จริงไหม? การกินนมแม่ทำให้ทารกเกิดอาการนอนผิดปกติ
คุณแม่หลายท่านอาาจะกังวลหลังให้นมลูก บางครั้งลูกอาาจะไม่ยอมทาน ลูกน้อยกัดจุกนมคุณแม่ หรือ เมื่อทานแล้วก็ไม่ยอมนอน ดังนั้น กินนมแม่ ทำให้ทารกนอนผิดปกติ จริงหรือไม่
จริงไหม? การกินนมแม่ทำให้ทารกเกิดอาการนอนผิดปกติ
เรามีคำตอบซึ่งเปิดเผยโดย ScienceDaily กับคำถามที่ว่า ………
จริงไหม? การ กินนมแม่ ทำให้ทารกนอนผิดปกติ มาฝากให้หายข้องใจกันค่ะ
นักวิจัยจากสถาบันกุมารแพทย์อเมริกาเฉลยว่า แม้ทารกที่กินนมแม่จะนอนไม่นาน ตื่นบ่อยตอนกลางคืนเพื่อกินนม และมักตื่นเมื่อไม่ได้นอนในเตียงของตัวเอง แต่ก็จะเป็นเช่นนี้ในช่วงสามเดือนแรก หลังจากนั้นอีกหกเดือนต่อมา เด็กที่กินนมแม่ก็จะมีรูปแบบการง่วง การนอนหลับ และระยะเวลารวมของการนอนหลับเป็นปกติไม่ต่างจากเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่เลย
จริงไหม? การกินนมแม่ทำให้ทารกเกิดอาการนอนผิดปกติ
ฉะนั้นคุณแม่ที่ตั้งใจให้ลูกกินนมแม่ สบายใจได้เลยค่ะ เพราะนักวิจัยเขายืนยันแล้วว่า การให้ลูกกินนมแม่นั้นไม่ส่งผลต่อการนอนของลูกในระยะยาวอย่างแน่นอน
จริงไหม? การกินนมแม่ทำให้ทารกเกิดอาการนอนผิดปกติ
#ทารกที่ไม่ยอมกินนมแม่
โดยปกติแล้วเมื่ออุ้มทารกเข้าเต้า สัญชาตญาณของทารกแรกเกิดจะสามารถดูดเต้าของคุณแม่ได้ทันที การที่ลูกไม่ดูดนมแม่หรือไม่ยอมกินนมแม่อาจมีหลายสาเหตุ เช่น ลูกคันเหงือกเมื่อฟันเริ่มขึ้น หรือหายใจไม่สะดวกเนื่องจากเป็นหวัด คุณแม่มีหัวนมสั้น มีน้ำนมมากหรือน้อยเกินไป อุ้มไม่ถูกท่า มีแผลในปาก ลูกไม่สบาย เป็นต้น วิธีแก้คือ ลองเปลี่ยนท่าให้นม เขี่ยปากเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปากเข้าเต้า การให้นมถูกท่าจะช่วยให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายขึ้น ลองปรับแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุ และสร้างบรรยากาศในการนอนของลูกเพื่อง่ายต่อการกินนมได้มากขึ้น
จริงไหม? การกินนมแม่ทำให้ทารกเกิดอาการนอนผิดปกติ
#ลิ้นเป็นฝ้าขาว
ฝ้าขาวที่ลิ้น หรือภายในช่องปากบริเวณเพดานปากหรือกระพุ้งแก้ม คือเชื้อราที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทารกตั้งแต่แรกคลอดถึง 6 เดือนถือเป็นอาการที่ปกตินะคะ คราบสะสมที่เกิดเป็นเชื้อราขึ้นนี้อาจเกิดจากนมที่ลูกกินเข้าไป จึงเกิดเชื้อแบคทีเรียสะสมเป็นฝ้าหนาอยู่ที่ลิ้นของเจ้าตัวเล็ก พอมีคราบขาวจากเชื้อราเยอะหรือหนามาก เด็กเล็กมักจะมีอาการงอแงไม่ยอมกินนม กินนมน้อยส่งผลให้น้ำหนักตัวลด เพราะว่าลูกเจ็บปากที่เกิดจากเชื้อราจับตัวอยู่ในปากนั่นเอง แถมเชื้อรานี้ยังแพร่ไปยังเต้านมของคุณแม่ขณะที่ลูกกินนมอีกด้วย จุดเหล่านี้อาจแตกเป็นสะเก็ดและคันซึ่งส่งผลทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บเต้านม ดังนั้นเมื่อพบว่าลูกมีฝ้าขาวในช่องปาก ควรพาเจ้าตัวน้อยไปพบแพทย์รักษาอาการเพื่อป้องกันการติดเชื้อทั้งแม่และลูกนะคะ
#ลูกชอบกินนมข้างเดียว
ทารกบางรายช่างเลือก ชอบกินนมข้างเดียว ดูดแต่ข้างที่ถนัด เพราะข้างที่ลูกไม่ชอบดูดนั้น อาจมีน้ำนมพุ่งแรงเกินไป เมื่อไม่ค่อยดูดน้ำนมจึงผลิตออกมามาก หรือกลายเป็นว่าเมื่อไม่ค่อยดูดน้ำนมอีกข้างจึงไม่ค่อยผลิตออกมา ทำให้มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมเลยก็ได้ วิธีแก้คือ
- ลองให้ลูกกินนมข้างที่ไม่ชอบ ในท่าเดียวกับข้างที่ลูกชอบกิน หรือท่าลูกถนัดเต้าขวาก็ลองอุ้มเข้าเต้าซ้ายก่อน หรือให้นมลูกในท่าฟุตบอลเพื่อให้แก้มซ้ายของลูกสัมผัสเต้าเหมือนกับการดูดที่เต้าขวา ลูกอาจคิดว่านี่คือเต้าที่ชอบดูดก็เลยยอมดูด การทำเช่นนี้เพื่อกระตุ้นให้เต้านมทั้งสองข้างผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในปริมาณที่เท่ากัน และควรสลับให้ลูกได้ดูดทั้งสองข้างนะคะ
- นมข้างที่ลูกไม่ชอบดูดอาจเป็นเพราะมีน้ำนมพุ่งแรง สามารถแก้ได้โดยการปั๊มน้ำนมออกก่อนเอาลูกเข้าเต้าเพื่อให้เหลือนมน้อยลง แล้วให้ดูดในท่านอนตะแคง เพื่อไม่ให้น้ำนมไหลพุ่งขึ้น หรือคุณแม่นอนหงายแล้วลูกนอนคว่ำบนตัวแม่ กดเต้านมด้านล่างเพื่อให้หัวนมชี้ลงพื้นขณะลูกดูด น้ำนมจะได้ไม่สำลักขึ้นจมูก
#เจอลูกน้อยกัดหัวนม
เจอลูกกัดหัวนม ในขณะให้นมนี่ไม่สนุกเลยใช่ไหมค่ะ แม่บางคนทนเจ็บไม่ไหวเลิกให้นมลูกไปเลยก็มี โดยเฉพาะยิ่งในช่วงที่ลูกฟันขึ้น แม่คุณเอ้ย! แต่ความจริงแล้วลูกจะไม่กัดหัวนมในขณะดูดนมแม่นะคะ แต่คุณแม่อาจโดนลูกกัดหัวนมในตอนเริ่มให้นมกับตอนกินเสร็จต่างหาก เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องระวัง เพราะตอนที่จะถอนหัวนมออกจากปากลูก กลไกตามธรรมชาติของการขยับเหงือกและฟันทำให้โดนกัดหัวนมได้ ลองแก้ปัญหานี้ด้วยการให้ลูกอ้าปากกว้าง ๆ เพื่อที่หัวนมแม่จะได้เข้าไปลึก ๆ ในปากลูก ไม่โดนฟันและเหงือก พยายามให้ลูกอมบริเวณลานนม ก็จะช่วยป้องกันการกัดหัวนมได้ หรือหายางกัดเพื่อลดอาการคันเหงือกในระหว่างที่ไม่ได้กินนม
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าเด็กที่เริ่มโตขึ้นจะไม่กัดหัวนมแม่ตอนกินนม ถ้าคุณแม่ฝึกให้ลูกสบตาแม่อยู่ตลอด เช่นในตอนที่คุยกับลูกหรืออ่านนิทาน วิธีนี้จะทำให้ลูกเคยชินกับการสบตาแม่และคอยจ้องแม่เวลากินนม เพื่อที่ลูกจะคอยฟังว่าแม่จะพูดอะไร หากเข้าใจกลไกตามธรรมชาติและรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เจ้าตัวเล็กมีผลต่อการกินและให้นม คุณแม่ยังคงให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ต่อไปเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกนะคะ
#1 แม่ที่ให้นมลูกไม่จำเป็นต้องทานอาหารเหมือนคนที่ควบคุมน้ำหนัก
ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า “ร่างกายของคุณแม่ถูกออกแบบมาให้สร้างน้ำนมที่มีคุณภาพ” ลูกน้อยจะได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่ และการกินอาหารที่ดีนั้น ในมื้ออาหารของคุณแม่ให้นมจึงควรมีบรรดาสารอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และธาตุเหล็ก ที่มีส่วนสำคัญต่อสุขภาพและพลังงานให้กับคุณแม่ เพื่อจะได้มีแรงเลี้ยงลูก แต่การไม่กินอะไรเลยระหว่างมื้ออาหาร จะมีผลต่อร่างกายคุณแม่ให้นม ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องห่วงเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นก่อนคลอด เพราะการให้ลูกดูดนมแม่จะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ลดน้ำหนัก ช่วยให้น้ำหนักของแม่กลับสู่ภาวะปกติเร็วมากขึ้น และช่วยรักษาน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
