X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กินยาคุมครั้งแรก มีอะไรที่จำเป็นต้องรู้บ้าง มาดูกัน!!

บทความ 5 นาที
กินยาคุมครั้งแรก มีอะไรที่จำเป็นต้องรู้บ้าง มาดูกัน!!

กินยาคุมครั้งแรก มักเป็นข้อสงสัยที่คุณผู้หญิงหลายคนเคยเจอ เมื่อครั้งที่ต้องเริ่มต้นกิน คำถามคาใจที่ไม่กล้าแม้แต่จะหันไปถามใคร มาดูกันว่ามีวิธีการเริ่มต้นอย่างไรบ้าง อีกทั้งหลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดอีกด้วย บ้างก็ไม่รู้ว่าต้องกินยังไง หรือเริ่มกินตอนไหนของการมีประจำเดือน 

บทความที่น่าสนใจ ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติจริงไหม?

 

ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจก่อนว่า “ยาคุมกำเนิด” (Contraceptive Pill หรือ Birth Control Pill) เป็นอีกหนึ่งวิธีการคุมกำเนิดด้วยการกินยาเม็ดที่บรรจุฮอร์โมนเพศหญิงไว้ โดยยาตัวนี้ช่วยออกฤทธิ์ต่อการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ไม่ว่าจะเป็นปากมดลูก ผนังมดลูก และรังไข่ เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แบบชั่วคราว 

การกินยาคุมกำเนิดรายเดือน เป็นอีกหนึ่งวิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถหาซื้อได้ง่าย และเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้ตนเอง ไม่ต้องประสบกับช่วงเวลาหรือความเสี่ยงท้องไม่พร้อมด้วย อีกทั้งเมื่อทานยาอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี ก็สามารถใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีความเชื่อผิดๆ และทานยาคุมกำเนิดด้วยการทานผิดวิธี ที่อาจนำมาซึ่งปัญหาในระยะยาวได้เช่นกัน!

 

การคุมกําเนิด

 

  • ยาคุมกำเนิดแบบรายเดือน

มีด้วยกันทั้งหมด 2 ชนิด ก็คือ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตรเจน เหมาะกับคุณผู้หญิงที่รอบเดือนมีความปกติ มาอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการคลาดเคลื่อน และยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ที่มีเพียงฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนเพียงอย่างเดียว เหมาะกับคุณแม่มือใหม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกน้อย หรือหญิงสาวที่มีผลกระทบจากการกินฮอร์โมนรวม ซึ่งทั้งสองแบบมีประสิทธิภาพในการช่วยยับยั้งการตั้งครรภ์ในระดับเดียวกัน

นอกเหนือไปกว่านี้ยังสามารถแบ่งยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมออกได้อีก 2 แบบ นั่นก็คือแบบแผง 21 เม็ด และแบบแผง 28 เม็ด โดยทั้งคู่ก็มีส่วนผสมของฮอร์โมนชนิดเดียวกัน โดยมีเม็ดยาจริงทั้งหมด 21 เม็ดเหมือนกัน เพียงแต่แผง 28 เม็ดจะมี “เม็ดยาหลอก 7 เม็ด” ซึ่งข้อดีของแบบนี้คือจะช่วยไม่ให้เราลืมกินยา และราคาก็อยู่ในระดับที่จับต้องได้ ตั้งแต่แผงละ 50 บาท ไปจนถึงแผงละ 500 บาท หรือมากกว่านั้นก็ยังมี

 

  • ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

เป็นยาที่ทางการแพทย์แนะนำว่าไม่ควรใช้บ่อย และควรใช้แค่เฉพาะยามฉุกเฉินมากกว่า ไม่ควรใช้เป็นการคุมกำเนิดประจำ หรือกินแทนยาคุมรายเดือน แต่ควรใช้เมื่อถุงยางอนามัยรั่ว, การลืมกินยาคุมเกิน 3 วัน หรือในกรณีที่โดนข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งตัวยาจะมี 1 หรือ 2 เม็ดเท่านั้น โดยตัวยาจะมีเพียงฮอร์โมนโปรเตสโตรเจนเท่านั้น สามารถใช้ระงับและป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 80-90% แต่มีข้อเสียที่แลกมาด้วยประสิทธิภาพที่ลดลง หากมีการใช้ยาฉุกเฉินบ่อย โดยราคาจะอยู่ตั้งแต่ 40 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและประสิทธิภาพ

 

รู้จักยาคุมกำเนิด

เรื่องน่ารู้เมื่อต้อง กินยาคุมครั้งแรก

ยาปรับฮอร์โมน และยาคุมกำเนิด เหมือนกันหรือไม่?

