อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของทารกที่พ่อแม่ควรรู้ เพื่อดูแลลูกน้อยให้เหมาะสม ป้องกันอาการกรดไหลย้อนที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย หากมีอาการรุนแรงทารกจะกินได้น้อยลงอีกด้วย ในวันนี้ เราจะมาพูดถึงอาการของ กรดไหลย้อนในทารก รวมไปถึงวิธีในการดูแล เมื่อลูกน้อยเป็นกรดไหลย้อนกัน ไปดูกันเลย!
กรดไหลย้อนในทารก คืออะไร
การไหลย้อน เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงอาการที่ สิ่งที่อยู่ในกระเพาะของลูกไหลย้อนออกมายังหลอดอาหาร หรือในปาก จนทำให้ลูกน้อยมีอาหารแหวะนม แหวะอาหารออกมา ซึ่งทำให้ทารกไม่สบายตัว และเกิดอาการเหล่านี้ตามมา ไม่ว่าจะเป็น
- คลื่นไส้ อาเจียน หลังกินนม
- กระสับกระส่าย ทุกครั้งที่กินนม
- น้ำหนักไม่ค่อยขึ้น
- นอนไม่หลับ ร้องงอแง
- กินได้น้อยลงหากมีอาการหลอดลมอักเสบจากการเป็นกรดไหลย้อน
แต่ก็มีในบางกรณี ที่คุณแม่อาจจะต้องปรึกษากับกุมารแพทย์ร่วมด้วย เพราะมีอาการที่รุนแรง เช่น
- มีอาการไหลย้อนมากกว่า 5 ครั้ง/วัน
- ลูกน้อยร้องไห้บ่อยครั้งมาก ๆ ในระหว่างการกินนม
- ลูกน้อยอาเจียนบ่อยครั้ง แทบทุกครั้งหลังทานอาหาร
- ลูกน้อยมีอาการไอตลอดเวลา หรือบ่อยครั้งมาก ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องเป็นกรดไหลย้อน อันตรายมากแค่ไหน? ทำยังไงดี รักษายังไง?
สังเกตอย่างไร ว่าลูกเป็นกรดไหลย้อนหรือเปล่า
พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตบ่อย ๆ หากพบว่าลูกน้อยมักบ้วนอาหาร หรือแหวะอาหาร ออกมาบ่อย ๆ หลังจากการนอน และมีอาการที่ร้องไห้แบบไม่ทราบสาเหตุบ่อย ๆ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้พักผ่อนไปตาม ๆ กัน หรือกับในเด็กที่เป็นช่วงวัยที่เติบโตพอที่จะพูดสื่อสารให้เข้าใจได้ ก็มักจะบ่นว่า แสบท้องหรือปวดท้องอยู่บ่อยครั้ง
แต่โดยปกติแล้ว อาการส่วนใหญ่ในเด็กเล็ก ก็คือ มักจะบ้วนอาหาร หรือแหวะนมออกมา แต่นั่นก็อาจจะยังไม่สามารถตัดสินได้อย่างชัดเจน ว่าลูกเป็นกรดไหลย้อนหรือเปล่า หรือแค่สำลักอาหารเฉย ๆ ดังนั้น เราจึงสามารถสังเกตอาการของลูกน้อยได้โดยวิธีดังนี้
-
ถ้าไม่ได้เป็นโรคกรดไหลย้อน
เมื่อลูกมีอาการบ้วนอาหารออกมา ลูกจะไม่รู้สึกทรมานมาก และยังสามารถหัวเราะและยังเล่นต่อได้ แบบไม่มีอาการที่บ่งบอกถึงความเจ็บปวด
จะสังเกตเห็นว่าหลังจากเด็กบ้วนอาหาร หรือแหวนนมออกมาแล้ว เด็กจะแสดงอาการที่บ่งบอกถึงความเจ็บปวดออกมา เช่น ร้องไห้ แอ่นตัวไปมา เสียงแหบ และในบางครั้งหากอาการมีความรุนแรง ก็อาจแหวะอาหารออกมาโดยที่มีเลือดปนออกมากับเศษอาหารด้วย อาการเหล่านี้ มักจะเกิดอาการดังกล่าวหลังรับประทานอาหารไปแล้วประมาณครึ่งชั่วโมง หรือคุณแม่ก็อาจจะสังเกตเพิ่มเติมได้ว่า หากเด็ก ๆ ไม่ยอมกลืนอาหาร ไม่ยอมทานอาหาร ดื้อแบบผิดปกติ มีอาการไอ สัญญาณเหล่านี้ก็สามารถแสดงได้ว่า ลูกน้อยของเรามีอาการกรดไหลย้อนได้เช่นกันค่ะ
ปัจจัยการเกิด กรดไหลย้อนในทารก
-
หูรูดหลอดอาหารส่วนปลายต่อกับกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรง
เพราะร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารยังไม่แข็งแรง จึงทำให้เกิดการไหลย้อนกลับของนม เมื่อลูกน้อยทาน ขึ้นมาทางหลอดอาหาร
เพราะท่านอนทำให้อาหารไหลเข้าสู่ร่างกายได้ยาก จึงทำให้มีโอกาสไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารได้ง่ายมากขึ้น
