X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อันตรายในบ้าน ที่มักเกิดขึ้นกับลูกของคุณ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย

บทความ 5 นาที
อันตรายในบ้าน ที่มักเกิดขึ้นกับลูกของคุณ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย

อันตรายในบ้าน ที่มักเกิดขึ้นกับลูกของคุณ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย อันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ แม้แต่ในบ้านก็สามารถเกิดขึ้นได้ หากคุณไม่ระวัง หรือดูแลเด็ก ๆ ให้ดี

 

อันตรายในบ้าน ที่คุณต้องระวัง

บ้านควรเป็นที่ที่คุณ และครอบครัวรู้สึกว่าเป็นที่ที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่จากสถิติแล้ว พบว่าใน 1 ปี อุบัติเหตุ หรืออันตรายที่มีผลต่อเด็ก ๆ นั้นมีเหตุมาจากการทำกิจกรรมภายในบ้านของตนเอง โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้

 

1. การตกจากที่สูง และการลื่นล้ม

การตกจากที่สูง และการลื่นล้ม เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากอันตรายในบ้าน โดยส่วนใหญ่หากเป็นผู้สูงอายุจะมีความรุนแรงมากกว่าเด็ก ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามการตกจากที่สูง และการลื่นล้ม ทำให้เด็ก ๆ ได้รับบาดเจ็บทางร่างกายต่าง ๆ อาทิ ขาหัก แขนหัก หัวแตก เป็นต้น และในกรณีที่อาจร้ายแรงมากสำหรับเด็กคือการพลัดตกจากบันไดที่มีความสูง และการลื่นหกล้มในห้องน้ำที่มีพื้นเปียก และลื่นนั่นเอง

 

2. การโดนสารพิษ

สาเหตุอันดับสองรองจากการตกจากที่สูง และการลื่นล้มของอันตรายในบ้านคงหนีไม่พ้นการได้รับสารพิษจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน โดยส่วนใหญ่สารพิษเหล่านี้ ได้แก่ น้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ ที่มีฤทธิ์ในการกัดกร่อนนั่นเอง หากสูดดมนานเกินไป หรือรับประทานเข้าไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

3. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)

คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ มีน้ำหนักเบา และสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ โดยแก๊สนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้ของแก๊สหุงต้มภายในบ้าน ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือแม้กระทั่งการสูบบุหรี่ หากเราได้รับแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ที่กระจายอยู่ในอากาศรอบตัวของเราเป็นจำนวนมาก อาจเกิดอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก หน้ามืด หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็เป็นได้ เพราะแก๊สนี้มีความเป็นพิษที่เกี่ยวข้องกับเฮโมโกลบินในเลือดของเรานั่นเอง

 

4. ไฟไหม้

การเกิดไฟไหม้นั้นพบมากในประเทศไทย และการที่ไฟไหม้นั้นมักมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ ๆ นั่นคือ ไฟฟ้าลัดวงจร และการจุดไฟเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และลืมดับไฟ หรือเกิดการลุกลามของไฟอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถหยุดได้

 

อันตรายในบ้าน เกิดจาไฟไหม้

5. การจมน้ำ

อันตรายในบ้าน และรอบบ้านที่พบมากที่สุดในช่วงฤดูร้อน เนื่องด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูง อาจทำให้เด็ก ๆ มองหาแหล่งน้ำเพื่อไประบายความร้อน แต่ก็มักจะเกิดการจมน้ำเกิดขึ้น ด้วยการจมน้ำนี้มักมีสาเหตุมาจากการที่เด็กว่ายน้ำไม่เป็น หรือการเกิดตะคริวขณะที่อยู่ในน้ำ ดังนั้นผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ นั้นเล่นน้ำกันเพียงลำพัง หรือดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อเด็ก ๆ ลงไปเล่นน้ำ

 

6. สำลัก

การสำลัก หรือการที่มีอาหาร น้ำ หรือสิ่งแปลกปลอมหลุดลงไปยังหลอดลม หรือระบบทางเดินหายใจ อันตรายในบ้านนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเด็กที่อยู่ในวัยของการคันฟัน เห็นอะไรก็มักจะหยิบใส่ปากตลอดเวลา หรือแม้แต่เด็กที่อาจจะโตขึ้นมาเล็กน้อย ที่มักจะอ้าปากพยายามที่จะพูด หรือเล่นหยอกล้อกับผู้ดูแลขณะทานอาหาร ก็อาจทำให้สำลักได้ ซึ่งแน่นอนว่าคุณควรดูให้แน่ใจว่าสิ่งของที่เด็ก ๆ สามารถเอาเข้าปาก และสามารถเกิดการสำลักได้นั้นจะต้องอยู่ห่างไกลมือ หรืออยู่ในที่ที่พวกเขาไม่สามารถเอื้อมถึง