ที่พบเห็นโดยส่วนมาก ยาคุมกำเนิดทั้งหลายมักมีส่วนผสมของฮอร์โมนรวมอยู่แล้ว ซึ่งยาตัวนี้จะมีความสามารถในการคุมกำเนิดได้ด้วย และยังช่วยในการปรับสมดุลของฮอร์โมนให้ดียิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการใช้ยาปรับฮอร์โมนชนิดที่ไม่มีผลต่อการคุมกำเนิดด้วยเช่นกัน โดยตัวยาจะมีฤทธิ์แค่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน แต่ไม่ได้ช่วยในการคุมกำเนิด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการกินยาในรูปแบบไหน ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยและเหมาะกับร่างกายของตนเอง

 

วิธีกินยาคุมครั้งแรก ควรเริ่มกินแบบไหน

  • ยาคุมกำเนิดแบบธรรมดา

สามารถเริ่มได้เลยหลัง 5 วันแรกของการเป็นประจำเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าตนเองไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่มีความต่างระหว่างแผง 21 เม็ด และแผง 28 เม็ดอยู่บ้าง อย่างที่บอกว่ามันมีเม็ดหลอกอยู่ด้วยกัน 7 เม็ด

เมื่อครั้งที่เริ่มทานครั้งแรกจะเริ่มจากการกินเม็ดที่ 1 ที่มีคำว่า Start กำกับอยู่ หรือในกรณีที่บนแผงใช้ชื่อวันแทน เช่น Mon หรือวันจันทร์ ให้เริ่มทานตรงตามวันที่เรากิน และกินตามลูกศรไปเรื่อยๆ วันละ 1 เม็ดในรูปแบบเดิม เวลาเดิมจนหมดแผง ถ้าแผงที่เริ่มกินมีเพียง 21 เม็ด ก็เว้นไปก่อน 7 วันแล้วค่อยเริ่มแผงใหม่ แต่ถ้าเป็นแผง 28 เม็ด สามารถกินแผงต่อไปได้ทันทีที่กินแผงเดิมหมด

 

กินยาคุมให้ถูกวิธี

 

  • ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

ควรเริ่มกินเม็ดแรกให้เร็วที่สุด หรือกินทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์โดยขาดการป้องกัน และกินอีกเม็ดใน 12 ชั่วโมงให้หลัง หรือจะกินสองเม็ดพร้อมกันเลยก็ได้ แต่ต้องพึงระวังอาการข้างเคียง ที่อาจจะต้องซื้อยามาเผื่ออีกชุด เผื่ออาเจียนออกด้วย

ในขณะเดียวกันถ้าหากไม่สามารถทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินได้ทันที ควรหายากินหลังจากนั้นไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ไม่พร้อม อีกทั้งทางการแพทย์เน้นย้ำอยู่เสมอเรื่องการใช้ยาคุมฉุกเฉินว่าไม่ควรใช้บ่อย โดยระบุเหตุว่าถึงแม้จะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบและผลิตมาเพื่อป้องกันและควบคุมการตั้งครรภ์ แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฉุกเฉิน จึงไม่อาจรับประกันความปลอดภัยได้ 100% และยังไม่รองรับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจตามในภายหลังด้วย

 

ผลข้างเคียงของการ กินยาคุมครั้งแรก

  • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม อาจทำให้เกิดอาการเลือดไหลก่อนประจำเดือนมา, ปวดหัว คลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวน, ความดันโลหิตเพิ่มสูง
  • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยว อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ, ปัญหาสิวอุดตัน, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น, แรงขับทางเพศที่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง, เกิดถุงน้ำ (ซีสต์) ที่รังไข่

 

เมื่อลืมกินยาคุม จะทำอย่างไรได้บ้าง?

  • เมื่อลืมกินยาคุมไป 1 เม็ด หรือกินยาไม่ตรงกับเวลาเดิม ให้กินทันทีที่นึกออก และวันพรุ่งนี้ยังสามารถกินได้ในเวลาเดิม
  • เมื่อลืมกินยาคุมไป 2 เม็ด หรือลืม 2 วันติดกัน ให้แบ่งยากินเป็นแบบเช้าและก่อนนอน ในวันต่อมาก็กินในรูปแบบเดียวกันก็คือการแบ่งกินเช้าและก่อนนอน
  • เมื่อลืมกินยาคุม 3 วันติดต่อกัน ควรหยุดกินยาคุมแผงดังกล่าวทันที และรอให้ประจำเดือนมาอีกครั้งในเดือนถัดไปพร้อมกับเริ่มกินแผงใหม่แทน

 

ชนิดของยาคุมกำเนิด

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

 

 

อย่างไรก็ตามการกินยาคุมกำเนิดเป็นเพียงอีกหนึ่งวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์ หากต้องการประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ หากไม่มั่นใจในวิธีการใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่ม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ฉีดยาคุมอ้วนไหม คำถามคาใจ ที่สาว ๆ ต้องการคำตอบ

ยาคุมเม็ดฉุกเฉิน ไม่ควรกินกี่ครั้ง พร้อมเหตุผลที่แพทย์แนะไม่ควรใช้บ่อย

ราคายาคุมฉุกเฉิน แต่ละยี่ห้อเท่าไหร่บ้าง เทียบราคาอย่างละเอียด

 

ที่มา (1) (2) (3)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • กินยาคุมครั้งแรก มีอะไรที่จำเป็นต้องรู้บ้าง มาดูกัน!!
แชร์ :
  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

    คนท้องเหงื่อออกเยอะ แปลกไหม ต้องแก้อย่างไร ?

  • มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

    มาทำความเข้าใจ ออทิสติก กับ ดาวน์ซินโดรม แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