อเท้าพลิกกลับและเกิดการหกล้มในที่สุด
- การเดินด้วยนิ้วเท้า หรือมีการเขย่งเท้าเดินตลอดเวลา โดยที่ส่วนอื่น ๆ ของฝ่าเท้าไม่ได้สัมผัสกับพื้น เป็นการเทน้ำหนักตัวทั้งหมดไปที่ปลายนิ้วเท้าและเดิน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับเด็กที่เป็นโรคทางระบบประสาทสั่งการส่วนบน
- การเดินในรูปแบบของการหมุนสะโพก เข่า และเท้าออกด้านนอกเวลาเดิน เกิดจากการที่กล้ามเนื้อสะโพกอ่อนแรง หรือลูกน้อยของคุณมีอาการปวดสะโพก ทำให้กระดูกเชิงกรานนั้นรับน้ำหนักของตัวเด็กไว้ทั้งหมด
- เด็กบางคนอาจมีการหกล้มบ่อยครั้งจนคุณสังเกตได้ และมีปัญหาในทักษะช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันร่วมด้วย อาทิ การแต่งตัว หรือการทานอาหารที่โรงเรียน เป็นต้น รวมถึงลายมือของเขาอาจไม่ดี หรือมีความบกพร่องทางการเรียนรู้จนคุณอาจสังเกตเห็นได้
บทความที่น่าสนใจ : การพัฒนาเด็กวัยหัดเดิน 2-3 ปี พัฒนาของเด็กวัยหัดเดินมีอะไรบ้าง?
รักษาการเดินที่ปกติของลูกได้อย่างไร?
เมื่อแพทย์พบสาเหตุของการที่ทำให้ลูกของคุณเดินเซแล้ว เขาจะทำการวินิจฉัยเพื่อทำการรักษา เด็กจำนวนมากที่เดินผิดปกติสามารถรักษาหายได้ และกลับมาเดินได้ปกติในที่สุด ซึ่งหลังจากที่ตรวจพบสาเหตุที่แท้จริงแล้ว แพทย์จะทำการรักษาดังต่อไปนี้
เด็กบางคนที่มีอาการเดินเซ ทรงตัวไม่อยู่นั้นอาจเป็นเพราะความแข็งแรงของขาไม่เพียงพอที่จะสามารถเดินได้ โดยการใช้กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นด้วยการวางเครื่องมือลงบนผิวหนังจะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำให้ขาลูกน้อยของคุณกลับมาแข็งแรงและสามารถเดินได้ดีอีกครั้ง
สาเหตุหนึ่งของการที่ลูกเดินเซอาจมาจากการตึงของกล้ามเนื้อ การฉีดยาลิโดเคน (Lidocaine) และ/หรือ สเตียรอยด์ (Steroid) บรรเทาอาการปวดข้อนั้นจะช่วยกระตุ้นและลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อได้ นอกจากนี้การฉีดโบท็อก (Botox) และ/หรือ ฟีนอล (Phenol) ก็สามารถช่วยกล้ามเนื้อเฉพาะที่มีแนวโน้มที่จะเกร็งได้เช่นกัน
วิธีที่ง่ายที่สุดและสามัญที่สุดคือการให้ลูกน้อยของคุณทานยาก ซึ่งแพทย์อาจจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้อักเสบ แก้ปวด และ/หรือยาแก้อาการเกร็ง เพื่อเป็นตัวช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีการผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ลดการตึงของกล้ามเนื้อและทำให้การเดินนั้นกลับมาเป็นปกติ
การทำกายภาพบำบัดนั้นถือเป็นโปรแกรมเสริมความแข็งแกร่ง และการยืดกล้ามเนื้อและให้ผลที่ดี โดยเฉพาะการแก้ไขความไม่สมดุลของความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และการประสานงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยวิธีที่จะใช้ได้แก่ การนวดบำบัดและการบำบัดด้วยน้ำนั่นเอง
ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรืออุปกรณ์ที่ปรับแต่งได้ที่จะช่วยปรับปรุงความสามารถในการเดินให้ลูกน้อยของคุณมีการเดินที่ดีขึ้น ทั้งนี้แพทย์จะให้เด็กที่เพิ่งหย่านมที่มีอาการเดินผิดปกติที่มีข้อจำกัดในการใช้อุปกรณ์น้อยที่สุดใช้อุปกรณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การเดินของพวกเขาเป็นไปได้อย่างอิสระ
ขั้นตอนสุดท้ายที่ดูเป็นเรื่องยาก และมีความเสี่ยงมากที่สุด โดยแพทย์จะทำการประสานงานกับศัลยแพทย์กระดูกและข้อต่อในเด็กเมื่อพวกเขามีอายุและสุขภาพร่างกายในเกณฑ์ที่เหมาะสม ขั้นตอนทั่วไปของการศัลยกรรมคือการยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และการผ่าตัดกระดูก เพื่อเป็นการปรับแนวหรือการสร้างใหม่ ทั้งนี้การรักษาที่ถูกต้องก่อนและหลังผ่าตัดมีความสำคัญกับความประสบความสำเร็จในการผ่าตัดด้วย
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยของคุณมีอาการใกล้เคียง หรือมีความผิดปกติในการเดินคุณควรที่จะพาพวกเขาไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นความผิดปกติของร่างกาย หรือแค่พวกเขามีพัฒนาการที่ล่าช้าเท่านั้น เพราะเด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมในการเดินที่แตกต่างกันออกไป และวิธีการรักษาก็อาจแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
บทความที่น่าสนใจ :
พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?
การเคลื่อนไหว อารมณ์และการเล่น มีผลอย่างไรกับพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน
ฝึกลูกหัดเดิน ให้ลูกเดินเป็นเร็วๆ ฝึกให้เด็กเดินเร็ว ส่งผลดีต่อเด็กมากกว่าที่คิด
ที่มา : columbia doctors, gp online, BMJ Best Practice, Patient, childrens hospital
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!