อาหารที่ควรเลี่ยง เพื่อป้องกันกรดไหลย้อนในเด็ก
ในเด็กหรือทารก มักจะหงุดหงิดง่าย หรือมีอาการหลังงอ ซึ่งมักจะเป็นหลังจากการรับประทานอาหาร โดยการช่วยทำให้ทารกเรอบ่อย ๆ หลังทานอาหาร จะสามารถลดภาวะกรดไหลย้อนได้เป็นอย่างดี ส่วนถ้าเป็นในเด็กโตขึ้นมาหน่อย ที่เลือกทานอาหารได้หลากหลายมากขึ้น เราจะแนะนำให้ปรับพฤติกรรมการทานอาหารให้มีปริมาณน้อยลง แต่ถี่ขึ้น และควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
- น้ำอัดลม หรือน้ำที่มีคาเฟอีน
- ช็อกโกแลต
- อาหารที่มีมินต์ (Peppermint)
- อาหารรสจัด
- อาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น พิซซ่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : กรดไหลย้อนในทารก ทำให้ทารกเป็นโคลิค อาการแบบไหนเสี่ยง
วิธีป้องกันกรดไหลย้อนให้ลูกน้อยอย่างง่าย ๆ
เราสามารถป้องกันกรดไหลย้อนให้ลูกน้อยได้ ด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
- ปรับท่าการให้นม ให้ลูกกินนมในท่าที่ยกศีรษะสูงขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ย่อยง่าย
- พยายามอุ้มลูกเพื่อให้เรอทุกครั้ง หลังกินนม การเรอ จะช่วยให้ลูกน้อยลดกรดในกระเพาะอาหารได้ดี และทำให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น
- ไม่ให้ลูกกินนมแล้วนอนราบทันที เมื่อเราจะให้ลูกทานนม ลองอุ้มให้ตัวลูกตั้งตรง หรือจับลูกนอนเอนให้ศีรษะตั้งขึ้นประมาณ 30 องศา แล้วป้อนนม หลังจากนั้น เราแนะนำให้ลูกน้อยอยู่ท่านี้สักพัก เพื่อให้น้ำนมไหลผ่านไปได้ดี ไม่ย้อนกลับขึ้นมา เมื่อร่างกายทำการย่อยอาหาร
- ให้ลูกกินนมทีละน้อย แต่บ่อยมื้อขึ้น การกินปริมาณน้อยแต่บ่อย จะช่วยให้การย่อยทำงานได้ดีมากขึ้น
การรักษากรดไหลย้อนในทารก
ตามปกติแล้ว เมื่อลูกน้อยโตขึ้นหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างจะทำงานเป็นปกติ และระบบย่อยอาหารก็จะดีมากขึ้น ซึ่งจะช่วยจัดการกับโรคกรดไหลย้อนได้ อีกหนึ่งวิธีที่แนะนำคือ ให้ทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้งมากขึ้น เพื่อให้ย่อยอาหารได้ง่าย นอกจากนี้ การให้ลูกน้อยทานนมแม่ก็มีประโยชน์เช่นกัน เพราะสามารถย่อยได้ง่าย และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของลูกน้อย
อีกวิธีก็คือ ควรประคองลูกน้อยให้ศีรษะสูงขึ้น 30 องศา และให้ลูกนั่งประมาณ 30 นาทีหลังรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการกรดไหลย้อน
โดยสรุปแล้ว อาการกรดไหลย้อนในทารก เป็นอาการที่ทำให้ทารกไม่สบายตัว ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย หากมีอาการรุนแรงทารกจะกินได้น้อยลงอีกด้วย โดยเรามีวิธีในการป้องกันกรดไหลย้อนที่หลากหลาย เช่น ที่นอนกันกรดไหลย้อน ที่จะทำให้เด็ก ๆ ลดความเสี่ยงที่จะเป็นกรดไหลย้อนได้ หากแม่ ๆ สนใจ อย่าลืมนำบทความของเราไปพิจารณาเลือกซื้อกันด้วยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
10 วิธีแก้ไขเมื่อลูกน้อยเป็นกรดไหลย้อน
10 ยาลดกรด เคลือบแผล บรรเทาอาการจุกเสียด จากกรดไหลย้อน
ยาลดกรดไหลย้อน มีอะไรบ้าง ทานยาเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารหรือไม่?
ที่มา : mahidol
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!