บทความที่น่าสนใจ : ฝึกลูกดูดนม ป้องกันการสำลัก ให้ลูกดูดนมอย่างไรถึงจะถูกวิธี

 

7. วัตถุมีคม

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการอันตรายในบ้านที่เกิดจากสิ่งของนั่นคือวัตถุมีคม อาทิ มีด กรรไกร ไขควง ตะเกียบ ส้อม หรือแม้แต่ไม้แหลมเสียบลูกชิ้นที่เด็ก ๆ สามารถหยิบ จับ ถือ และเป็นอันตรายต่อตัวพวกเขาเองได้ ในบางครั้งอาจอันตรายถึงชีวิต หากคุณหยิบวัตถุมีคมออกจากมือพวกเขาไม่ทันท่วงที และหากโดนของมีคมบาด เด็ก ๆ อาจต้องฉีดยากันบาดทะยัก ซึ่งที่รู้กันเป็นอย่างดีกว่าเจ็บปวดและทรมานเป็นที่สุด

 

8. หายใจไม่ออก

ส่วนใหญ่แล้วอาการหายใจไม่ออกมักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยอาจมีสาเหตุมาจากมีสิ่งของ หรือวัตถุบางอย่างมาปิดบัง ปิดทับ บริเวณใบหน้าหรือคอ ทำให้พวกเขาไม่สามารถหายใจได้อย่างถนัด คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็ก ๆ นอน หรือนั่งในที่ที่มีความปลอดภัย และสามารถสังเกตเห็นพวกเขาได้ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดอาการหายใจไม่ออก

บทความที่น่าสนใจ : ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

 

9. เตาแก๊ส หรือกาน้ำร้อน

อุปกรณ์ทำความร้อนในบ้านเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับเด็ก ๆ ในวัยที่พวกเขาไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุณหภูมิ โดยอาจเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาถูกน้ำร้อนลวก หรือผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดแผลพุพองได้

บทความที่น่าสนใจ : น้ำร้อนลวก ไฟไหม้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับเด็กๆ ภายในบ้าน คุณแม่ควรระวัง

 

อันตรายในบ้าน น้ำร้อนลวก

 

 

บริเวณไหนที่ทำให้เกิดอันตรายในบ้าน

บริเวณบ้านของเราเป็นสถานที่เรานั้นคุ้นเคยเป็นอย่างดี สำหรับผู้ใหญ่แบบเรานั้น อัตรายในบ้านเพียงไม่กี่สาเหตุอาจทำร้ายเราได้ แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้ว ทุกอย่างภายในบ้านล้วนแต่เป็นอันตรายต่อพวกเขาได้ทั้งหมด โดยบริเวณที่มักจะเกิดอันตรายในบ้านมีดังต่อไปนี้

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
  • ตู้ยา

หากฟังดูแล้วอาจเป็นสถานที่แห่งการขอความช่วยเหลือเสียมากกว่า แต่ในความจริงแล้วสำหรับเด็ก ๆ ตู้ยา หรือบริเวณที่มียาวางอยู่นั้นอันตรายมาก พวกเขาอาจได้รับยาที่เกินขนาด หรือยาผิดประเภทที่เป็นอันตรายได้ ทางที่ดีที่สุด คุณควรวางตำแหน่งของตู้ยา หรือบริเวณที่มักจะวางยาให้อยู่ในระดับที่เด็ก ๆ เอื้อมไม่ถึง

  • ใต้อ่างล้างจาน หรืออ่างล้างมือ

บริเวณอันตรายในบ้านที่เด็ก ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่าย พวกเขาสามารถไปยังสถานที่อันตรายนี้ได้ตั้งแต่พวกเขาคลานอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ใต้อ่างล้างจาน หรืออ่างล้างมือมักเป็นที่เก็บน้ำยาสำหรับทำความสะอาดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก เป็นต้น ซึ่งน้ำยาเหล่านี้มีฤทธิ์กัดกร่อน หาเด็ก ๆ ได้สัมผัส หรือรับประทานเข้าไป อาจส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

