X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แผล ลูกมีแผลทำไงดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่คุณแม่ก็ทำได้

บทความ 5 นาที
แผล ลูกมีแผลทำไงดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่คุณแม่ก็ทำได้

ลูกเป็นแผล ทำไงดี วิธีรักษาและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่คุณแม่ควรรู้ (ภาพโดย pixabay.com)

แผล รักษาเบื้องต้นได้ยังไงบ้าง เด็กเป็นวัยซน ชอบเล่นสนุก ไม่ชอบอยู่กับที่ ซึ่งก็อาจจะมีบางครั้ง ที่เขาสะดุดล้มจนเป็นแผลตามร่างกาย หรือไปโดนอะไรข่วนจนบาดเจ็บ วันนี้เราจะมาดูวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่คุณแม่สามารถทำได้กัน

 

แผลมีกี่ประเภท

แผล เกิดจากภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำลาย ซึ่งอาจมาจากการผ่าตัด หกล้ม การเกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ หรือจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา ปกติแล้ว แผลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แผลปิดและแผลเปิด โดยแผลปิดนั้น จะเป็นแผลที่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อสัมผัสกับสิ่งเร้าภายนอก และหายได้ไว ส่วนแผลเปิด จะเป็นแผลที่ทำให้เนื้อเยื่อมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งสกปรกหรือสิ่งต่าง ๆ ภายนอก ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กชายวัย 3 ขวบ เสียชีวิตปริศนา พ่อลั่นไม่เชื่อหกล้ม เพราะบาดแผลผิดธรรมชาติ

 

วิธีปฐมพยาบาลและรักษาเบื้องต้นเมื่อเด็กเกิดแผล

หากเด็กไม่ได้มีอาการรุนแรง เป็นแผลเพียงเล็กน้อย คุณแม่อาจทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้

  1. ก่อนปฐมพยาบาลทุกครั้ง ให้ล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าสู่แผลเด็กจนอาจทำให้เด็กติดเชื้อ หลังจากนั้น ให้สวมถุงมือที่สะอาด เพื่อเริ่มปฐมพยาบาล
  2. ล้างแผลด้วยน้ำเย็น 2-3 นาที เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกและดินออกจากแผล
  3. ไม่ควรล้างแผลด้วยแอลกอฮอล์ชนิดใด ๆ เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองและปวดแผลได้
  4. ทำความสะอาดรอบ ๆ แผลด้วยสบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว
  5. พยายามห้ามเลือดโดยใช้ผ้าก็อซหรือผ้าขนหนูกดไว้ที่แผล
  6. หากเลือดซึมผ่านผ้าก็อซจนผ้าก็อซเปียก ให้เอาผ้าก็อซแผ่นใหม่มากดทับเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเอาแผ่นเก่าออก
  7. หากสังเกตเห็นว่าเลือดหยุดไหลแล้ว ให้รออีกสัก 1-2 นาทีค่อยเลิกกดแผล
  8. ยกบริเวณที่เกิดแผลให้อยู่สูง เป็นเวลาประมาณ 15 นาที เพื่อไม่ให้เลือดไหลได้อีก
  9. หลังจากเลือดหยุดไหลแล้ว ให้ทาแผลด้วยยาฆ่าเชื้อชนิดครีมวันละ 1-3 ครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  10. หากเป็นแผลที่เท้าหรือที่มือ ให้ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าพันแผลไว้ในช่วงกลางวัน เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าสู่แผล และเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กแคะหรือแกะเกาแผล จนทำให้แผลอักเสบ
  11. หมั่นตรวจดูว่าแผลบวมแดง มีหนอง หรือน่าจะติดเชื้อหรือไม่

หลังจากเป็นแผลแล้ว ร่างกายจะทำการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้แผลบวมแดง และอาจทำให้เด็กรู้สึกเจ็บได้ ในระหว่างนี้ ให้รักษาแผลของเด็ก ๆ ให้สะอาดและแห้งอยู่ตลอดเวลา หากแผลเกิดการตกสะเก็ด ก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะนี่เป็นกระบวนการซ่อมแซมผิวหนังที่ถูกทำลายของร่างกาย เพื่อให้เนื้อเยื่อใหม่ได้เกิดขึ้นมาทดแทน ซึ่งหลังจากที่สะเก็ดหลุดออก เด็กจะมีแผลเป็นขึ้นที่บริเวณนั้น และต้องรอ 2-3 เดือนแผลเป็นถึงจะจางไป

Advertisement

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกเป็นแผลร้อนใน สาเหตุเกิดจากอะไร พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี?

 

wound 2

แผลเล็ก ๆ รักษาได้ด้วยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (ภาพโดย pixabay.com)

 

การปฐมพยาบาล ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการรักษาแผล

ในระหว่างที่รักษาแผล หรือรอให้แผลหาย คุณแม่อาจมีวิธีดูแลลูก ๆ เพื่อให้แผลหายได้ไวขึ้น ดังนี้

  • ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีโปรตีน เพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เช่น ถั่ว ผักใบเขียว เต้าหู้ เนื้อปลา หมู ไก่ หรือเนื้อวัวที่ไม่ติดมัน เนยถั่ว ชีส โยเกิร์ต ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นต้น
  • ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีคารโบไฮเดรต เช่น ขนมปังธัญพืช เมล็ดธัญพืช มันฝรั่ง ข้าว พาสต้า เป็นต้น
  • ให้ลูกรับประทานผลไม้อย่างสตรอเบอรี่ และแคนตาลูป
  • ป้องกันไม่ให้แผลโดนแสงแดด เพราะอาจทำให้บริเวณที่เป็นแผลมีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยคุณแม่อาจให้เด็กใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดเพื่อปิดแผลเอาไว้
  • หากอยากให้แผลเป็นสมานได้ไว ให้ลองนวดแผลเบา ๆ ด้วยได้
  • หมั่นให้เด็ก ๆ ล้างมือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเมื่อเผลอไปจับหรือสัมผัสแผล
  • ระมัดระวังไม่ให้บาดแผลได้รับการกระทบกระเทือน หรือกระแทกเข้ากับสิ่งของใด ๆ
  • ให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ และให้ทานของว่างที่มีประโยชน์อย่างแครกเกอร์ แซนด์วิช หรือกราโนล่าแบบแท่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : การห้ามเลือดหากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร

 

แผลแบบไหน ที่ต้องไปพบแพทย์

ปกติแล้ว คุณแม่สามารถรักษาแผลที่เป็นรอยบาดเล็ก ๆ หรือรอยถลอกให้น้อง ๆ ได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม หากเด็กมีอาการต่อไปนี้ ควรพาเขาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม

  • เด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น ปัสสาวะน้อยครั้ง ฉี่มีสีเข้ม ปากแห้ง หรือ เบ้าตาลึก เป็นต้น
  • แผลเริ่มส่งกลิ่นเหม็น และมีหนองไหลออกมาจากแผล ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
  • แผลบวมขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีรอยริ้วสีแดงขึ้นรอบ ๆ แผล
  • เป็นแผลจากของมีคม และขนาดแผลใหญ่เกิน 1/2 นิ้ว
  • เด็กยังรู้สึกปวดแผล แม้จะรับประทานยาแก้ปวดไปแล้วก็ตาม
  • เด็กโดนสิ่งของมีคมปักเข้าตามร่างกาย และไม่สามารถเอาออกได้
  • มีแผลรอยบาดจากของมีคมที่ตา ใบหน้า กระดูกอ่อนบริเวณจมูก หรือหู
  • แผลเริ่มลุกลาม ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น
  • ไม่สามารถห้ามเลือดที่แผลเด็กได้
  • มีเลือดออกเยอะมาก
  • มีไข้ หรือต่อมน้ำเหลืองบวมโต
  • เด็กมีแผลเหวอะ

หากเด็ก ๆ โดนของมีคมปักเข้าที่ร่างกาย ไม่ควรพยายามดึงเอาสิ่ง ๆ นั้นออกเอง วิธีที่ดีที่สุด คือ การกดแผลไว้ เพื่อไม่ให้เลือดไหล และให้รีบโทรหาหน่วยงานแพทย์ทันที

 บทความที่เกี่ยวข้อง : เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีดูแลบาดแผลลูก ให้หายเร็ว

 

kid playing

เมื่อเด็กเล่นสนุก ควรดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ให้เกิดแผล (ภาพโดย shutterstock.com)

 

ทำยังไงไม่ให้เด็กเกิดแผล

การห้ามไม่ให้เด็กซุกซนเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะเด็ก ๆ อยู่ในวัยที่ชอบเล่นสนุกและวิ่งเล่น ขี้สงสัย อยากรู้อยากเห็น และชอบสำรวจโลก แต่หากคุณแม่ต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเกิดแผลได้ง่าย ก็อาจทำตามวิธีต่อไปนี้ได้

  • หากเด็ก ๆ ต้องการปั่นจักรยาน ควรสวมหมวกกันน็อกให้เด็ก ๆ เพื่อที่ว่าเวลาล้ม จะได้ช่วยป้องกันศีรษะเด็กได้
  •  ไม่ให้เด็กวิ่งเล่นในเวลาพลบค่ำ เพราะเด็กอาจมองไม่เห็นสิ่งกีดขวาง ที่อาจทำอันตรายเขาจนได้รับบาดเจ็บ
  • แต่งตัวให้เด็ก ๆ อย่างมิดชิดในระหว่างการเล่น เพื่อไม่ให้รับบาดเจ็บทางผิวหนังได้ง่าย
  • เก็บเครื่องมือหรือของมีคมไว้ให้ห่างจากเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้ไม่หยิบมาเล่น
  • เฝ้าดูเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิดเมื่อเด็กกำลังเล่นสนุก

โดยทั่วไปนั้น แผลของเด็กหายได้ไวมาก ถ้าเทียบกับผู้ใหญ่อย่างเรา จึงไม่ใช่สิ่งที่คุณแม่ต้องกังวลใจ หากคุณแม่ปฐมพยาบาลให้ลูก ๆ เสร็จแล้ว ก็ยังต้องดูแลรักษาความสะอาดแผลของเด็กให้ดีจนกว่าแผลจะหาย หรือหากไปพบคุณหมอมาแล้ว ก็ควรทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อให้เด็ก ๆ แผลหายไว และกลับมาสดใสร่าเริงได้อย่างเดิม

 

 บทความที่เกี่ยวข้อง :

ไฟฟ้าช็อต ป้องกันได้อย่างไร วิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนไฟช๊อต

สัตว์มีพิษกัด ต้องทำอย่างไร สอนวิธีปฐมพยาบาล และ สอนลูกน้อยให้รู้จักสัตว์ร้าย

น้ำร้อนลวก ไฟไหม้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับเด็กๆ ภายในบ้าน คุณแม่ควรระวัง

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้ที่นี่!

การปฐมพยาบาล เบื้องต้น ตอนลูกมีแผล ทำอย่างไรได้บ้างคะ

 ที่มา : WebMD , kidshealth , britannica , advancedtissue , intermountainhealthcare , parents

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • แผล ลูกมีแผลทำไงดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่คุณแม่ก็ทำได้
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว