คุณแม่แต่ละท่านต่างก็มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันไป จึงเป็นธรรมดาที่จะมีขนาดหัวนมที่แตกต่างกันไปด้วย และเรื่องที่คุณแม่กังวลเกี่ยวกับการให้นมเรื่องหนึ่งก็คือ กลัวว่าหัวนมแบบนั้นแบบนี้ จะให้นมลูกไม่ได้ หรือจะทำให้มีปัญหาในการให้นม โดย ปัญหาเรื่องหัวนม ที่พบบ่อยนั้นได้แก่ หัวนมสั้น หัวนมบอด หัวนมบุ๋ม ในขณะที่คุณแม่บางท่านก็มี หัวนมใหญ่ หรือหัวนมยาว เรามาดูกันครับว่า ปัญหาเรื่องหัวนม หลายๆแบบที่กล่าวมานั้น จะส่งผลต่อการให้นมลูกอย่างไร
ปัญหาเรื่องหัวนม
หัวนมบอดเป็นอย่างไร ก่อนอื่นคุณแม่ลองวางมือลงบนเตสนม แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้วางทาบลงบนผิวหนัง ตรงรอยต่อระหว่างฐานของหัวนม และลานนม จากนั้นกดนิ้วมือทั้งสองลงไปตรง ๆ แล้วบีบเข้าหากัน หัวนมที่ยาวปกติ จะสามารถใช้นิ้วมือจับขึ้นมาได้ ก็แสดงว่าหัวนมไม่บอดค่ะ แต่ถ้าหัวนมสั้น หรือแบน หัวนมจะผลุบลงไประหว่างนิ้วมือ
คุณแม่ที่มีหัวนมสั้น บอด หรือหัวนมบุ๋มนั้น ส่งผลต่อการดูดนมของลูกไม่มากนัก เพราะส่วนสำคัญที่ลูกจะต้องอมงับให้ได้ ก็คือลานนมครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว หัวนม กับลานนมมักจะมีความยืดหยุ่น และนุ่มลงหลังคลอด ถ้าคุณแม่ให้นมลูกในท่าที่เหมาะสมก็จะทำให้ลูกดูดนมได้ไม่ยาก ที่สำคัญคือคุณแม่ไม่ควรให้ลูกดูดจากจุกนมก่อนนะครับ เพราะถ้าลูกติดจกนมแล้ว จะทำให้ลูกฝึกดูดนมจากเต้าได้ยากขึ้นครับ
อย่างไรก็ตาม อาจมีคุณแม่บางท่านที่ต้องใช้อุปกรณ์ดึงหัวนมให้ขึ้นมาก่อนที่จะให้ลูกดูด โดยอุปกรณ์ดึงหัวนม เป็นอุปกรณ์ที่คิดค้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาหัวนมบอดโดยเฉพาะ ช่วยดึงหัวนมให้ขึ้นมาตามปกติ ซึ่งเป็นวิธีในการแก้ไขที่ดี แต่ต้องใช้ระยะเวลา คุณแม่ที่จะใช้วิธีนี้จึงต้องมีความอดทนสูงมากเลยทีเดียว การใช้อุปกรณ์ช่วยดึงหัวนมคุณแม่ อาจจะใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าปั๊ม เพื่อดึงหัวนมออกมาก็ได้ หรือวิธีบ้าน ๆ คือ ลูกยางแดง ดึงหัวนมทุกวัน วันละ 2 ครั้ง หลังอาบน้ำเช้า เย็น ประมาณข้างละ 10 นาที วิธีการนี้จะช่วยดึงหัวนมของคุณแม่ได้ค่ะ แต่การใช้อุปกรณ์ดึงหัวนมต่างๆนั้นต้องใช้อยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญนะครับ
ปัญหาเรื่องหัวนม หัวนมใหญ่
ถึงแม้ว่าคุณแม่จะมีหัวนมใหญ่ แต่ก็ใช่ว่าจะให้ลูกดูดนมแม่ไม่ได้นะครับ คุณแม่สามารถสังเกตการอมงับหัวนม และลานนมของลูกได้ โดยตอนที่คุณแม่ให้ลูกเข้าเต้านั้น ให้คุณแม่ลองใช้หัวนม หรือนิ้วมือเขี่ยกระตุ้นที่ริมฝีปากล่างของลูก จนลูกอ้าปากกว้างเต็มที่ จากนั้นจึงค่อยๆเลื่อนตัวลูกมาเข้าเต้าอย่างนุ่มนวล แล้วจึงสอดหัวนมเข้าปากลูก แล้วลองสังเกตดูว่าลูกอมงับหัวนมและลานนมได้ลึกพอหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว หากหัวนมของคุณแม่ไม่ใหญ่จนเกินไปนัก ก็มักจะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร และลูกจะค่อยๆปรับตัวให้เข้าเต้าได้ไม่ยากครับ
แต่หากหัวนมใหญ่มากๆ และลูกอมได้ไม่มิด และคุณแม่สังเกตเห็นได้ว่าลูกดูดนมได้ไม่ดี คุณแม่ก็อาจจะต้องใช้วิธีการบีบน้ำนมใส่ถ้วยเพื่อป้อนลูกไปก่อน แต่คุณแม่ต้องไม่ให้ลูกดูดนมจากขวบในช่วงนี้นะครับ เพราะจะทำให้ลูกเคยชินกับการที่ไม่ต้องอ้าปากกว้าง และทำให้เกิดปัญหาตามมาได้
ระหว่างนี้คุณแม่ควรค่อยๆฝึกให้ลูกเข้าเต้าไปเรื่อยๆ รอเวลาให้ลูกโตขึ้นอีกนิด เมื่อปากของลูกเริ่มกว้างขึ้น ลูกน้อยก็จะดูดนมได้ตามปกติครับ
สำหรับคุณแม่ท่านใดที่มีหัวนมยาว ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ถ้าสอดหัวนมเข้าไปลึกมาก ก็อาจทำให้ลูกมีอาการคลื่นไส้ คล้ายจะอาเจียน แต่คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะครับ การฝึกลูกเข้าเต้าจะเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการที่คุณแม่มีหัวนมใหญ่ครับ
อย่างไรก็ตาม การตรวจเต้านมเพื่อเตรียมพร้อมให้นมลูกนั้นเป็นสิ่งที่ดีนะครับ โดยในช่วงฝากครรภ์นั้น คุณแม่อาจจะแจ้งกับคุณหมอหรือพยาบาลเพื่อจะได้รับการตรวจเต้านม ถ้าหากพบว่าผิดปกติจะได้รับการดูแลแก้ไขได้อย่างถูกต้องครับ
ปัญหาเรื่องหัวนม หัวนมใหญ่
วิธีเอาลูกเข้าเต้า ให้ลูกดูดนมได้ คุณแม่ไม่เจ็บ
- อุ้มทารกโดยใช้มือประคองที่ต้นคอ และท้ายทอย ต้องระวังอย่าลงน้ำหนักไปที่ใบหูของลูกนะคะ
- จับให้ลูกเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย และเคลื่อนเข้ามากระชับตัวคุณแม่มากขึ้น
- คางลูกเข้าประชิดกับเต้านมส่วนล่าง โดยสังเกตว่าจมูกของลูก จะอยู่ตรงกับหัวนมแม่พอดี ทันทีที่ทารกน้อยสัมผัส และได้กลิ่นจากเต้านมแม่ ก็จะเริ่มอ้าปากโดยอัตโนมัติค่ะ
- แต่ถ้าเจ้าตัวน้อยยังไม่อ้าปาก ให้ลองใช้นิ้วมือเขี่ยที่ริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปากดูนะคะ
- ใช้มืออีกข้างประคองเต้านมเอาไว้ โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน เหนือขอบนอกของลานหัวนม ส่วนนิ้วที่เหลือประคองเต้านมด้านล่าง
มีข้อควรระวัง คือ คุณแม่ไม่ควรใช้ท่าแบบนิ้วคีบบุหรี่ เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วจะแคบ ทำให้ลูกอมเข้าลานนมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลได้ไม่สะดวกด้วยค่ะ
นอกจากนี้ คุณแม่อยากลืมตรวจสอบดูด้วยว่า ลูกงับลานนมได้ดีหรือยัง โดยในขณะที่เอาลูกเข้าเต้าแล้ว หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่า จัดท่าให้นมลูกได้ถูกต้องหรือไม่ ใช้วิธีสังเกตง่าย ๆ แบบนี้ค่ะ
- ลูกอมลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบนหรือเปล่า พยายามให้ลานนมด้านล่างถูกปากลูกอมจนมิด หรือเกือบมิด
- ต้องปากลูกอ้ากว้างแนบสนิท กับเต้านมแม่
- ขณะดูดนมริมฝีปากล่างบานออกเหมือนปากปลา
- ต้องให้คางลูกต้องแนบชิดเต้านมแม่
ปัญหาหัวนม หัวนมใหญ่
การให้ลูกดื่มนมจากอกแม่ นอกจากจะทำให้ลูกได้รับภูมิต้านทานจากน้ำนมของแม่แล้ว ยังช่วยสานความสัมพันธ์แม่ลูกให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยนะคะ
_________________________________________________________________________________________
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
ที่มา thaibreastfeeding.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เอาลูกเข้าเต้าท่าไหน ไม่เจ็บหัวนม มีน้ำนมมาเยอะ
ของแสลงแม่ให้นม เลี่ยงได้เป็นดี มีอะไรบ้าง
น้ำนมแม่ที่ปั๊มมาแล้วเก็บได้กี่ ชม เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ให้นมต้องรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!