  • ในสวน

สวน หรือบริเวณรอบบ้าน สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือพวกสัตว์มีพิษ ไม่ว่าจะเป็น งู ตะขาบ ผึ้ง หรือแม้แต่เจ้ามดคันไฟตัวเล็ก ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกของคุณได้ ถ้าพวกเขาแพ้พิษของมัน โดยเราไม่มีทางทราบได้เลยว่า เวลาที่ลูกน้อยของเราออกไปวิ่งเล่นด้านนอกจะเกิดอันตรายอะไรขึ้นบ้าง ทางที่ดีคุณควรตัดต้นไม้ เล็มหญ้า หรือแม้แต่เคลียร์สวนของคุณโล่ง เพื่อป้องกันการมาอาศัยของสัตว์มีพิษทั้งหลาย

 

อันตรายในบ้าน1

 

  • หนอง บึง หรือสระว่ายน้ำ

สถานที่อันตรายหากลูกของคุณว่ายน้ำไม่เป็น หรือไม่ได้วอร์มร่างกายให้ดีก่อนที่จะลงไปในน้ำ เพราะอาจเกิดตะคริวขึ้นได้ และทำให้พวกเขาไม่สามารถว่ายน้ำกลับมายังบริเวณฝั่งได้ คุณควรอยู่กับเด็ก ๆ ตลอดเวลาในขณะที่พวกอยู่ในน้ำ เพื่อที่เวลาเกิดอันตรายเกิดขึ้นคุณจะได้ช่วยพวกเขาได้ทัน

  • บันได

อันตรายภายในบ้านที่คุณนึกแทบไม่ถึง เพราะเป็นสิ่งที่คุณใช้อยู่ทุกวันในการขึ้น หรือลง แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้วถือว่าเป็นอันตรายมาก โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในวัยคลาน หรือเพิ่งหัดเดิน คุณไม่ควรให้พวกเขาอยู่บริเวณบันไดเพียงลำพัง หรือไม่ควรปล่อยให้เขาขึ้นลงด้วยตัวคนเดียว คุณอาจหาวัสดุมาปิดบังทางขึ้นและลงของบันได เพื่อไม่ให้พวกเขาแอบขึ้นหรือลงโดยไม่มีพวกคุณอยู่ด้วย

 

ทราบไปแล้วสำหรับอันตรายในบ้านที่อาจเกิดขึ้นกับลูกของคุณได้ทุกเมื่อ การที่เราใส่ใจในทุกรายละเอียด คอยสังเกต และคอยดูแลเขาภายในบ้านของตนเองก็เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้นะคะ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอันตรายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นกับลูกของเราเมื่อไหร่

 

บทความที่น่าสนใจ :

แผล ลูกมีแผลทำไงดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่คุณแม่ก็ทำได้

ตะขาบ สัตว์ประหลาดร้ายใกล้ตัว อันตรายถึงชีวิตหรือไม่?

 

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • อันตรายในบ้าน ที่มักเกิดขึ้นกับลูกของคุณ ทำอย่างไรให้ปลอดภัย
แชร์ :
  • ลูกโดน น้ำร้อนลวก ปวดแสบปวดร้อน วิธีปฐมพยาบาล ใช้ยาสีฟันหรือแช่น้ำเย็น

    ลูกโดน น้ำร้อนลวก ปวดแสบปวดร้อน วิธีปฐมพยาบาล ใช้ยาสีฟันหรือแช่น้ำเย็น

  • ระวัง 16 จุดอันตรายในบ้าน ทำลูกเกิดอุบัติเหตุถึงตาย !

    ระวัง 16 จุดอันตรายในบ้าน ทำลูกเกิดอุบัติเหตุถึงตาย !

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกโดน น้ำร้อนลวก ปวดแสบปวดร้อน วิธีปฐมพยาบาล ใช้ยาสีฟันหรือแช่น้ำเย็น

    ลูกโดน น้ำร้อนลวก ปวดแสบปวดร้อน วิธีปฐมพยาบาล ใช้ยาสีฟันหรือแช่น้ำเย็น

  • ระวัง 16 จุดอันตรายในบ้าน ทำลูกเกิดอุบัติเหตุถึงตาย !

    ระวัง 16 จุดอันตรายในบ้าน ทำลูกเกิดอุบัติเหตุถึงตาย !

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