#2 ในช่วงให้นมอาจรู้สึกเหมือนว่าท้องเป็นตะคริว
คุณแม่อาจจะรู้สึกเหมือนปวดท้องประจำเดือน และจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบาย เนื่องจากฮอร์โมนออกโตซีนในร่างกายเกิดการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม และทำให้มดลูกกำลังหดตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อาการตะคริวบริเวณท้องที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าร่างกายของคุณแม่กำลังพื้นตัวได้อย่างดี ซึ่งมันเกิดแค่ช่วงไม่กี่วันเท่านั้น
#3 น้ำนมแม่คุณค่าสำหรับลูกมหาศาล
ในช่วง 4-7 วันแรกหลังคลอดนั้น ร่างกายของแม่จะผลิตน้ำนมที่มีลักษณะเหลว สีเหลืองข้น ซึ่งจะไหลออกมาประมาณวันละ 10-40 ซีซี. ที่เรียกว่า “น้ำนมเหลือง” ในส่วนนี้แหละที่เหมาะให้กับทารกแรกเกิดได้กิน เพราะอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารทุกชนิดอย่างเข้มข้น ซึ่งจะมีอยู่เพียงไม่กี่วันเท่านั้น ดังนั้นคุณแม่ควรจะให้ลูกได้กินนมแม่ทันทีที่มีโอกาสหลังลูกคลอดนะคะ
#4 เวลาคิดถึงลูกจะมีน้ำนมไหลซึมออกมา
เมื่อใดก็ตามที่แม่มีความรู้สึกพิเศษอย่างเช่น การคิดถึงลูกน้อยหลังกลับไปทำงาน พูดถึงลูก หรือแม้แต่การได้ยินเด็กคนอื่นร้องไห้ จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซีนเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนตัวนี้เป็นเหมือนหัวพ่นน้ำ ที่จะไปกระตุ้นให้น้ำนมผลิตขึ้นและไหลซึมออกมา ดังนั้นหากไม่ได้อยู่ใกล้ลูก คุณแม่ควรใส่แผ่นซับน้ำนมเอาไว้ เพื่อช่วยซึมซับน้ำนมที่ไหลซึมออกมาได้ทันทีที่มีความรู้สึกนี้เกิดขึ้น
#5 มีเซ็กส์ในระยะให้นมไม่ใช่ปัญหา
เมื่อพวกคุณพร้อมจะกลับมาเล่นจ้ำจี้กันอีกครั้ง อาจจะพบความแตกต่างว่าในขณะให้นมลูกนั้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีแนวโน้มที่จะลดต่ำลงเป็นเหตุทำให้ช่องคลอดแห้งได้ และอีกจุดหนึ่งที่น่าจะเจ็บปวดก้ตรงหน้าอกคุณแม่ที่ให้นมลูก ที่คุณแม่บางคนอาจจะยังไม่อยากให้คุณพ่อมาสัมผัสส่วนที่อ่อนไหวง่ายที่สุดในตอนนี้ เพราะมันอาจไปกระตุ้นให้น้ำนมพุ่งออกมาได้ นี่อาจเป็นเวลาที่จะต้องชวนให้พ่อลูกอ่อนไปสนใจสนุกกับจุดอื่นชั่วคราวไปก่อน อย่าลืมที่จะเอ่ยปากบอกไปล่ะ ว่าตรงไหนที่คุณรู้สึกดี จุดไหนที่ยังไม่โอเคตอนนี้
The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
อ้างอิง : who.int
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
แม่ให้นมลูกต้องอ่าน ข้อดีของนมแม่ ให้นมลูกเองดีต่อน้ำหนักของลูก
ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง
ประโยชน์ของนมแม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!