เมื่อลูกอ้วก อาเจียนบ่อย แต่ไม่มีไข้ คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าลูกมีอาการแหวะนม แต่ความจริงแล้วการที่ลูกอ้วกโดยไม่มีไข้ อาจไม่ใช่อาการแหวะนมแต่อย่างใด แต่อาจเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยได้ วันนี้ theAsianparent จะพาคุณแม่มาดูกันว่า ทารกอ้วก อาเจียนบ่อย เกิดจากอะไร อาการอ้วกแบบไหนที่เป็นอันตรายต่อลูก พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกอ้วกบ่อย ไปติดตามกันค่ะ
ทารกอ้วก กับแหวะนมต่างกันอย่างไร
เมื่อลูกอ้วก คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเข้าใจว่าลูกมีอาการแหวะนม แต่ความจริงแล้วทั้งสองอาการนี้ ค่อนข้างมีความแตกต่างกัน โดยอาการแหวะนมอาจเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยเฉพาะในทารก แต่หากลูกมีอาการอาเจียน ก็จะเกิดขึ้นเมื่อลูกมีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร หรืออาการป่วยอื่น ๆ เท่านั้น โดยคุณพ่อคุณแม่อาจแยกความแตกต่างได้ดังนี้
- อาการแหวะนม คือ อาการเรอเอานมหรือสำรอกนมออกทางปาก บางครั้งก็ไหลย้อนออกมาทางจมูกได้ จึงควรระวังสำลัก เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณรอยต่อของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของทารกยังเจริญไม่เต็มที่
- อ้วกหรืออาเจียน คือ ลักษณะอาการขย้อนอาหารย้อนกลับออกทางปากอย่างรุนแรง ถ้าอาเจียนรุนแรงจนอาหารและน้ำพุ่งออกปากและจมูก จะเรียกว่าอาเจียนพุ่ง
ทารกอ้วก เกิดจากอะไร
- เป็นหวัด เด็กเล็กสามารถเป็นหวัดได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็ง ซึ่งหากลูกมีอาการไข้หวัด ก็อาจทำให้เขาอาเจียนออกมา ร่วมกับอาการอื่น ๆ
- ไวรัสลงกระเพาะอาหาร หากลูกมีอาการติดเชื้อไวรัสในทางเดินอาหาร ก็อาจทำให้ลูกมีอาการอ้วกหรือท้องเสียได้ โดยอาการนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วง 12-24 ชั่วโมง หลังได้รับเชื้อโรค เช่น โนโรไวรัส
- กรดไหลย้อน ทารกสามารถเป็นกรดไหลย้อนได้เหมือนผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่นั้น เมื่อลูกมีอาการกรดไหลย้อน จะมีอาการงอแง กระสับกระส่าย หลังกินนม ก็จะทำให้เขาอาเจียนออกมาหลังจากกินนมไปไม่นาน
- ไออย่างรุนแรง หากลูกน้อยมีอาการไอเรื้อรัง และไออย่างต่อเนื่อง เช่น จากโรคหลอดลมอักเสบหรือหอบหืด ก็อาจทำให้เด็กทารกอาเจียนได้
- อากาศร้อน คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจไม่รู้ว่า อากาศร้อน ๆ อาจส่งผลให้ลูกอาเจียนได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายของลูกยังไม่สามารถขับเหงื่อได้ดี การระบายความร้อนลดลง หากลูกอยู่ในสภาพอากาศร้อน ๆ เกิดภาวะ Heat Stroke มีอาเจียนและทำให้เกิดภาวะขาดน้ำตามมาอีกด้วย
- การติดเชื้อ การที่ลูกมีอาการอาเจียนบ่อย ๆ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไข้ร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณที่แสดงว่าลูกอาจมีภาวะติดเชื้อในร่างกายได้ โดยการติดเชื้อที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคปอดบวม และโรคไข้เลือดออก เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้ทารกอาหารไม่ย่อย
อาหารไม่ย่อยถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกอาเจียน โดยเฉพาะทารกในช่วงเดือนแรก ๆ อาการนี้มักเกิดจากปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น เกิดจากการท้องอืด ท้องผูก กรดไหลย้อน โคลิก แพ้นมวัว หรือภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง เป็นต้น ซึ่งหากลูกมีอาการดังกล่าวก็อาจส่งผลให้อาหารไม่ย่อยจนทำให้เกิดอาเจียนออกมา
คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของลูกเมื่ออาหารไม่ย่อย โดยอาจพิจารณาจากลักษณะอุจจาระที่แข็งกว่าปกติ จนทำให้ลูกน้อยเจ็บขณะขับถ่าย พฤติกรรมในการนอนหลับของลูก การที่ทารกไม่ยอมดื่มนม และร้องไห้มากกว่าปกติ ความผิดปกติดังกล่าวนี้อาจบ่งบอกถึงอาการทารกอาหารไม่ย่อย
สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรทำเมื่อทารกอาหารไม่ย่อย
การรับประทานอาหารของทารก คือปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกอาหารไม่ย่อย ดังนั้นคุณแม่ควรปรับวิธีการให้อาหารลูก เพื่อช่วยให้เข้าสบายท้องมากยิ่งขึ้น โดยอาจใช้วิธีดูแลเบื้องต้นดังนี้
- หากคุณแม่ให้นมลูกเอง ควรงดการรับประทานอาหารที่มีคาเฟอีน อาหารประเภทนม และอาหารรสจัด แล้วล้องดูการเปลี่ยนแปลงการย่อยอาหารของลูก หากลูกน้อยมีอาการเหมือนเดิมแม้ว่าจะลองปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว ก็อาจจะไม่เกี่ยวข้องกัน
- หากคุณแม่ให้กินนมผง ให้ลองลดปริมาณนมผงในการชงดู แต่ลองป้อนนมให้บ่อยขึ้น หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเรื่องการเลือกนมย่อยง่ายที่ตรงกับความต้องการของลูกโดยแพทย์อาจจะแนะนำนมที่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ควบคู่กับสารอาหารอื่นๆ ที่พบในนมแม่ เช่น MFGM และ DHA เป็นต้น
- หลังจากให้ลูกกินนมแล้ว ควรอุ้มแล้วลูบหลังให้ลูกเรอออกมา
- นวดท้องหรือจับเท้าของลูกให้ทำท่าปั่นจักรยาน โดยควรทำหลังจากให้ลูกกินนมเรียบร้อยแล้ว
- หากลูกรับประทานอาหารได้แล้ว คุณแม่อาจเพิ่มผลไม้ในอาหาร เพื่อช่วยป้องกันอาการท้องผูก โดยควรเลือกผลไม้ที่หวานน้อย เนื้อนิ่ม และไม่มีกรด
- ในช่วงการป้อนอาหาร ควรให้ลูกนั่งตัวตรง และหลังจากป้อนเสร็จแล้ว ก็ควรให้ลูกนั่งต่ออย่างน้อย 15-30 นาที ไม่ควรจับนอนทันที
- งดการป้อนอาหารที่มีลักษณะแข็ง เหนียว หรือเป็นอาหารที่มีกรดสูง อาหารทอด รวมถึงอาหารที่มีคาเฟอีน เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้ลำไส้ลูกทำงานหนัก จนส่งผลให้มีอาการอาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรง
5 อาหารที่ดีต่อระบบย่อยอาหารลูก
การรับประทานอาหารมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารของลูกทำงานได้ปกติ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจเรื่องอาหารการกินของลูกเป็นพิเศษ เพราะการรับประทานอาหารที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงของอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียนได้
1. โภชนาการย่อยง่าย
อย่างที่ทราบกันดีว่านมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด อีกทั้งยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM DHA ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย กรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้และมีความจำเป็นต้องให้นมผง คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายให้กับลูกน้อย โดยแพทย์ก็อาจจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย สามารถดูดซึมได้ดี เหมาะสมกับระบบย่อยอาหารของลูก
2. ผลไม้
ผลไม้เป็นอาหารที่ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกรับประทานผลไม้เหล่านี้ เพราะมีสรรพคุณที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารนั่นเอง
3. ผักใบเขียว
ผักใบเขียวที่ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ได้แก่ ผักเคล ผักโขม คะน้า ถั่วลันเตา และถั่วฝักยาว เป็นต้น ผักเหล่านี้เป็นแหล่งของสารอาหารหลายอย่าง เช่น โฟเลต ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี และแมกนีเซียม หากให้ลูกกินผักใบเขียวเป็นประจำ ก็จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้และบำรุงระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี
4. โปรตีนและไขมันดี
อาหารประเภทโปรตีน เช่น ไข่ ปลาแซลมอน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อัลมอนด์ และเต้าหู้ อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร และรักษาสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้
5. ธัญพืช
ธัญพืชที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยรับประทาน ควรเป็นธัญพืชเต็มเมล็ด ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ควินัว และขนมปังโฮลวีต เพราะธัญพืชชิดนี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยป้องกันท้องผูก และทำให้ลูกสบายท้อง
วิธีรับมือเมื่อลูกอ้วกบ่อย
ถ้าลูกอาเจียนเป็นครั้งคราวอาจไม่มีอะไรที่ผิดปกติ แต่หากลูกมีอาการอาเจียนแบบพุ่ง มีสิ่งเจือปน และอาเจียนแบบต่าง ๆ ข้างต้น ควรสังเกตลักษณะอาเจียนเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น หากลูกมีการอ้วกบ่อย ๆ คุณแม่ควรปฏิบัติตนดังนี้
- หากลูกอ้วก ยังไม่มีอาการขาดน้ำ ถ้าลูกยังกินนมให้กินต่อไปโดยการให้นมแม่ อาจให้ลูกดูดนมทุกๆ 30 นาที นานประมาณ 5 นาที จนอาการอาเจียนดีขึ้น เพราะการหยุดให้นม อาจทำให้ขาดน้ำและสารอาหารได้ แต่ถ้าเริ่มมีอาการขาดน้ำควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) ร่วมด้วย
- หากทารกกินนม มีอาการอาเจียนทางปากและจมูก อาจทำให้มีอาการหายใจครืดคราดเหมือนเป็นหวัดได้
- ถ้าทารกอาเจียนแล้วมีสำลักนมให้จับนอนตะแคง จัดศีรษะต่ำลงเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการไหลลงปอด
- ควรให้เด็กกินนมท่าศีรษะสูง อุ้มเรอหรือนั่งให้เรอหลังกินนมเสร็จ เพื่อป้องกันอาเจียน
- หากทารกอาเจียนถี่ และอาเจียนบ่อยอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 ชั่วโมง หรืออาการอาเจียนไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
- เลือกใช้นมสูตรย่อยง่าย เพื่อช่วยในการย่อยอาหารของลูกน้อย ลดอาการไม่สบายท้อง และทำให้ลูกขับถ่ายง่ายขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าทารกอาเจียน ก็อาจเป็นอาการทั่วไปที่ไม่เป็นอันตรายอย่างที่คิด แต่หากทารกมีการอาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจแสดงว่าลูกมีอาการติดเชื้อหรือเจ็บป่วยอื่น ๆ ทางที่ดีควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค่ะ
หากคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการอ้วกและวิธีป้องกันอาการไม่สบายท้องของทารก ก็สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีจับลูกเรอ ให้ได้ผลชะงัด ทำไมต้องทำให้ลูกเรอ? มาดูกัน!
ไขข้อข้องใจ! ลูกอาเจียนบ่อย เป็นเรื่องปกติไหม? สงสารลูกน้อย
ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส
ที่มา : enfababy, salehere, pobpad, pobpad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!